ประเพณีแห่เทียนพรรษา
กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา
คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า
เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก
หัวเมืองในภาคอีสาน
เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444
เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ
โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ
บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น
ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน
ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม
เทียนคุ้มวัดนี้สวย
ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ
จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด
จากงานประจำปีท้องถิ่นสู่งานประเพณีระดับชาติ
การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัด ก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม
นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้าน ก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ
พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519
จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.
ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี
ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand
2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี
หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น
โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเทียนพรรษา
การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ
จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก
ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่
แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน
หรือต้นเทียนพรรษา
ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ
"มัดรวมติดลาย" เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่
แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว
เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน
และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด
การตกแต่งต้น เทียน
เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน
หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง
แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ
ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน
พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ
นายโพธิ์ ส่งศรี
เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์
หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน
ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี
จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ. 2497
นายประดับ
ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น
ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี
ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด
ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ
มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจนคือ
1. ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
2. ประเภทแกะสลัก
1. ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
2. ประเภทแกะสลัก
การทำเทียน พรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง
ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น
มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา
และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ
นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
อย่างแท้จริง
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม
และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น
15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
จัดให้มีขึ้นทุกปี
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่
ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470
จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข
มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์
และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน
จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง
และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี
พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
มีชื่องานแต่ละปี ดังนี้
ปี พ.ศ. 2542 มีชื่องานว่า "งานแห่เทียนพรรษา เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่มาของ
"เทียนเฉลิมพระเกียรติฯ" ที่ทุ่งศรีเมือง
ปี พ.ศ. 2543 มีชื่องานว่า "หลอมบุญบูชา
ถวายไท้นวมินทร์" มีความหมายว่า การหล่อเทียนพรรษาของชาวอุบลฯ
เพื่อบำเพ็ญกุศลร่วมกัน การหล่อหลอมจิตศรัทธาให้เป็นหนึ่งเดียว
เปรียบประดุจการหลอมบุญบูชา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์
ปี พ.ศ. 2544 มีชื่องานว่า "งามล้ำเทียนพรรษา
ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ" เนื่องจากเทียนพรรษาได้วิวัฒนาการไปจาก "ภูมิปัญญาดั้งเดิม" จนแทบจะจำเค้าโครงแต่โบราณไม่ได้
จึงได้มีการหันกลับมาทบทวนการจัดงานแห่เทียนพรรษา ตามภูมิปัญญาของชาวอุบลฯ
ตั้งแต่เดิมมา
ปี พ.ศ. 2545 มีชื่องานว่า "โรจน์เรือง
เมืองศิลป์" ด้วยเหตุที่ ททท.ได้เลือกงานแห่เทียนพรรษจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นงานที่โดดเด่นที่สุดของประเทศในเดือนกรกฎาคม ตามโครงการ "เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน" จึงจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดเดือน
อาทิ ได้เชิญช่างศิลป์นานาชาติประมาณ 15 ประเทศ นี้
ปี พ.ศ. 2547 มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ 72 พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
6 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ
ของแผ่นดิน
ปี พ.ศ. 2548 มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก 50
ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ 16-17
พฤศจิกายน 2498 ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี
ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น
ปี พ.ศ. 2549 มีชื่องานว่า "60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" เพื่อแสดงความจงรักภักดี
ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ปี พ.ศ. 2550 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม
เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง" เนื่องจากเป็นปีมหามงคล
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต
ปี พ.ศ. 2551 มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ
บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" เนื่องจากอุบลราชธานี
มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่
ปี พ.ศ. 2552 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม
บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น
"อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์
ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์
ในธรรมที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม
และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี
จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทัวประเทศ
ปี พ.ศ. 2553 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล" เนื่องจากเมืองอุบลราชธานี
มี “ธรรม” 3 ประการ คือพุทธธรรม ชาวอุบลฯ
มีความฝักใฝ่ในธรรม อารยธรรม คืออุดมด้วยอารยทรัพย์ อารยสงฆ์ และธรรมชาติ
ตามถิ่นที่ตั้งเมืองอุบล คือ ดงอู่ผึ้ง จึงเป็นความรุ่งเรือง หรือ "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม"
ปี พ.ศ. 2554 มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล" ใช้ชื่องานต่อเนื่องจากงานประเพณีแห่เทียนพรรษา
ปี 2553 กำหนดจะจัดงานระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2554 ณ บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง โดยปีนี้จะมีความพิเศษกว่าทุกปี
คือ มีการจัดทำต้นเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ เป็นการนำเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์
มารวบรวมในต้นเทียนเดียวกัน โดยฝีมือช่างเทียนระดับอาจารย์ 9 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น การเฉลิมฉลองในวโรกาส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา
และเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวจังหวัดอุบลราชธานี
อ้างอิง
http://www.isangate.com/local/candle_02.html