ท่องเที่ยว บันเทิง สาระความรู้

ความย่อ มหาเวทสันดร



ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร มี ๑๙ พระคาถา
                จำเนียรกาลมา พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ จะต้องจุดติ ท้าวสักกะ พระสวามี ทรงทราบ จึงพาพระนางไปประทับยังสวนนันทวัน ในเทวโลกเพื่อความสำราญพระทัยแล้วตรัส บอกว่า บัดนี้เธอสิ้นบุญ จะต้องจุดติ ไปบังเกิดเป็นมนุษย์แล้วฉันให้พร ๑๐ประการ  เธอจึ่งเลือกตามใจชอบเถิด

พระนางผุสดี ได้ทูลขอพร ๑๐ ประการ  ตามที่พอใจดังนี้
.  ขอให้หม่อนฉันได้อยู่ในปราสาททอง ขอพระเจ้า สีวิราชพระนครสีพี
.  ขอให้หม่อนฉันมีจักษุดำ ดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ
.   ขอให้หม่อนฉันมีคิ้วดำสนิท
.  ขอให้หม่อนฉันมีนามว่า  ผุสดี
.  ขอให้หม่อนฉันมีพระโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ
.  ในเวลาทรงครรภ์ ขออย่าให้ครรภ์ ขอหม่อนฉันนูนปรากฏ ดังสตรีสามัญ
.  ขอให้หม่อนฉันมีถันงาม ในเวลาทรงครรภ์ก็อย่ารู้ดำและต่อไป ก็อย่าให้หย่อนยาน
.  ขอให้หม่อนฉันมีเกศาดำสนิท
.  ขอให้หม่อนฉันมีผิวงาม
๑๐. ขอให้หม่อนฉันทรงอำนาจ ปลดปล่อยนักโทษได้

ท้าวสักกาเทวราช ก็ทรงประสาทพระพรให้สมประสงค์












ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ มี ๑๓๔ พระคาถา
                เมื่อพระนางผุสดี เทพอัปสรจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช ครั้นเจริญวัยก็มีสิริรูปงามสมตามที่ปรารถนาไว้ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ได้รับอภิเษกให้เป็นมเหสีของพระเจ้าสัญชัยสิวิรัฐนคร แคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์
ครบ ๑๐ เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร
วันหนึ่งพระนางผุสดี ทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทาง ของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร"ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมี นั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์" พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ ๔-๕ ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ ๙ ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อและดวงหทัย เพื่อมุ่งพระโพธิญาณ ในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ ครั้นถึงวัย ๑๖ พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนง ทรงได้ขึ้นครอง
ราชย์ และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึง ห่วงทองบริสุทธิ์
                เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล ๗ วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัย
นาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น
                พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง ๘ พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุงบรรดาชาวนคร เห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง ๘ คน แต่พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดร
พระราชทานช้างให้พวกตนแล้วเมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้นแต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด



ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙ พระคาถา
                เมื่อพระนางผุสดี  ทรงทราบว่า พระเวสสันดรโอรส ถูกประชาชนกล่าวโทษว่าพระราชทานช้างปัจจัยนาคเป็นทาน และถูกลงโทษให้เนรเทศจากพระนครสีพีก็พระทัย รีบเสด็จมาพบพระเวสสันดรและนางมัทรี ปรับทุกข์กันอยู่ ก็ทรงพระกันแสง โศกาอาดูร แล้วเสด็จเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสัญชัย ทูลขอประทานอภัยโทษก็ไม่สำเร็จ ด้วยท้าวเธอตรัสว่า ให้เนรเทศ ตามกฎของธรรมศาสตร์ราชประเพณี  ครั้นพระนางผุสดีทรงสดับก็จำนน ก่นแต่โศกร่ำไรรำพันมากมายตามวิสัยมารดาที่รักบุตร ตลอดสาวสนมกำนัลนาง และประชาชนที่รักใคร่พากันอาลัยทั่วหน้า
                รุ่งขึ้นได้เวลา พระเวสสันดรก็ทรงบริจาคสัตสดกมหาทาน คือ การให้ครั้งใหญ่ โดยกำหนดไว้สิ่งละ ๗๐๐ คือ

          .  ช้าง  ๗๐๐  เชือก
          .  ม้า  ๗๐๐  ตัว
          .  โคนม  ๗๐๐  ตัว
          .  รถ  ๗๐๐  คัน
          .  นารี  ๗๐๐  คน
          .  ทาส  ๗๐๐  คน
          .  ทาสี  ๗๐๐  คน
          .   สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ อย่างละ  ๗๐๐
          .  ที่สุดแม้สุราบาน  ก็ได้ประทานแก่นักเลงสุรา

                เสร็จแล้วก็ทรงพานางมัทรี  ไปทูลลาพระชนก และพระชนนีเพื่อออกไปบำเพ็ญพรตอยู่เขาวงกต พระเจ้าสัญชัยขอให้พระนางมัทรี พระชาลีและนางกัณหาอยู่ พระนางมัทรีไม่ยอมอยู่ ทั้งไม่ยอมให้ลูกอยู่ด้วยเป็นอันถูกเนรเทศด้วยทั้งหมด  รุ่งขึ้นพระเวสสันดร พระนางมัทรี พร้อมด้วยพระโอรสทั้งสองก็เสด็จ ทรงม้าพระที่นั่งเสด็จออกจากนคร  บ่ายพระพักตร์เข้าสู่ไพร ก่อนที่จะละ
พระนครไปทรงหันกลับมามองพระนครด้วยความอาลัย แล้วก็เสด็จประเวศ ยังไม่ทันพ้นเขตชานพระนคร  ก็ทรงประทานม้าและรถแก่พราหมณ์ที่วิ่งตามมาทูลขอ  และต่างองค์ก็ทรงอุ้มพระโอรสดำเนินเข้าไป โดยตั้งพระทัยไปเขาวงกต



ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๔ วันประเวศน์ มี ๕๗ พระคาถา
                พระเวสสันดร พร้อมด้วยพระนางมัทรี และพระโอรสเสด็จดำเนินจาก พระนครสีพีด้วยความลำบากตลอดทาง ที่สุดก็ถึงเมืองเจตราชดังประสงค์จึงแวะเข้าประทับพักพระกายอยู่ที่ศาลาหน้านคร
                ครั้นชาวนครเจตราชได้เห็น และทราบความจริงก็ตกใจรีบส่งข่าวสารกราบทูลกษัตริย์นครเจตราช ต่อนั้นบรรดากษัตริย์ขัตติยวงศ์ทั้งหมด ก็พากันเสด็จออกมาเฝ้าเยี่ยม แล้วทูลว่า
                เทว  ข้าแต่พระร่มเกศตระกูลแก่นกษัตริย์  อันว่าสิ่งสรรพพิบัติบีฑา พระร่มเกล้ายังค่อยครองพาราเป็นบรมสุข  สิ่งสรรพทุกข์ย่ำยีทั้งองค์สมเด็จพระชนนีนาถยังค่อยเสวยสุขนิราศโรคันตรายทั้งประชาชนชาวสีพีราชทั้งหลายไม่เดือดร้อน ยังค่อยเป็นสุขถาวรอยู่ฤาพระพุทธเจ้าข้า

                นุ  ดังเข้ามาสงกากินแหนงในยุบลเหตุ ดังฤาพระจอมปิ่นปกเกศมาเดินไพรนิราศร้างแรมไร้พระพารา ปราศจากจตุรงค์คณานิกรราชรถ ทั้งม้ามิ่งมงคลคช ที่เคยทรง มาดำเนินแต่สี่พระองค์ดูอนาถ   ฤาว่ามีหมู่อินทร์ราชมาราวี  เสียพระนครสีพีพินาศแล้ว  ทูลกระหม่อมแก้วจึงจากพรากพลัดขัตติวงศ์มาบุกป่าฝ่าพงพูนเทวษจนถึงนคเรศ ข้าพระบาทของพระองค์จงตรัสประภาษให้ทราบเกล้า แต่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเถิดพระเวสสันดรได้ทรงสดับสาร จึงมีพระราชบรรหารเฉลยเหตุว่า ดูกรพระสหายผู้ผ่านนคเรศเจตราช เราขอบพระทัยที่ท่านไต่ถามถึงประยูรญาติราชปิตุรงค์ ซึ่งท้าวเธอก็ทรงสุขสถาพร ทั้งประชาชนชาวสีพีราชไม่เดือดร้อนระงับภัย ซึ่งเรานิราชเวียงชัยมาสู่ป่า เพราะว่าเราทรงพระราชศรัทธามาเสียสละ พระยาเศวตกุญชรพาหนะพระที่นั่งต้น อันเป็นสีสวัสดิ์มงคลคู่นคร แก่พราหมณ์ทิชากรกลิงคราษฎร์  ชาวพระนครเขามิยอมอนุญาตชวนกันกริ้วโกรธ ยกอธกรณ์โทษทูลพระปิตุเรศ ท้าวเธอจึงสั่งให้เนรเทศเราจากพระพาราด้วยเราทำผิดขัตติยราชจรรยาอย่างบุราณ
                จ. พระพุทธเจ้าข้า  พระองค์เสด็จเดินพนัสกันดารดูลำบาก เป็นกษัตริย์ตกยากมิควรเลย ขอเชิญเสด็จหยุดพักพอเสวยสุทธาโภชน์สิ่งสรรพรสเอมโอชกระยาหาร ให้บรรเทาที่ทุกข์ทรมานลำบากองค์
                ว. จึงตรัสว่า ประชาชนเขาแค้นเคืองทูลให้เนรเทศ เรานิราชมาแรมไพร พระบิดาก็มิได้เป็นใหญ่แต่พระองค์ ย่อมประพฤติโดยจำนงชาวสีพีราชถึงว่าท่านจะไปทูลให้ท้าวเธออนุญาตให้คืนกรุง ชาวเมืองก็จะหมายมุ่งประทุษจิตในสมเด็จบรมบพิตรผู้ร่มเกล้า เพราะเหตุด้วยรับเราเข้า
คืนนคร

                จ. พระพุทธเจ้า  เมื่อมิพอพระทัยคืนพระพิไชยเชตุดรก็ตามแต่พระอัยกาจะขอเชิญเสด็จขึ้นผ่านพระพาราเจตราช  เป็นจอมมิ่งมงกุฎ มาตุลนคร เป็นปิ่นปกประชากรเกษมสุข มิให้ท้าวเธอเสด็จไปทนทุกข์ที่กลางดง อันข้าพระบาทจะขอรองบทบงสุ์บรมกษัตริย์
                ว. ครั้นพระองค์ได้ฟัง จึงตรัสบัญชาต่อว่า ซึ่งท่านจะมามอบเมืองเจตราช ให้แก่เราในครั้งนี้ เราก็มิได้มีพระทัยยินดีที่จะเสวยสิริสมบัติ ด้วยชาวเชตุดรเขาแค้นขัดให้เนรเทศ ท่ายจะมามอบนคเรศให้ครอบครองพระนครทั้งสองสิเป็นราชสัมพันธมิตร ก็จะเกิดกลวิปริตร้าวฉาน จากจารีตบุราณแต่ปางก่อน จะไม่สมัครสโมสรเสียประเพณี จะเกิดมหาโกลาหลเดือดร้อนทุกไพร่ฟ้าประชากรทั้งสองฝ่ายต่างจะมุ่งหมายประทุษกัน ก็จะเกิดมหาพิบัติภัยยันต์ไม่มีสุขเหตุด้วยเราผู้เดียว จะมานำทุกข์ให้ท่านทั้งปวง สมบัติอันใดในเมืองหลวงเจตราช ซึ่งท่านทั้งหลายม
อนุญาตยกให้  เราขอคืนถวายให้เสวยสุข ท่านจงอยู่นฤทุกข์อย่ามีภัย อันตัวเรานี้จะลาไปสู่วงกตจะทรงประพฤติพรหมพรตอิสีเพศ  เชิญท่านช่วยแนะแนววิถีทุเรศให้เราจรไปยังวงกตสิงขรโน้นเถิดฯ
                เมื่อกษัตริย์เจตราชทั้งหลาย  ทูลเบี่ยงบ่ายจะเชิญเสด็จไว้  ครั้นแล้วท้าวเธอมิตามพระทัยก็สุดคิด  จึงทูลเชิญสมเด็จบรมบพิตรให้ประเวศพระนคร  หวังจะให้เสวยสุข  ไสยากรเกษมอาสน์  ต่อเวลาสุริโยภาสจึงค่อยครรไล
                ท้าวเธอก็ถ่อมพระองค์ว่า  เข็ญใจไร้ศักดิ์มิได้เสด็จเข้าไปสำนักในพระพาราฯลฯ
                ที่สุดกษัตริย์เจตราชก็ให้ตกแต่งศาลาที่ประทับปิดบังด้วยม่านแล้ว  ถวายอารักขาให้ดีที่สุด  จนสว่างแล้วถวายพระกระยาหารให้เสวย  ครั้นเสร็จแล้ว  ทูลอัญเชิญไปยังประตูป่า  ต้นทางที่จะไปยังเขาวงกตแล้วแนะนำมรรคาให้ทรงกำหนดหมายแล้วทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร  ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยให้เป็นพิเศษด้วย
                ต่อนั้น พระเวสสันดรและพระนางมัทรีก็อำลากษัตริย์เจตราชอุ้มพระโอรสดำเนินไปตามแนวทางที่กษัตริย์เมืองเจตราชถวายคำแนะนำไว้ทรงพบพรานเนื้อพรานได้ถวายเนื้อย่าง พระเวสสันดรได้ประทานปิ่นทองเป็นรางวัลแล้วเสด็จต่อไปจนถึงเขาวงกต  พบศาลาอาศรมบทซึ่งพระ
วิษณุกรรม  เทพบุตรมานิรมิตตามเทวบัญชาของท้าวอัมรินทร์เทวาธิราช ก็ทรงโสมนัสที่สุด ทั้งสี่กษัตริย์ก็ทรงผนวชเป็นฤาษี สำนักอยู่ในอาศรมนั้นเสวยสุขตามควรแก่ถิ่นฐานทรงดำรงชีพด้วยผลาซึ่งนางมัทรีเป็นพนักงานแสวงหารจำเนียงกาลนานถึง ๗ เดือน   โดยกำหนด







ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก มี ๗๙ พระคาถา
                สมัยนั้น ในแคว้นกาลิงคะ มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า  ชูชก  อยู่ในบ้าน ทุนวิฐะเป็นนักขอทานที่เชี่ยวชาญ  เที่ยวขอไปถึงต่างแคว้นก็เก็บทรัพย์ที่เหลือกินเหลือใช้ไว้ได้ถึง๑๐๐  กหาปนะ ชูชกได้นำทรัพย์จำนวนนี้ไปฝากพราหมณ์ผัวเมียตระกูลหนึ่งไว้  แล้วเที่ยวขอทานต่อไปอีก
                ต่อมาพราหมณ์ผัวเมียคู่นั้น  ได้เอาทรัพย์ของชูชกไปใช้สอยเสียหาย  ครั้นชูชกกลับมาขอทรัพย์คืน  ก็ขัดสนจนใจไม่สามารถจะหามาใช้ได้ต้องยกนางอมิตตดาลูกสาวให้ชูชกแทนเงินที่เอาไปใช้  ชูชกพานางอมิตตดาไปอยู่บ้านทนวิฐะ  นางอมิตตดาได้ปฏิบัติชูชกในหน้าที่ภรรยาที่ดีทุกประการ
                เมื่อชายในบ้านนั้นเห็นเข้า  ก็พากันสรรเสริญ  แล้วดุว่าภรรยาของตนที่เกียจคร้าน เอาแต่เที่ยวเล่น สู้นางอมิตตดาเป็นเด็กกว่าก็ไม่ได้  ครั้นหญิงทั้งหลายในบ้านนั้นถูกสามีตำหนิแทนที่จะรู้สึกตัว  กลับพากันเคียดแค้นชิงชังนางอมิตตดาชักชวนกันไปด่าว่านางอมิตตดาที่ท่าน้ำอย่างสาดเสียเทเสีย  หมายจะให้นางอมิตตดาหนีไปเสีย  หรือไม่ก็ควรประพฤติตนเข้าแบบของตน
                นางอมิตตดาเสียใจ  จะเอาแบบชาวบ้านนั้นก็ไม่ชอบเพราะไม่เคยอบรมมาคับอกคับใจ   ในที่สุดเทวดาดลใจให้บอกชูชกไปขอชาลีกัณหาสองกุมาร  พระโอรสของพระเวสสันดรมาเป็นทาสช่วงใช้  แม้ชูชกจะแก่กว่าที่จะเดินทางไปเขาวงกตเพื่อขอสองกุมาร  แต่เมื่อถูกเมียสาวขู่
บังคับเช่นนั้น  ก็ต้องฝืนใจไป   ในที่สุดชูชกก็หอบร่างแก่ไปถึงพระนครสีพี  เมืองของพระเวสสันดร  เพราะความลุกลี้ลุกลนใคร่จะเดินทางไปให้ถึงพระเวสสันดรโดยเร็ว  ทำให้ชูชกขาดความรอบคอบไม่เหมือนคราวก่อนๆ  ที่เดินทางมาขอทาน  เห็นกลุ่มชนที่ใดเป็นถามถึงที่อยู่ของ
พระเวสสันดรพร้อมทั้งแนวทางที่จะเดินไปให้ถึงที่หมายด้วย
                ชาวเมืองสีพีเกลียดหน้านักขอทานเป็นทุนอยู่แล้ว  ดังนั้นก็พาโลรี่เข้าใส่ชูชกด่าว่าเจ้ามาเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยให้ท้าวเธอพระราชทานจนเกินไป  ถึงลูกขับไล่พระชายาและพระโอรสให้ออกไปอยู่วงกต  แล้วเจ้ายังจะกลับมาเอาอะไรอีกพากันหรือไม้ค้อนก้อนดินขับไล่ชูชกเข้าป่าไป
                ฝ่ายชูชกหนีชาวเมืองสีพีขับไล่ไปทางเขาวงกตขณะเดินเลาะลัดไป  ถูกสุนักของเจตบุตรไล่ล้อม  ได้หนีขึ้นต้นไม้  นั่งบนคาคบร้องไห้รำพันถึงคุณพระเวสสันดรเป็นอย่างมาก
                ฝ่ายเจตบุตร  เจ้าของสุนัขติดตามมา  เห็นชูชกอยู่บนต้นไม้ก็แน่ใจว่าชูชกจะมาร้าย  คือคงจะไปขอพระนางมัทรีหรือพระโอรสเป็นแน่  ก็พลันคิดว่าจะต้องฆ่ามันเสีย  จึงเดินเข้าไปใกล้พลางน้าวหน้าไม้ขึ้น  พร้อมกับร้องสันทับว่า  แน่พราหมณ์พวกแกเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยพระราชทานเกินไป  จนต้องถูกขับไล่จากแคว้นของพระองค์เสด็จไปอยู่เขาวงกต  มนุษย์บัดสบอย่างแก  ยังจะติดตามมาเบียดเบียนพระ
โอรสอีก  เหมือนนกยางย่องตามหาปลา  ฉะนั้น  ข้าจะไม่ไว้ชีวิตแก  จะยิงแกให้ตายด้วยหน้าไม้นี้
                ชูชกตกใจกลัวตาย  จึงได้อุบายหลอกเจตบุตรพร้อมด้วยการขู่ว่าช้าก่อนเจตบุตร  ข้าเป็นพราหมณ์เป็นราชทูต  ซึ่งใครๆ ไม่ควรจะฆ่าจงฟังข้าก่อน  บุคคลไม่ควรฆ่าราชทูตนี้เป็นประเพณีมาเก่าแก่
                ดูก่อนเจตบุตร  บัดนี้ชาวเมืองสีพีหายขัดเคืองแล้ว  พระชนกก็ปรารถนาจะพบพระเวสสันดรปิโยรส  พระชนนีก็ชรา นัยน์ตาก็มืดมน  ท้าวเธอให้ข้าฯ   เป็นราชฑูตมาเชิญพระเวสสันดรพระโอรสกลับ  ฉะนั้นเจ้าจงบอกแก่ข้าว่า  บัดนี้พระเวสสันดรอยู่ที่ไหน?
                เจตบุตรดีใจหลงเชื่อในคำลวงชูชก  เชื่ว่าชูชกเป็นราชทูตพระเจ้ากรุงสัญชัยพระบิดาให้มาเชิญพระเวรสันดรกลับจริง  จึงผูกสุนัขทั้งหลายแล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ให้นั่งที่มีใบไม้ลาดให้โภชนาหารกินปฏิสันถารว่า  ท่านพราหมณ์ลุงเป็นราชทูตมาเชิญพระเวสสันดรที่รักของข้าฯ 
ข้าฯ  จะให้กระบอกน้ำผึ้งและเนื้อย่างแก่ลุง  ข้าฯ  จะบอกสถานที่พระเวสสันดรประทับอยู่ให้





















ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน มี ๓๕ พระคาถา
                เจตบุตรพราน  นายด่านประตูป่า  ฟังคารมชูชก  หลงเชื่อพอใจ  เลื่อมใสนับถือ ยำเกรง ถึงกับเสียสละอาหาร ต้อนรับเลี้ยงดูชูชกเต็มที่ แล้วก็พาชูชกไปยังต้นทางชี้บอกให้ชูชกกำหนดหมายภูเขา  และป่าไม้กับพรรณาความงามนานาพฤกษชาติสร้างความยินดีให้มีกำลังใจหาย
สะดุ้งหวาดกลัวภัยในป่า  ทั้งบอกระยะทางที่จะไปพบอาศรมฤาษี  ซึ่งเป็นดุจสถานีที่พักในการเดินทางคราวนี้  และจะได้รับความปราณีจากอจุตดาบสบอกทางให้ต่อไป  จนถึงอาศรมของพระเวสสันดร

ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน มี ๘๐ พระคาถา
                ครั้นชูชกเดินทางไปตามคำแนะนำของเจตบุตรก็พบว่าท่านอจุตฤาษีที่อาศรมไต่ถามทุกข์สุขตามธรรมเนียมของผู้แรกพบ และเมื่อได้รับการปฏิสันถารเป็นอย่างดีของอจุตฤาษีเป็นที่พอใจแล้ว ก็เริ่มถามที่อยู่ของพระเวสสันดรโดยขอให้ช่วยบอกที่อยู่พร้อมทางที่จะไปด้วย
                อจุตฤาษีไม่พอใจตัดพ้อตามอารมณ์ว่า ชูชกชะรอยจะมาขอ ชาลีกัณหาพระโอรสไปเป็นทาส หรือ ไม่ก็ขอพระนางมัทรี ไม่ใช่มาดี เป็นคนมาร้ายไม่น่าคบค้าทีเดียว
                ชูชกแก้ตัวว่า ท่านอาจารย์เข้าใจผิด แต่ผมไม่โกรธดอก คนอย่างผมหรือจะมาเที่ยวขอให้เสื่อมเสียพงษ์พราหมณ์ ผมมาเพื่อเยี่ยมท่านจริงๆได้เห็นท่านเป็นกุศลได้สมาคมกับท่านเป็นความสุขตั้งแต่ท่านจากเมืองมายังไม่เลยพบปะเลยกรุณณาแนะนำให้ได้พบท่านสักหน่อยเถอะใอชู
ชกเอาความดีเข้าต่อเช่นนี้ อจุตฤาษีก็ใจอ่อนหลงเชื่อว่าเป็นจริง จึงให้ชูชกค้างอยู่ที่อาศรมคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งเช้าจัดให้ชูชกบริโภคผลไม้ เผือกมัน แล้วก็พาไปต้นทางบอกทางไปอาศรมพระเวสสันดรอย่างละเอียดถี่ถ้วน พรรณนาถึงภูเขา ป่าไม้ ฝูงสัตว์ต่างๆ ด้วยเป็นป่าใหญ่ สมกับที่
เรียกว่า ป่ามหาชน ชูชกกำหนดจดจำคำปนะนำของอจุตฤาษีจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็นมัสการลาไป






ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๘ กุมาร มี ๑๐๑ พระคาถา
                เมื่อชูชกเดินทางตามที่อจุตฤาษีแนะนำ  เวลาเย็นก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมพระเวสสันดร  แกก็ดีใจมาก  ตรึกตรองหาโอกาส จะเข้าพบพระเวสสันดร  เห็นว่าเวลานี้พระนางมัทรีกลับจากป่า หากไปขอจักไม่สำเร็จ  ควรไปเวลาเช้า  เมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว  ครั้นขอ สอง กุมารได้
แล้ว  ก็จะรีบกลับก่อนพระนางมัทรีกลับจากป่า ดำริแล้วก็หลบเข้าไปนอนในซอกเขาเพื่อลี้ภัยจากสัตว์ ร้าย
                คืนนั้นพระนางมัทรีฝันร้าย  เป็นลางบอกให้รู้ล่วงหน้าว่า  จะพลัดพรากจากพระโอรส  พระนางได้เฝ้าทูลถามพระเวชสันดร  ขอให้ทรงแก้ฝันพระเวชสันดรก็ไม่ทรงแก้ ตรัสบ่ายเบียง ว่า มาตกระกำลำบากหลับนอนไม่ผาสุกเหมือนอยู่วัง  ก็ฝันไปตามสภาพยากไร้  พระนางหาแน้
พระทัยเชื่อไม่ ดังนั้นครั้นรุ่งเช้า เวลาจะเช้าป่าเป็นห่วงพระโอรส จึงได้พาพระลูกเจ้า ทั้งสององค์มาฝากพระเวสสันดร  ให้ทรงช่วยดูแล ทั้งกำชับพระโอรสไว้แข็งแรง ไม่ให้ออกนอกบริเวณพระอาศรม จึงได้เข้าป่าแสวงหาผลไม้อันเป็นกิจวัตร ที่ทรงทำอยู่เป็นประจำวัน
                ฝ่ายชูชกครั้นเห็นว่า เวลานี้พระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดรที่อาศรม ทูลขอสองกุมาร  พระเวสสันดรก็ประทานให้ แต่ตรัสว่าขอให้รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกค้างสัก ๑  ราตรีชูชกไม่เห็นด้วย ทูลว่า ถ้ารอพระนางมันทรีก่อน ให้ชูชกเป็นเหตุขัดข้อง พระ
เวสสันดรรับสั่งว่า เมื่อเอาสองกุมารไปจงเอาไปถวายพระเจ้าสัญชัยราช    พระนครสีพี   จะได้รับพระราชทานรางวัลมากชูชกค้านว่า  ถ้าไปพบพระเจ้าสันชัยราชอาจถูกจับได้ว่า ไปลักพระเจ้าหลานมา กับจะเป็นโทษ องการจะเอาไปใช้เป็นทาสเอง ขณะที่ชูชกทูลขอ สองกุมาร
อยู่นั้นชาลี  กัญหา   สองกุมารได้ยินกลัวจะถูกชูชกเอาตัวต่อ  จึงพากันหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระน้ำ เอาใบบัวบังศรีสะเสีย
                เมื่อชูชกไม่เห็นสองกุมาร  ก็ทูลตรัส พ้อ พระเวสสันดร  จนท้าวเธอต้องเสด็จไปติดตาม  ครั้นทราบว่าไปซ่อนอยู่ในสระ  ก็ตรัสเรียกขึ้นมาแล้วตรัสปลอบโยนให้หายกลัว  และเศร้าโศก  พร้อมกับคาดราคาโดยสั่งชาลีกุมารไว้ว่า ถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส สำหรับชาลีกุมาร  ต้องไถ่
ด้วยทองหนัก แท่งหนึ่งหมื่นห้าพันตำลึง  ส่วนนางกัญหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง  ช้าง ม้า โค  รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก ๕ พันตำลึง แล้วทรงพามามอบให้ชูชก
                ครั้นชูชกได้สองกุมารแล้ว  ก็เอาเถาวัลย์ผูกข้อมือสองกุมารไป เมื่ออิดเอื้อน ร้องไห้ ไม่ด่วนไปตามประสงค์ของแก แกก็ตีด่าตามประสาคนสันดานทราม ถึงกับดาลใจพระเวสสันดร ให้พลุ่ง ด้วยโทสะเกิดโทมนัส น้อยพระทัย  คิดจะประหารชูชก เอาพระโอรสคืนมาเสียแต่ก็กลับหัก
พระทัยด้วยขันติ ไว้ได้ ปล่อยให้ชูชก พาสองกุมารไปตามปรารถนา

ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๙ มัทรี มี ๙๐ พระคาถา
                รุ่งเช้าพระนางมัทรี เข้าป่าหาผลไม้ "เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ผลไม้เผือกมันช่างหายากที่สุด ไม่ว่า จะเป็นมะม่วงมัน ลูกจันทน์ ลิ้นจี่ น้อยหน่า สาลี่ ละมุด พุทรา ไม่มีให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับเคหา ก็เกิดพายุใหญ่ จนมืดครึ้มไปทั่วทั้งป่า ท้องฟ้าสีแดงปานเลือดละเลง ทั้งแปดทิศปรากฎมืดมนไปหมดอย่างไม่เคยมี พระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลัง เกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดรา
                กัณหาและชาลีพระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขาคีรี เป็นตรอกน้อยรอยวิถีทาง ที่เฉพาะจะต้องเสด็จผ่าน ก็พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรม
เมื่อ มาถึงอาศรม ไม่พบกัณหา ชาลี พระนางก็ร้องเรียกหาว่า"ชาลี กัณหา แม่มาถึงแล้ว เหตุไฉนไยพระลูกแก้ว จึงไม่มารับเล่าหลากแก่ใจ แต่ก่อนร่อนชะไรสิพร้อมเพรียง เจ้าเคยวิ่งระรี่เรียงเคียงแข่งกันมารับพระมารดา เคยแย้มสรวลสำรวจร่า ระรื่นเริงรีบรับเอาขอคาน แล้วก็พากันกราบกรานพระชนนี พ่อชาลี ก็จะรับเอาผลไม้ แม่กัณหาก็จะอ้อนวอนไหว้จะเสวยนม ผทมเหนือพระเพลาพลาง เจ้าเคยฉอเลาะแม่ต่าง ๆ ตามประสาทารกเจริญใจฯ"
                บัดนี้ลูกรักทั้งคู่ไปไหนเสีย จึงมิมารับแม่เล่า ครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระนางมัทรีถึงวิสัญญีภาพสลบลง พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริงว่า พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสอง มอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน พระนางก็อนุโมทนาซึ่งทานนั้นด้วย









ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ มี ๔๓ พระคาถา
                ท้าวสักกะ  อมรินทร์ ราชาแห่งเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ทรงคำริว่า เมื่อวานนี้พระเวสสันดรพระราชทานโอรสสองพระองค์แก่ชูชกไป  ถ้ามีใครมาขอพระนางมัทรีอีก  พระองค์ก็จะพระราชทานให้  และพระองค์ก็จะต้องอยู่พระองค์เดียว  ไม่มีใครปฏิบัติบำรุง  จะลำบากมาก   เราควรจะแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปทูนขอพระนางมัทรีเสียก่อน  เมื่อได้รับพระราชทานแล้วก็ฝากไว้  ป้องกันมิให้พระองค์พระราชทานแก่ใครอีกหากจะมีผู้มาขอภายหลัง  ทั้งยังเป็นทางช่วยส่งเสริมเพิ่มภริยาทานบารมี  ซึ่งพระองค์ยังไม่ได้ทรงบำเพ็ญให้ได้บำเพ็ญเสียให้บริบูรณ์ด้วย 
เพื่อบรรลุ  พระสัมโพธิญาณ
                ครั้นท้าวสักกะทรงดำริแล้วื ก็เสด็จลงมาโดยเพศพราหมณ์เดินทางเข้าไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรก็พระราชทานให้พร้อมกับรับสั่งว่าพระนางมัทรีนั้น พระองค์รักใคร่ดังดวงเนตร แต่รักพระสัพพัญญุตญาณยิ่งกว่ามากจึงยินดีให้เสมือนแลกเอาสัพพัญญุตญาณไว้ แม้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาในการพระราชทานพระเวสสันดร เพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จแก่พระสัมโพธิญาณเป็นเหตุให้แผ่นดินไหวเป็นอัศจรรย์
                ต่อนั้น   ท้าวสักกะที่แปลงกายเป็นพราหมณ์    ก็ฝากพระนางมัทรีไว้ยังไม่รับไปขอใหอยู่ปฏิบัติพระเวสสันดรและตรัสบอกว่า  ตนมิได้เป็นพราหมณ์เข็ญใจ หากเป็นท้าวท้าวสักรินทร์ขอถวายพร๘ ประการแก่พระองค์แล้วสำแดงกายปรากฏเหาะขึ้นสู้ท้องฟ้า
พระเวสสันดรก็ดีพระทัยทูลรับพร ๘ ประการโดยดังนี้
.  ขอให้พระบิดามีเมตตา
.  ขอให้ปล่อยนักโทษ
.  ขอให้อนุเคราะห์คนยากจน
.  ขออย่าให้รู้อำนาจสตรี
.  ให้พระโอรสมีอายุยืน
.  ขอให้ฝนแก้ว๗ ประการตกลงในเมืองสีพี
.  ขอให้สมบัติในท้องพระคลังอย่ารู้หมดสิ้น
.  เมื่อทิวงคตแล้ว ขอให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
                ท้าวสักกะเทวราช  ก็ตัดประสิทธิ์ประสาทให้สมมโนรถและตรัสว่า  ในไม่ช้าพระชนกก็จะเสด็จออกมารับพระองค์คืนเข้าไปครองราชย์สมบัติอย่าทรงวิตกอาดูรพระทัย   อุตส่าห์บำเพ็ญเนกขัมมบารมีตามทางพุทธทางกูงสืบไปเถิดแล้วเสด็จกลับเทวโลก


ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช มี ๖๙ พระคาถา
                เมื่อชูชกได้รับพระราชทานสองกุมาร คือ พระชาลี และพระนางกัณหาจากพระเวสสันดรแล้ว ก็พาเดินมาตามทางในป่าใหญ่ ค่ำลงที่ไหนก็ผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ตัวแกปีนขึ้นต้นไม้ผูกเปลนอน เพื่อให้พ้นภัยจากสัตว์ร้าย หากจะพึงมีขึ้นในค่ำคืนนั้นๆ
                ในเวลากลางคืน มีเทพบุตร เทพธิดา ๒ องค์ มีความสงสารสองกุมารมากจึงแปลงร่างกายคล้ายพระเวสสันดร  และพระนางมัทรี เดินมาพบกุมารทั้งสองแล้วก็จัดแจงแก้เถาวัลย์ที่ผูกมือออก จัดให้อาบน้ำชำระร่างกาย ให้บริโภคอาหารอันเป็นทิพย์ และให้นอนเหนือตัก กล่อมให้หลับสนิท ครั้นจวนสว่าง ก็จัดแจงผูกสองกุมารไว้เช่นเดิม แล้วก็อันตรธานไป พากันบำรุงสองกุมารโดยวิธีนี้ตลอดทางที่พักแรมในป่าทุกราตรี
                ครั้นเวลาเช้า ชูชกลงจากต้นไม้ พาสองกุมารเดินทางต่อไป ค่ำลงที่ไหนก็พักแรมโดยวิธีการดังกล่าวข้างต้น ครั้นถึงทางแยกสองแพร่ง ทางหนึ่งจะไปนครกาลิงคะทางหนึ่งจะไปนครสีพี เทพเจ้าดลใจให้ชูชกหลงทางเดินไปทางนครสีพีตลอดเวลา ๑๕ ราตรี ชูชกก็พาสองกุมารถึงพระนครสีพี
                ในคืนวันสุดท้าย  ที่ชูชกพาสองกุมารมาถึงนครสีพีนั้น พระเจ้ากรุงสัญชัยทรงสุบินในเวลาใกล้รุ่งว่า มีบุรุษหนึ่งนำดอกบัวงามสองดอกมาถวาย พระองค์ทรงรับไว้ด้วยพระหัตถ์แล้วยกขึ้นทัดพระกรรณ กลิ่นดอกบัวตลบชื่นพระนาสา แล้วทรงตื่นบรรทม โปรดให้โหรทำนายความฝัน
โหรทำนายว่า จะทรงพบญาติที่สนิทในเร็ววันนี้ พระองค์ทรงปราโมทย์ยินดี ครั้นได้เวลาก็เสด็จออกมาประทับยังหน้าพระรานหลวง ไม่ช้า ชูชกก็พาสองกุมารมาถึงหน้าพระที่นั่งเทพเจ้ากำบังมิให้ใครรู้จักทักท้วงห้ามปรามแต่อย่างใด จนพระเจ้ากรุงสัญชัยทอดพระเนตรเห็นสองกุมาร
ก็โปรดให้อำมาตย์นักการไปนำชูชกและสองกุมารไปเข้าเฝ้า โปรดให้ชูชกเล่าถึงการนำสองกุมารมาแต่เขาวงกตจนถึงนครสีพี ต่อจากนั้น ก็โปรดให้เบิกพระราชทรัพย์มาไถ่พระชาลีและพระกัณหา  ตามพิกัดค่าที่พระเวสสันดรกำหนดไว้ ซึ่งพระชาลีกราบทูลถวายให้ทรงทราบทุกประการ
                พระเจ้ากรุงสัญชัย ยังพระราชทานปราสาทให้ชูชกพักเป็นรางวัลทั้งสาวสนมกำนัน จัดโภชนาหารอันประณีตมาบำรุงบำเรอให้บริบูรณ์ ทุกเวลาแล้ว โปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระชาลีและพระนางกัญหาเข้าห้องสรงชำระพระองค์ให้หมดจดต้องสุคันธรสวารี ตกแต่งพระอินทรีย์ด้วย
เครื่องกษัตริย์ คืออาภรณ์โขมพัสตร์ และสร้อยสุพรรณรัตนสังวาลย์ แล้วอันเชิญเข้าสู่พระราชพิธีสมโภชรับขวัญในการจากป่าหิมวันต์เข้าสู่พระนครด้วยสวัสดี
                ต่อนั้นพระเจ้ากรุงสัญชัย จึงทรงปราศรัยถามพระชาลีถึงทุกข์สุขของพระเวสสันดร พระชาลีก็รำพันความทุกข์ร้อนของพระบิดาและพระมารดา ตั้งต้นแต่การแสวงหาผลไม้และรากไม้ในป่าอันเป็นความทุกข์ทรมานสุดประมาณ ก่อให้เกิดความสงสารแก่พระอัยกาเป็นอย่างหนักเพิ่มพูน
ความรักในพระโอรสด้วยระลึกถึงความหลัง จึงตรัสว่า ใช่อัยกาจะชิงชังแล้วขับพระพ่อเจ้าก็หาไม่ หากเพราะชาวเมืองมันใส่ไคล้ให้ปู่เชื่อด้วยมารยา ปู่จึงขับพระบิดาและมารดาให้นิราศไปหิมพานต์พระชาลีจึงทุลสารวิงวอนพระเจ้ากรุงสัญชัย ให้ยกแสนยากรครรไลไปรับพระบิดาและพระมารดากลับคืนยังพระพาราสีพี พระอัยกา ก้ทรงยินดีดังคำพระนัดดาจึงตรัสสั่งพระขันธ์ไปเขาวงกต ไปเชิญพระโอรสทั้งสองกลับคืนมาครองธานีก็พอดีชุชกนักภิกขาจารกินอาหารเกินขนาด เตโชธาตุไม่ย่อยพยุงชีวิตในที่สุดก็ดับจิต ชีวิตตักษัยพระเจ้ากรุงสัญชัยจึงให้ประกาศทายาทของชูชก มารับมรดกที่ได้รับพระราชทานไว้ เมื่อไม่มีผู้ใดมารับก็โปรดให้นำกลับเข้าเป็นของหลวงตามประเพณี
                ครั้นใกล้เวลา ให้เคลื่อนยีทวยทหาร ก็พอดีพระเจ้ากรุงกาลิงคะโปรดให้พราหมณ์นำคชสารปัจจัยนาคที่พระเวสสันดรทรงบริจาคถวายไปกลับคืนถวายมายังนครสีพี พระเจ้ากรุงสัยชัยก็ทรงเปรมปรีดิ์ปราโมทย์ ให้นำช้างปัจจัยนาคเข้ากระบวนทัพ เพื่อใก้รับพระเวสสันดรยังสิงขร
เขาวงกต ตามกำหนดรุ่งอรุณราตรี โปรดให้พระชาลีทรงช้างปัจจัยนาค นำกระบวนทัพ เสียงช้างม้าร้องฆ้องแตรกระแสศัพท์ดังสนั่นมี่ ครั้นได้ฤกษ์ กษัตริย์ทั้งสี่คือ พระเจ้ากรุงสัยชัย พระนางเจ้าผุสดี พระชาลี และ พระนางกัณหา พร้องด้วยกระบวนทัพ ก็ยาตราจากพระนคร มุ่งหน้าตรงยังสิงขรเขาวงกต ซึ่งเป็นที่ตั้งอาศรมบทแห่งพระราชฤาษี ได้ห้าสิบสามราตรีจึงถึงอาศรมสถาน แห่งพระเวสสันดร และมิ่งเยาวมาลย์มัทรี ซี่งทรงเพศพระฤาษีสังวร สำรวมใจสมควรแก่วิสัยผู้ประพฤติพรหมจรรย์นั้นแล
















ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ มี ๓๖ พระคาถา
                เมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัย ทรงดำเนินทัพไปตามระยะทางไม่เร่งร้อนทรงอาศัยพระชาลีกุมารนำทางมาโดยลำดับเป็นเวลา ๑ เดือน ๒๓ วันก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมพระเวสสันดร แล้วโปรดให้หยุดพักอยู่ในที่ใกล้สระโบกขรณีมุจลินทร์ให้บ่ายหน้ารถกลับพระนครสีพี ด้วยสุดที่หมายปลาย
ทางแล้ว เสียทหารทั้ง ๔ เหล่าโห่ร้องกึกก้องกัมปนาท สะเทือนสะท้อนลั่นป่าพระหิมพานต์ พระเวสสันดรทรงสดับเสียงทวยทหารบันลือลั่นเช่นนั้นก็ทรงตกพระทัย คิดไปว่าชะรอยจะเป็นอริราชข้าศึก ยกมาตีพระนครสีพีได้แล้วก็รีบเดินทัพมุ่งมาจับพระองค์ไปประหารพระชนม์ชีพ ตรัส
ชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูทหารบนภูเขา แม้อย่างนั้นแล้ว ก็ทรงแน่นพระทัยว่าเป็นข้าศึกใหญ่อยู่ ถึงกับทรงพระ-กันแสงกับพระนางมัทรีว่าถึงวาระของพระองค์จะต้องสิ้นพระชนม์ครั้งนี้แล้ว
                ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงให้พ้นได้เพราะเวรกรรมแต่ปางก่อน ส่วนพระนางมัทรีไม่มีเห็นร่วมด้วย เห็นไปว่าเป็นกองทัพของพระราชบิดายกมารับกลับพระนครจึงมีหน้าตาเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใส ทูลพระเวสสันดรว่า กองทัพที่ยกมาหาใช่เป็นอริราชศัตรูติดตามมาจับไม่ชะรอยจะเป็นทัพของ
สมเด็จพระราชบิดา ยกมารับกลับพระนครเป็นแน่สมดังกระแสพระดำริที่ทรงคิดไว้แล้ว และสมกับพรที่ท้าวสักกอมรินทร์ทรงประทานไว้ด้วยเพราะทวยทหารที่ยกมาแต่งเครื่องเป็นมงคล  ไม่ใช่ลักษณะออกศึก ขอพระองค์อย่าได้กินแหนงแคลงพระทัยเลย พระเวสสันดรกลับได้สติเพ่งพิจารณาทหารตามคำทูลของพระนางมัทรี ก็ทรงเห็นสอดคล้องด้วยมีความปิติโสมนัส ชวนพระนางมัทรีเสด็จลงจากภูเขามาประทับนั่งที่หน้าพระอาศรม ทำพระทัยให้มั่นคง มิใช้ความยินดีดานใจให้ฟูจนลิงโลดออกมาทางกาย วาจา ให้เสียภูมิปราชญ์คอยต้อนรับพระราชบิดาด้วยพระอาการปกติก่อนเสด็จเข้าไปพบพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสันชัยทรงสั่งกับพระนางเจ้าผุสดีว่าเราทั้งหมด ไม่ควรจะด่วยเข้าไปพบพระเวสสันดรพร้อมกันคราวเดียว ควรจะเข้าไปเป็น ๓ คราว คือคราวแรกพี่เข้าไป คราวที่สองให้ผุสดีไป คราวหลังใช้ชาลีกันกัณหาเข้าไป เมื่อเข้าไปเป็นระยะเช่นนี้ จะช่วยผ่อนความเศร้าโศกให้เบาบางได้ ครั้นตรัสแล้วก็เสด็จดำเนินไปที่พระอาศรมพร้อมด้วยราชบริพารด้วยอาการสงบ เมื่อพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ได้ทอดพระเนตรเห็นก็พากันลุกออกมาต้อนรับ ทูลเชิญให้เสด็จเข้าประทับที่พระศรมถวายบังคมแทบพระบาทเบื้องต้นได้ทูลถามถึงทุกข์ส่วนพระองค์ ต่อนั้นก็ถามถึงพระโอรสทั้งสองก่อนใครหมดแล้วจึงได้ถามถึงพระนางผุสดีพระราชมารดา
ถัดไปจึงถามถึงชาวพระนครสีพี
                พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสบอกแล้ว ได้ตรัสถามถึงทุกข์สุขพระเวสสันดร และพระนางมัทรี ครั้งทรงทราบถึงความยากลำบากยากแค้นที่พระโอรสทั้งสองเล่าถวายก็ทรงพระกันแสงด้วยความสงสาร ต่อนั้นพระนางเจ้าผุสดีก็เสด็จเข้าไปและต่อไปสองกุมารก็เสด็จเข้าไปยังอาศรมเมื่อได้ปะกันแล้วกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ได้รับความดีใจและความเสียใจ อย่างรุนแรงได้ทรงกันแสงสุดจะประมาณตลอดทั้งทวยทหารและเสวกามาตย์ ที่มาประชุมในที่นั้น สามารถทำพนาวันให้บันลือสนั่นทั่วหิมวันตประเทศ ท้าวสักกะเทเวศรจึงทรงบันดาล ให้ฝนตกลงมาประพรม ให้ชื่นบานพระทัย ยังกษัตริย์ทั้งหกและมหาชนทั้งหลายให้สร่างโศก เพราะอัญญมัญญวิปโยกดังพรรณนามา
                ต่อมามหาอำมาตย์ราชปุโรหิต จึงได้พร้อมกันทูลอัญเชิญให้ พระเวสสันดรทรงลาผนวชเสด็จไปครองราชย์สมบัติในพระนครสีพี ซึ่งทวยราษฎร์ ทั้งมวลมีความยินดีพร้อมกัน ถวาย ให้พระองค์เป็นกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักรสืบไป


























ความย่อ

กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ มี ๔๘ พระคาถา
                เมื่อพระเวสสันดรราชฤาษีได้สดับคำพระราชดำรัสเชื้อเชิญให้ลาผนวชออกไปครองราชย์สมบัติ  ก็รับสั่งทูลพ้อพระราชบิดา  ประวิงการรับอาราธนาไว้พลางก่อนว่าเมื่อกระหม่อมฉันปฎิบัติราชกรณียกิจโดยทศพิธราชธรรม  ไฉนพระราชบิดาจึงลงโทษเนรเทศจากพระนคร  มารับความทุกข์ยากแค้นแสนสาหัสในพงไพรไม่สมควรเลยพระเจ้าข้า?
                พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพรับผิด  เป็นด้วยพ่อเขลาหลงเชื่อคนยุยงลงโทษลูกซึ่งหาความผิดมิได้  ตรัสขอขมาโทษ  แลตรัสวอนพระราชโอรส  ให้ลาผนวชออกไปรับราชสมบัติ
                ต่อนั้นพระเวสสันดรจึงทรงรับเชิญ  ทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  เสด็จเข้ามงคลพระราชพิธีราชาภิเษก  ในมงคลสถานซึ่งเจ้าพนักงานจัดสร้างขึ้นในบริเวณอาศรมนั้น  ครั้นได้ฤกษ์กำหนดกาลกลับคืนเข้าพระนคร  ก็ทรงเครื่องราชูปโภคแบบพระมหากษัตริย์เสด็จนิวัติกลับพระ
นคร  พร้อมด้วยพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ด้วยจาตุรงคเสนาพร้อมด้วยสรรพาวุธเสด็จขึ้นคชสารปัจจัยนาคช้างพระที่นั่งท่ามกลางเสนามาตย์ราชบริพาร  เดินทางรอนแรมมาอย่างสบายมิได้เร่งร้อน  เป็นเวลาสองเดือนก็ถึงพระนครสีพีซึ่งได้รับการตกแต่งให้งดงามเป็นอย่างด้วยธงชัย และต้นกล้วยต้นอ้อยสองข้างมรรค  ประชาชนพากันมาต้อนรับเนืองแน่นโห่ร้องถวายพระพรชัยให้ทรงพระเจริญในพระราชสมบัติอย่ารู้โรยรา  ทั้งพระนางมัทรีราชชายา และพระชาลีพระนางกัณหาตลอดพระบรมวงศานุวงศ์ทั่วกัน
                เมื่อพระเวสสันดรเสด็จขึ้นปราสาทแล้วรับสั่งประกาศให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขังไว้ให้หมด  ครั้นเวลาราตรีก็ทรงรำพึงว่า  พรุ่งนี้ประชาชีต่างก็จะแตกตื่นกันมาคอยรับพระราชทานแล้วจะได้สิ่งใดแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งหลายเหล่านั้นทันใดนั้นท้าวโกสีย์ทรงทราบความปริวิตกของพระเวสสันดรแล้ว  ก็ทรงบันดาลฝนแก้ว    ประการให้ตกลงในพระนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  เฉพาะในพระราชวังท่วมถึงเอวพระเวสสันดรทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนาเหลือนั้นก็ให้ขนเข้าท้องพระคลังหลวง
                พระเวสสันดรเสด็จเถลิงราชสมบัติปกครองพระนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมให้บ้านเมืองเป็นสุขตลอดพระชนมายุ  เมื่อสิ้นพระชนแล้วก็ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก