พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ( พุทธศตวรรษที่ 23-25
)
ลักษณะของการสร้างพุทธรูปในสมัยนี้ส่วนใหญ่รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย และศิลปะอยุธยา
นอกจากนั้นแล้วสมัยนี้ก็มีการรับเอาศิลปะจากต่างชาติเข้ามามาก ช่วงต้นราชสมัย
มีการรับเอาศิลปะแบบจีนเข้ามา แต่ก็ไม่มีผลมาสู่การสร้างพระพุทธรูป ส่วนใหญ่เน้นไปที่องค์ประกอบต่าง ๆ
ทางด้านอื่นที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เช่น รูปปั้นยักษ์
ก็มีการนำเอาศิลปะของจีนมาตกแต่งประดับประดาผสมกับศิลปะไทยด้วย พระปรางค์
ก็ผสมผสานกันระหว่างศิลปะไทยกับจีน
เป็นต้น
ต่อมาในช่วงปลายสมัยรัตนโกสินทร์ ก็ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกเข้ามา เนื่องจากชาวตะวันตกเข้ามาเมืองไทยมาขึ้น ก็ได้นำเอาศิลปะขาองตนเข้ามาด้วย ส่วนใหญ่แล้วศิลปะตะวันตกมักจะมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในด้านสถาปัตยกรรมเสียส่วนใหญ่
เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร เมรุ
กุฏิ ศาลาการเปรียญ เป็นต้น
หลังคาเป็นทรงไทย
แต่ตัวอาคารเป็นทรงตะวันตก
หรือทรงตะวันตกล้วน ๆ เช่น ตึกพาณิชย์
เป็นต้น
ในด้านประติมากรรมนั้นมีอิทธิพลน้อยมาก การสร้างพระพุทธรูปในสมัยนี้
ส่วนใหญ่สกุลช่างผู้สร้างมุ้งเน้นไปที่รายละเอียดของลวดลายบนองค์พระปฏิมาสกุลช่างจะหันไปเอาใจใส่ลายเครื่องประดับมากกว่าที่จะเน้นลักษณะของสีพระพักตร์ขององค์พระปฏิมา
จึงเป็นผลทำให้องค์พระปฏิมาในสมัยนี้ประดับตกแต่งด้วยความอลังการ มีลักษณะที่สวยสดงดงามมาก เช่น
พระศรีศากยทศพลญาณ
พระพุทธรูปปางลีลา
องค์พระประธานที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ออกแบบ โดยศาสตราจารย์ ศิลปะ พีระศรี
เป็นต้นส่วนลักษณะรายละเอียดที่สามารถบ่งบอกถึงพระพุทธรูปสมัยนี้นั้นมีลักษณะที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับช่างผู้ออกแบบ
สมัยรัตนโกสินทร์
เริ่ม ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ถึงปัจจุบัน มีลักษณะผสมกันของแบบสุโขทัย และแบบอยุธยา มีที่ต่างกันคือ
พระเกตุมาลาและพระรัศมีสูงกว่า เส้นพระเกษาละเอียดกว่า มีวิวัฒนาการตามลำดับ
ดังนี้
|
สมัยรัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๒
คงทำตามแบบอยุธยา
สมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม
สมัย รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้า ฯ
ให้แก้ไขพุทธลักษณะ ให้คล้ายคนธรรมดามากยิ่งขึ้น ได้แก่ ตัดพระเกตุมาลาออก
คงมีแต่พระรัศมีเป็นเปลวอยู่บนพระเศียร
สมัยรัชกาลที่ ๕
พระพุทธรูปกลับมีพระเกตุมาลาอีก
สมัยรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคราวฉลอง
๒๕ พุทธศตวรรษ ได้สร้างพระพุทธรูปปางลีลา มีลักษณะเหมือนมนุษย์สามัญ
แต่มีศิลปแบบสุโขทัยปนอยู่
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปโดยพระราชนิยมขึ้น ๒ ปาง คือ
พระพุทธรูปประทับนั่ง ปางประทานพร และพระพุทธนวราชบพิตร เป็นปางมารวิชัย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา
( ตัก ) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ( เข่า ) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี
บางแห่งทำรูปแม่พระธรณีนั่งบีบมวยผมประกอบ นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ความเป็นมาของปางมารวิชัย
ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อม นำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามัวดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์ แต่ศัสตราวุธเหล่านั้นกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น พญามารยังกล่าวทึกทักว่า รัตนบัลลังก์เป็นของตน พระบรมโพธิสัตว์ ทรงกล่าวว่า รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำ กรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น
ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารวสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมฃล์สูง ๑๕๐ โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อม นำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามัวดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์ แต่ศัสตราวุธเหล่านั้นกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น พญามารยังกล่าวทึกทักว่า รัตนบัลลังก์เป็นของตน พระบรมโพธิสัตว์ ทรงกล่าวว่า รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำ กรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น
พระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษ ที่
๒๔ - ปัจจุบัน)
กรุงรัตนโกสินทร์ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบัน มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๙ พระองค์ ในสมัยรัชกาลต้นๆ
รัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๒ พระองค์ท่านได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปสมัยต่างๆเข้ามาไว้ใน
พระนคร เนื่องจากพระพุทธรูปมีขนาดต่างกัน ช่างจึงได้เอาปูนมาหุ้มแล้วลงรัก ปิดทอง เมื่อไม่นานมานี้ปูนได้เกิดกะเทาะออกทำให้เห็นว่าพระพุทธรูปจริงนั้น
ทำด้วยทองสำริด ได้ทำการลงรักปิดทองใหม่ ยังได้อัญเชิญพระประธานขนาด ใหญ่ของสมัยสุโขทัยอยุธยาหลายองค์
เช่น พระศรีศากยมุนี รวมทั้งพระพุทธรูป ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปอย่างพระแก้วมรกต
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง
ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปจำนวนมากเช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก(หลวงพ่อโต)
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท
ทำเป็นลายประดับ มุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น
ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา ตอนปลาย
เป็นพุทธลักษณะทรงเครื่องใหญ่เต็มยศ ประดับกระจกหรือเนาวรัตน์ทั้งองค์ ส่วนมากนิยมทำปางห้ามสมุทร
พระพักตร์ดูเรียบเฉยเหมือนหน้าหุ่นตัวพระของโขน ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประทับอยู่บนฐานที่ลดหลั่นกันหลายชั้น
ลวดลายละเอียด งดงาม มีผ้าทิพย์ประกอบดูรับกับองค์พระทรงเครื่องทั้งยังมีฉัตรประกอบทุกองค์
แม้แต่พระสาวกส่วนบัวที่อยู่ชั้นในสุดมีการทำลวดลายอย่างละเอียด เชื่อว่าได้แรง บันดาลจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูร้อน
ยังมีปรากฏพระพุทธรูป แบบจีวรดอก คือ ลวดลายดอกดวงที่จีวร เชื่อว่าได้รับอิธิพลมาจากพระแก้วมรกต
ในเครื่องทรงชุดประจำฤดูฝน
ขอย้อนกล่าวถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒) มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ไม่มากนัก เพราะถือเป็น
สมัยแห่งการสร้างบ้านแปงเมือง มีการสร้างพระราชวังและวัดวาอาราม
ส่วนพระพุทธรูป นั้น โปรดเกล้าฯ ให้ไปชะลอมาจากราชธานีเก่า โดยเฉพาะจากกรุงสุโขทัย
และพระราชทานไปตามวัดต่างๆ พระพุทธรูปที่มีการสร้างขึ้น
ใหม่ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลักษณะที่สำคัญซึ่งสืบทอดมาจากพระพุทธรูป
สมัยอยุธยาคือ พระพักตร์สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม
ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว
สังฆาฏิ เป็นแผ่นใหญ่ ตัวอย่างเช่น
พระประธาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร
ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้น พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะ พระพักตร์คล้ายกับหุ่นละคร รวมทั้งพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม
ในรัชกาลที่ ๔ นิยมสร้างพระพุทธรูปให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยพระพุทธรูปไม่มีพระ-เกตุมาลา และการครองจีวรมีริ้วแบบสมจริง แต่ในรัชกาลที่ ๕ ได้ย้อนกลับไปสร้างพระพุทธรูปแบบมีพระเกตุมาลาตามเดิม จนเข้าสู่ สมัยแห่งงานศิลปกรรมร่วมสมัย จึงได้นำรูป- แบบพระพุทธรูปที่เคยมีมาก่อน มาสร้างใหม่ หรือปรับเปลี่ยนบางอย่างที่เป็นความนิยมสมัยใหม่เพิ่มเข้าไป รูปแบบที่มีการนำกลับมาสร้างเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลา ซึ่งเป็นพระ-ประธานที่พุทธมณฑล มีชื่อว่า พระศรีศากยะ-ทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ซึ่ง ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นาม เดิมคือ คอราโด เฟโรจี (Corado Feroci)
ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้น พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะ พระพักตร์คล้ายกับหุ่นละคร รวมทั้งพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม
ในรัชกาลที่ ๔ นิยมสร้างพระพุทธรูปให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยพระพุทธรูปไม่มีพระ-เกตุมาลา และการครองจีวรมีริ้วแบบสมจริง แต่ในรัชกาลที่ ๕ ได้ย้อนกลับไปสร้างพระพุทธรูปแบบมีพระเกตุมาลาตามเดิม จนเข้าสู่ สมัยแห่งงานศิลปกรรมร่วมสมัย จึงได้นำรูป- แบบพระพุทธรูปที่เคยมีมาก่อน มาสร้างใหม่ หรือปรับเปลี่ยนบางอย่างที่เป็นความนิยมสมัยใหม่เพิ่มเข้าไป รูปแบบที่มีการนำกลับมาสร้างเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลา ซึ่งเป็นพระ-ประธานที่พุทธมณฑล มีชื่อว่า พระศรีศากยะ-ทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ซึ่ง ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นาม เดิมคือ คอราโด เฟโรจี (Corado Feroci)