ยางรถยนต์
ดอกยาง
การเลือกใช้ลักษณะดอกยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้งานอย่างเต็มที่ และตอบสนองลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันด้วย ลายดอกยางจึงได้มีการคิดค้นและพัฒนามาโดยตลอด จนปัจจุบันมีลายดอกยางมากมายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ดี หากแบ่งลายดอกยางโดยคำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งได้ใน 2 ลักษณะ คือ
การเลือกใช้ลักษณะดอกยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้งานอย่างเต็มที่ และตอบสนองลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันด้วย ลายดอกยางจึงได้มีการคิดค้นและพัฒนามาโดยตลอด จนปัจจุบันมีลายดอกยางมากมายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ดี หากแบ่งลายดอกยางโดยคำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1) ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง
เป็นลักษณะของลายดอกยางที่จะสามารถสลับยางได้ในทุกตำแหน่งล้อของรถ ลักษณะดอกยางทั้ง 2 ด้านจะสวนทิศทางกัน หากเป็นการขับขี่ทั่วไป ไม่เน้นความเร็วสูง ดอกยางลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีเยี่ยม
เป็นลักษณะของลายดอกยางที่จะสามารถสลับยางได้ในทุกตำแหน่งล้อของรถ ลักษณะดอกยางทั้ง 2 ด้านจะสวนทิศทางกัน หากเป็นการขับขี่ทั่วไป ไม่เน้นความเร็วสูง ดอกยางลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีเยี่ยม
2) ดอกยางทิศทางแบบทิศทางเดียว (Uni-Direction)
ลายของดอกยางจะถูกบังคับให้หมุนไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยมีลูกศรบอกทิศทางการหมุนอยู่ที่แก้มยางทั้ง 2 ด้าน ดังนั้น การสลับยางจะสลับได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น เช่น สลับด้านหน้าขวากับหลังขวาหรือด้านหน้าซ้ายกับหลังซ้าย เว้นแต่จะถอดตัวยางออกจากกระทะล้อเดิมไปใส่กับกระทะล้อฝั่งตรงกันข้ามแต่ต้องจัดวางทิศทางการหมุนของดอกยางให้ถูกต้องเช่นเดิม มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้ทิศทางการหมุนของยางเปลี่ยนกลับทิศทาง ทำให้ประสิทธิภาพของยางลดลง จุดเด่นของดอกยางแบบทิศทางเดียว คือ สามารถไล่น้ำออกจากหน้ายางได้รวดเร็วกว่าแบบ 2 ทิศทาง ป้องกันอาการเหินน้ำ (Hydroplaning) ซึ่งจะทำให้ควบคุมบังคับรถได้ลำบากและเกิดการลื่นไถลได้ง่าย
ลายของดอกยางจะถูกบังคับให้หมุนไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยมีลูกศรบอกทิศทางการหมุนอยู่ที่แก้มยางทั้ง 2 ด้าน ดังนั้น การสลับยางจะสลับได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น เช่น สลับด้านหน้าขวากับหลังขวาหรือด้านหน้าซ้ายกับหลังซ้าย เว้นแต่จะถอดตัวยางออกจากกระทะล้อเดิมไปใส่กับกระทะล้อฝั่งตรงกันข้ามแต่ต้องจัดวางทิศทางการหมุนของดอกยางให้ถูกต้องเช่นเดิม มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้ทิศทางการหมุนของยางเปลี่ยนกลับทิศทาง ทำให้ประสิทธิภาพของยางลดลง จุดเด่นของดอกยางแบบทิศทางเดียว คือ สามารถไล่น้ำออกจากหน้ายางได้รวดเร็วกว่าแบบ 2 ทิศทาง ป้องกันอาการเหินน้ำ (Hydroplaning) ซึ่งจะทำให้ควบคุมบังคับรถได้ลำบากและเกิดการลื่นไถลได้ง่าย
ตัวเลขและสัญลักษณ์บนแก้มยาง
ตัวเลขและตัวอักษรต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแก้มยางรถยนต์นั้น สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติของยางได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดของยาง เช่น หน้ากว้าง ซีรี่ส์ ขนาดขอบกระทะล้อ และยังบ่งบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุด, ดัชนีในการรับน้ำหนักของยางเส้นนั้นๆ รวมไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถือว่าเป็นข้อมูลทั่วๆไป ที่ท่านเจ้าของรถควรจะทราบเพื่อที่จะได้เลือกซื้อยางในครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับรถยนต์ของท่าน
ตัวเลขและตัวอักษรต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแก้มยางรถยนต์นั้น สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติของยางได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดของยาง เช่น หน้ากว้าง ซีรี่ส์ ขนาดขอบกระทะล้อ และยังบ่งบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุด, ดัชนีในการรับน้ำหนักของยางเส้นนั้นๆ รวมไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถือว่าเป็นข้อมูลทั่วๆไป ที่ท่านเจ้าของรถควรจะทราบเพื่อที่จะได้เลือกซื้อยางในครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับรถยนต์ของท่าน
สำหรับตัวเลขที่อยู่บนแก้มยางของรถเก๋ง
โดยทั่วไปจะมีลักษณะดังตัวอย่างต่อไปนี้
195/60R14 85H
195/60R14 85H
·
195 คือ ความกว้างยาง
มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
·
60 คือ ซีรีส์ยาง
·
R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล
·
14 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ
มีหน่วยเป็นนิ้ว
·
85 คือ
ดัชนีในการรับน้ำหนักของยางต่อเส้น
·
H คือ ขีดจำกัดความเร็วสูงสุด
สำหรับความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถกระบะ
มีลักษณะดังนี้
195R14C 8PR
195R14C 8PR
·
195 คือ ความกว้างยาง
มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
·
R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล
·
14 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ
มีหน่วยเป็นนิ้ว
·
C คือ ยางที่ใช้เพื่อการขนส่ง
(มาจากคำว่า commercial)
·
8PR คือ อัตราชั้นผ้าใบเทียบเท่า 8
ชั้น
(ในส่วนของซีรีส์ ถ้าไม่ได้ระบุ คือ ซีรีส์ 80)
(ในส่วนของซีรีส์ ถ้าไม่ได้ระบุ คือ ซีรีส์ 80)
ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถขับเคลื่อน
4 ล้อ จะมีลักษณะดังนี้
31x10.5R15
31x10.5R15
·
31 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางยาง
มีหน่วยเป็นนิ้ว
·
10.5 คือ ความกว้างยาง
มีหน่วยเป็นนิ้ว
·
R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล
·
15 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ
มีหน่วยเป็นนิ้ว
การเปลี่ยนขนาดยาง
ข้อคำนึงในการเปลี่ยนขนาดยาง
โดยปกติแล้ว ยางที่ติดรถออกมาจากโรงงานประกอบของรถแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนั้น เป็นยางที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุดที่ทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ทดสอบแล้ว แต่เนื่องจากผู้ขับขี่แต่ละรายอาจมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ต้องการให้เกาะถนนดีขึ้นเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ เพื่อความนุ่มนวลที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ขับขี่จึงต้องการเปลี่ยนขนาดยางให้เหมาะสมและตรงกับลักษณะการใช้งาน ซึ่งการเปลี่ยนยางใหม่แทนยาง ชุดเก่าให้มีขนาดที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการเปลี่ยนขนาดยางที่ขนาดยางเส้นใหม่มีความแตกต่างไปจากขนาดเดิมนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ
1) ความสามารถในการรับน้ำหนัก ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม
2) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม
ข้อคำนึงในการเปลี่ยนขนาดยาง
โดยปกติแล้ว ยางที่ติดรถออกมาจากโรงงานประกอบของรถแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นนั้น เป็นยางที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุดที่ทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ทดสอบแล้ว แต่เนื่องจากผู้ขับขี่แต่ละรายอาจมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ต้องการให้เกาะถนนดีขึ้นเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ เพื่อความนุ่มนวลที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ขับขี่จึงต้องการเปลี่ยนขนาดยางให้เหมาะสมและตรงกับลักษณะการใช้งาน ซึ่งการเปลี่ยนยางใหม่แทนยาง ชุดเก่าให้มีขนาดที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการเปลี่ยนขนาดยางที่ขนาดยางเส้นใหม่มีความแตกต่างไปจากขนาดเดิมนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ
1) ความสามารถในการรับน้ำหนัก ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม
2) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม
การเปลี่ยนขนาดยางไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดผลเสีย ดังนี้
ขนาดยางเล็กไป
- ความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
- มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ขนาดยางใหญ่ไป
- ยางเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ
- พวงมาลัยหนักขณะใช้ความเร็วต่ำ
- มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
อายุการใช้งานของยาง
โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับรถยนต์แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละราย โดยสามารถศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพอายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย
โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับรถยนต์แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละราย โดยสามารถศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพอายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย
มีข้อแนะนำในการบำรุงรักษายางที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
- ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเติมลมยางตามมาตรฐาน
ที่ระบุในคู่มือรถยนต์
- บรรทุกน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการบวมล่อนและ
ระเบิดของโครงยาง
- ทำการสลับยางและตรวจเช็คศูนย์ล้อ ทุก ๆ ระยะทาง 10,000 กม. หรือตามคำแนะนำ
ของผู้ผลิตรถยนต์
- ขับขี่อย่างระมัดระวังบนถนนขรุขระ และหลีกเลี่ยงสิ่งมีคมต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันหรือสารเคมี
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน จึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์มากยิ่งขึ้น และเลือกใช้ยางให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย
- ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเติมลมยางตามมาตรฐาน
ที่ระบุในคู่มือรถยนต์
- บรรทุกน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการบวมล่อนและ
ระเบิดของโครงยาง
- ทำการสลับยางและตรวจเช็คศูนย์ล้อ ทุก ๆ ระยะทาง 10,000 กม. หรือตามคำแนะนำ
ของผู้ผลิตรถยนต์
- ขับขี่อย่างระมัดระวังบนถนนขรุขระ และหลีกเลี่ยงสิ่งมีคมต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันหรือสารเคมี
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน จึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์มากยิ่งขึ้น และเลือกใช้ยางให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง
ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปได้ และยางรถยนต์ยังเป็นชิ้นส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนน ดังนั้น เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ยางก็ย่อมเกิดการสึกหรอ หากแต่การสึกหรอของดอกยางจากการใช้งานของผู้ขับขี่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน และการดูแลรักษาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสึกหรอมีดังนี้
ความดันลมยาง
การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐานทำให้อายุยางสั้นลง บริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูงและสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งอาจทำให้เนื้อยางไหม้และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน อันนำไปสู่การบวมล่อนและระเบิดของยาง นอกจากนี้ อาจทำให้โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย
การเติมลมยางมากเกินไป
ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนลดลง อาจทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และโครงยางอาจระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อย อายุยางก็จะลดน้อยลง เนื่องจากดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น และทำให้ความนุ่มนวลในขณะขับขี่ลดลงอีกด้วย
น้ำหนักบรรทุก
การบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่าย เป็นผลให้มีการสึกหรอของเนื้อยางอย่างรวดเร็ว อายุยางก็จะสั้นลง
ความเร็ว
ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง จะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อความต้านทานต่อการสึกหรอ ทำให้อายุของยางลดลงตามไปด้วย
การเบรกและการออกตัว
ในขณะที่รถยนต์วิ่งอยู่บนถนนจะเกิดแรงเฉื่อยซึ่งมีค่าสูงกว่าความเร็ว ดังนั้น เมื่อเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้ว แรงเฉื่อยของตัวรถจะดันให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ยางเกิดการสึกหรอ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรกเป็นสำคัญ ส่วนการออกตัวอย่างรุนแรง ทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนัก ทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
สภาพรถยนต์
เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อ มีผลอย่างมากกับการสึกหรอที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปคของรถ จะทำให้เกิดแรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปกติ
สภาพผิวถนน
ผิวถนนยิ่งราบเรียบมาก ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้า ใช้งานได้นานกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระ เพราะความต้านทานต่อการหมุนบนถนนเรียบมีน้อยกว่า ยางจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกัน การขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขาหรือขับบนถนนที่คดเคี้ยว
สภาพภูมิอากาศ
ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้น หากยางเกิดความร้อนมากขึ้นจากการใช้งาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็วขึ้น
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้การสึกหรอเกิดขึ้นช้าที่สุด สม่ำเสมอใกล้เคียงกันในทุกตำแหน่งล้อ และให้ประสิทธิภาพของยางแต่ละเส้นใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ ควบคุมปัจจัยอันเป็นสาเหตุหลักของการสึกหรอของยาง โดย
- ตรวจเช็คและปรับแต่งความดันลมยางให้อยู่ในค่ามาตรฐานด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำในขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือก่อนการใช้งาน
- ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป หากเป็นการใช้งานเพื่อบรรทุกหนัก ควรเลือกใช้ยาง
ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
- ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในยางสูง อันเป็นสาเหตุ
ให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
- ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเบรกหยุดรถอย่างกระทันหัน
หรือการออกตัวอย่างรุนแรง
- ดูแลรักษาศูนย์ล้อและระบบช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงถนนที่มีสภาพทุรกันดาร ขรุขระ มีหลุมบ่อ หากต้องขับขี่บนถนนดังกล่าว ควรเลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภทและลดความเร็วในการขับขี่ลง
ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปได้ และยางรถยนต์ยังเป็นชิ้นส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนน ดังนั้น เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ยางก็ย่อมเกิดการสึกหรอ หากแต่การสึกหรอของดอกยางจากการใช้งานของผู้ขับขี่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน และการดูแลรักษาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสึกหรอมีดังนี้
ความดันลมยาง
การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐานทำให้อายุยางสั้นลง บริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูงและสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งอาจทำให้เนื้อยางไหม้และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน อันนำไปสู่การบวมล่อนและระเบิดของยาง นอกจากนี้ อาจทำให้โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย
การเติมลมยางมากเกินไป
ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนลดลง อาจทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และโครงยางอาจระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อย อายุยางก็จะลดน้อยลง เนื่องจากดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น และทำให้ความนุ่มนวลในขณะขับขี่ลดลงอีกด้วย
น้ำหนักบรรทุก
การบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่าย เป็นผลให้มีการสึกหรอของเนื้อยางอย่างรวดเร็ว อายุยางก็จะสั้นลง
ความเร็ว
ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง จะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อความต้านทานต่อการสึกหรอ ทำให้อายุของยางลดลงตามไปด้วย
การเบรกและการออกตัว
ในขณะที่รถยนต์วิ่งอยู่บนถนนจะเกิดแรงเฉื่อยซึ่งมีค่าสูงกว่าความเร็ว ดังนั้น เมื่อเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้ว แรงเฉื่อยของตัวรถจะดันให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ยางเกิดการสึกหรอ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรกเป็นสำคัญ ส่วนการออกตัวอย่างรุนแรง ทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนัก ทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
สภาพรถยนต์
เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อ มีผลอย่างมากกับการสึกหรอที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปคของรถ จะทำให้เกิดแรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปกติ
สภาพผิวถนน
ผิวถนนยิ่งราบเรียบมาก ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้า ใช้งานได้นานกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระ เพราะความต้านทานต่อการหมุนบนถนนเรียบมีน้อยกว่า ยางจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกัน การขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขาหรือขับบนถนนที่คดเคี้ยว
สภาพภูมิอากาศ
ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้น หากยางเกิดความร้อนมากขึ้นจากการใช้งาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็วขึ้น
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้การสึกหรอเกิดขึ้นช้าที่สุด สม่ำเสมอใกล้เคียงกันในทุกตำแหน่งล้อ และให้ประสิทธิภาพของยางแต่ละเส้นใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ ควบคุมปัจจัยอันเป็นสาเหตุหลักของการสึกหรอของยาง โดย
- ตรวจเช็คและปรับแต่งความดันลมยางให้อยู่ในค่ามาตรฐานด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำในขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือก่อนการใช้งาน
- ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป หากเป็นการใช้งานเพื่อบรรทุกหนัก ควรเลือกใช้ยาง
ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
- ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในยางสูง อันเป็นสาเหตุ
ให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
- ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเบรกหยุดรถอย่างกระทันหัน
หรือการออกตัวอย่างรุนแรง
- ดูแลรักษาศูนย์ล้อและระบบช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงถนนที่มีสภาพทุรกันดาร ขรุขระ มีหลุมบ่อ หากต้องขับขี่บนถนนดังกล่าว ควรเลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภทและลดความเร็วในการขับขี่ลง
เปลี่ยนยางเส้นเดียวควรไว้ที่ตำแหน่งใดตามมาตรฐานแล้ว
ยางที่อยู่บนเพลาเดียวกัน ควรจะมีขนาดดอกยาง และอัตราการสึกหรอเท่ากัน เพื่อที่เวลาเบรกกระทันหันแล้วจะไม่เกิดอาการรถปัด
หรือเสียการทรงตัว ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ หากยางในตำแหน่งล้อหน้า
และล้อหลังแตกต่างกันแล้ว
ให้เอายางที่มีความสามารถในการยึดเกาะถนนน้อยกว่าไว้ในตำแหน่งล้อหน้า
โดยพิจารณาจากขนาดดอกยาง และอัตราการสึกหรอ ดังนั้น การเปลี่ยนยางใหม่ครั้งละ 2
เส้น จึงควรนำยางใหม่ไว้ในตำแหน่งล้อหน้าเสมอ
เพื่อให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนยางเพียงเส้นเดียว
เนื่องจากการเปลี่ยนยางเพียงเส้นเดียวนั้นไม่สามารถจับคู่เข้ากับยางเดิม
ในตำแหน่งล้อหน้าหรือล้อหลังได้เลย ก็ควรนำไปเป็นยางอะไหล่
แล้วรอจนกว่าจะซื้อยางเส้นใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 เส้น
ที่มีขนาดและดอกยางเดียวกันกับยางอะไหล่เดิม จึงจะสามารถจับคู่กันได้
ข้อควรรู้ในการเปลี่ยนยางใหม่
เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่สำหรับรถคุณ สิ่งที่คุณควรรู้และตรวจสอบทุกครั้งก็คือ
1. ควรเลือกใช้ยางที่มีขนาด ชนิดโครงสร้างของยาง ลักษณะดอกยาง และความลึกร่องดอกยางที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
2. ควรเลือกใช้ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกันทั้งชุด หากจำเป็นหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรใส่ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกันในเพลาหรือล้อคู่เดียวกัน
3. ควรเปลี่ยนยางทั้งชุดในคราวเดียวกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้งานของยางทุกเส้นใกล้เคียงกัน หรือเปลี่ยนครั้งละ 2 เส้นในเพลาเดียวกัน
4. หากจำเป็นต้องเปลี่ยนคราวละ 2 เส้น ยางเส้นใหม่ควรติดตั้งที่ตำแหน่งล้อขับเคลื่อน
5. กรณีที่เลือกใช้ยางแบบทิศทางเดียว (uni-direction) ต้องตรวจดูทิศทางการหมุนของยางว่าถูกต้องไปตามทิศทางที่กำหนดหรือไม่ โดยสังเกตจากเครื่องหมายลูกศรที่ระบุไว้บนแก้มยาง เพราะการใส่ยางกลับทิศทาง จะทำให้ประสิทธิภาพของยางในการรีดน้ำลดลง ในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่นั้น
เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่สำหรับรถคุณ สิ่งที่คุณควรรู้และตรวจสอบทุกครั้งก็คือ
1. ควรเลือกใช้ยางที่มีขนาด ชนิดโครงสร้างของยาง ลักษณะดอกยาง และความลึกร่องดอกยางที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
2. ควรเลือกใช้ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกันทั้งชุด หากจำเป็นหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรใส่ยางยี่ห้อและรุ่นเดียวกันในเพลาหรือล้อคู่เดียวกัน
3. ควรเปลี่ยนยางทั้งชุดในคราวเดียวกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้งานของยางทุกเส้นใกล้เคียงกัน หรือเปลี่ยนครั้งละ 2 เส้นในเพลาเดียวกัน
4. หากจำเป็นต้องเปลี่ยนคราวละ 2 เส้น ยางเส้นใหม่ควรติดตั้งที่ตำแหน่งล้อขับเคลื่อน
5. กรณีที่เลือกใช้ยางแบบทิศทางเดียว (uni-direction) ต้องตรวจดูทิศทางการหมุนของยางว่าถูกต้องไปตามทิศทางที่กำหนดหรือไม่ โดยสังเกตจากเครื่องหมายลูกศรที่ระบุไว้บนแก้มยาง เพราะการใส่ยางกลับทิศทาง จะทำให้ประสิทธิภาพของยางในการรีดน้ำลดลง ในการเปลี่ยนยางเส้นใหม่หรือชุดใหม่นั้น
การปรับตัวของยางใหม่
ยางรถยนต์เส้นใหม่ก็เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ใหม่ เมื่อเริ่มนำไปใช้งานจริงก็ต้องมีการปรับสภาพตัวเองไปกับการใช้งาน หรือที่เรียกกันว่า ระยะรันอิน (run in) ดังนั้น ในระยะ 100-200 กิโลเมตรแรกของการใช้งาน จึงไม่ควรใช้ความเร็วสูงเกินไป ควรขับขี่อยู่ที่ความเร็วไม่เกิน 80-100 กม./ชม. เพื่อให้โครงยาง แก้มยาง และหน้ายางปรับสภาพไปกับการใช้งานบนพื้นผิวถนน เนื่องจากมุมล้อของรถแต่ละคันนั้น ไม่ว่าจะเป็น มุมโท (toe) มุมแคมเบอร์ (camber) หรือ มุมคาสเตอร์ (caster) ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ยังเป็น การถนอมช่วงล่างของรถอีกด้วย
นอกจากนี้ สำหรับยางใหม่ที่ได้รับการเติมลมยางครั้งแรกแล้ว ควรเพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คความดันลมยางด้วย เพราะโครงยางจะมีการยืดขยายออกอีกเล็กน้อย สืบเนื่องจากการปรับสภาพในการใช้งานจริง ซึ่งอาจเป็นผลให้ความดันลมยางลดต่ำลงเล็กน้อย ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คความดันลมยางทุกๆ สัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง
ยางรถยนต์เส้นใหม่ก็เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ใหม่ เมื่อเริ่มนำไปใช้งานจริงก็ต้องมีการปรับสภาพตัวเองไปกับการใช้งาน หรือที่เรียกกันว่า ระยะรันอิน (run in) ดังนั้น ในระยะ 100-200 กิโลเมตรแรกของการใช้งาน จึงไม่ควรใช้ความเร็วสูงเกินไป ควรขับขี่อยู่ที่ความเร็วไม่เกิน 80-100 กม./ชม. เพื่อให้โครงยาง แก้มยาง และหน้ายางปรับสภาพไปกับการใช้งานบนพื้นผิวถนน เนื่องจากมุมล้อของรถแต่ละคันนั้น ไม่ว่าจะเป็น มุมโท (toe) มุมแคมเบอร์ (camber) หรือ มุมคาสเตอร์ (caster) ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ยังเป็น การถนอมช่วงล่างของรถอีกด้วย
นอกจากนี้ สำหรับยางใหม่ที่ได้รับการเติมลมยางครั้งแรกแล้ว ควรเพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คความดันลมยางด้วย เพราะโครงยางจะมีการยืดขยายออกอีกเล็กน้อย สืบเนื่องจากการปรับสภาพในการใช้งานจริง ซึ่งอาจเป็นผลให้ความดันลมยางลดต่ำลงเล็กน้อย ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คความดันลมยางทุกๆ สัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง
เลือกยางอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน
โดยปกติแล้ว บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ได้ออกแบบยางเพื่อให้ผู้ขับขี่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีดอกยางในลักษณะต่างๆ กัน เช่น ดอกบล็อก จะมีลวดลายของดอกยาง แยกเป็นอิสระต่อกัน เพื่อเพิ่มการยึดเกาะถนนและรีดน้ำได้ดี ทำให้ควบคุมพวงมาลัย
ได้ง่าย และช่วยในการทรงตัวของรถ อีกทั้งดอกยางยังสามารถระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย ดอกยางที่มีลักษณะเป็นบล็อกเล็กๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบและนุ่มนวลในการขับขี่ แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะถนน ก็ต้องเลือกดอกยางที่เป็นบล็อกใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีลักษณะดอกยาง ที่เป็นดอกบล็อกเช่นกัน ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเรียกว่า ยูนิ-ไดเร็กชั่น
ซึ่งลายดอกยางนั้น จะเป็นร่องยางขนานกันไปทั้งซ้ายและขวาในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีลูกศรที่แก้มยาง กำหนดทิศทางการหมุนของยาง เพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำ ทำให้รถทรงตัวได้ดีในสภาพน้ำขัง ยางชนิดนี้เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม หากใส่ยางกลับทิศจากที่กำหนด ประสิทธิภาพการรีดน้ำของยางก็จะลดลง
สำหรับผู้ที่นิยมรถขับเคลื่อน 4 ล้อ มีอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเป็นยาง ที่มีลักษณะเป็นดอกยาง ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับทุกสภาพถนนในทุกฤดูกาล นั่นก็คือ ดอก ออล เทอร์เรน ซึ่งเป็นลักษณะดอกบล็อกอีกแบบหนึ่ง แต่หากเป็นผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยในลักษณะ off-road ลุยเข้าไปในป่าแต่เพียงอย่างเดียว การเลือกใช้ยางที่เป็นแบบ mud terrain อาจมีความเหมาะสมมากกว่า
โดยปกติแล้ว บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ได้ออกแบบยางเพื่อให้ผู้ขับขี่เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีดอกยางในลักษณะต่างๆ กัน เช่น ดอกบล็อก จะมีลวดลายของดอกยาง แยกเป็นอิสระต่อกัน เพื่อเพิ่มการยึดเกาะถนนและรีดน้ำได้ดี ทำให้ควบคุมพวงมาลัย
ได้ง่าย และช่วยในการทรงตัวของรถ อีกทั้งดอกยางยังสามารถระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย ดอกยางที่มีลักษณะเป็นบล็อกเล็กๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบและนุ่มนวลในการขับขี่ แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะถนน ก็ต้องเลือกดอกยางที่เป็นบล็อกใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีลักษณะดอกยาง ที่เป็นดอกบล็อกเช่นกัน ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเรียกว่า ยูนิ-ไดเร็กชั่น
ซึ่งลายดอกยางนั้น จะเป็นร่องยางขนานกันไปทั้งซ้ายและขวาในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีลูกศรที่แก้มยาง กำหนดทิศทางการหมุนของยาง เพิ่มประสิทธิภาพในการรีดน้ำ ทำให้รถทรงตัวได้ดีในสภาพน้ำขัง ยางชนิดนี้เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม หากใส่ยางกลับทิศจากที่กำหนด ประสิทธิภาพการรีดน้ำของยางก็จะลดลง
สำหรับผู้ที่นิยมรถขับเคลื่อน 4 ล้อ มีอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเป็นยาง ที่มีลักษณะเป็นดอกยาง ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับทุกสภาพถนนในทุกฤดูกาล นั่นก็คือ ดอก ออล เทอร์เรน ซึ่งเป็นลักษณะดอกบล็อกอีกแบบหนึ่ง แต่หากเป็นผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยในลักษณะ off-road ลุยเข้าไปในป่าแต่เพียงอย่างเดียว การเลือกใช้ยางที่เป็นแบบ mud terrain อาจมีความเหมาะสมมากกว่า
ข้อดี
ข้อเสียของการเปลี่ยนขนาดขอบกระทะล้อและยาง
การเปลี่ยนขนาดของขอบกระทะล้อและยางนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตาม มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การเปลี่ยนกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น แต่ใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางต่ำลงหรือ มีซีรี่ส์ต่ำลง มีข้อดีก็คือช่วยเพิ่มการทรงตัวและยึดเกาะถนนขณะที่ใช้ความเร็วบนทางตรงและทางโค้งได้ดียิ่งขึ้น การเบรกก็ทำได้ดีกว่าเดิม แต่ข้อเสียก็คือ การต้องใช้แก้มยางที่ต่ำลง ทำให้ช่วงล่างสึกหรอเร็วและความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
ส่วนการเปลี่ยนขนาดกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น และใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ข้อดีคือ มีความนุ่มนวลเพิ่มขึ้น แต่อัตราเร่งอาจลดต่ำลงกว่าเดิม การทรงตัวในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงก็จะไม่ดีเท่าที่ควร
การเปลี่ยนขนาดของขอบกระทะล้อและยางนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตาม มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การเปลี่ยนกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น แต่ใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางต่ำลงหรือ มีซีรี่ส์ต่ำลง มีข้อดีก็คือช่วยเพิ่มการทรงตัวและยึดเกาะถนนขณะที่ใช้ความเร็วบนทางตรงและทางโค้งได้ดียิ่งขึ้น การเบรกก็ทำได้ดีกว่าเดิม แต่ข้อเสียก็คือ การต้องใช้แก้มยางที่ต่ำลง ทำให้ช่วงล่างสึกหรอเร็วและความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
ส่วนการเปลี่ยนขนาดกระทะล้อให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น และใช้ยางที่มีขนาดความสูงของแก้มยางเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ข้อดีคือ มีความนุ่มนวลเพิ่มขึ้น แต่อัตราเร่งอาจลดต่ำลงกว่าเดิม การทรงตัวในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงก็จะไม่ดีเท่าที่ควร
การดูแลรักษายางรถยนต์
ด้วย หน้าที่ในการยึดเกาะถนนของยางรถยนต์ อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบกันสะเทือน ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่ ขับรถได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยตลอดการเดินทาง ยางรถยนต์แต่ละเส้น จึงต้องได้มาตรฐาน เหมาะสมกับประเภท และการใช้งานของรถ เพราะประสิทธิภาพของยาง ขึ้นอยู่กับสภาพของยางแต่ละเส้น
ปัจจัย สำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของยางก็คือ ความดันลมยาง ถ้าความดันลมภายในยาง มากหรือน้อยกว่าที่กำหนด จะมีผลทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลง เช่น ถ้าความดัน ลมยางมากเกินไป จะมีผลทำให้ดอกยางสึก โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของหน้ายาง เพราะโครงยางจะเบ่งตัวเต็มที่ อาจทำให้ยางระเบิดได้ง่าย หากรับแรงกระแทกรุนแรง หรือของมีคม แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกินไปก็จะมีผลทำให้ไหล่ยางด้านข้างทั้งซ้าย และขวาสึก ส่วนตอนกลางของยางจะยุบตัวเข้าไปหรือที่เรามักเรียกว่า ยางแบน
การรับน้ำหนัก ถ้ารถมีน้ำหนักบรรทุกเกินอัตราส่งผลให้ยางเกิดความร้อนสูงสึกหรอเร็ว แล้วถ้าล้อใดล้อหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าล้ออื่น จะทำให้ล้อนั้น ๆ สึกหรอเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพถนนที่ขรุขระ สภาพรถเกี่ยวกับศูนย์ล้อ เช่น มุมโทอิน*, มุมโท-เอาต์* และมุมแคมเบอร์** ของรถยนต์ถ้าไม่ถูกต้องตามกำหนดของรถแต่ละรุ่น ก็จะทำให้ยางสึกหรอเร็วและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์ การขับรถด้วยความเร็วสูง หรือการหยุดที่ความเร็วสูง รวมทั้งการเบรกและออกตัว อย่างรุนแรงก็มีผลทำให้ยางสึกหรอเร็วยิ่งขึ้นอีก
การสังเกตว่ายางหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุการใช้งานหรือไม่นั้นให้ดูที่สัญลักษณ์รูปหรืออักษร Twi ที่ไหล่ยาง รอบ ๆ แก้มยาง ข้างละประมาณ 6 จุด ห่างกันประมาณ 60 องศาจากปลายมุมสามเหลี่ยม เมื่อลากเส้นผ่านหน้ายาง จากไหล่ยางด้านหนึ่งไปยังไหล่ยางอีกด้านหนึ่งภายในร่องยาง ตามแนวที่กล่าวมา จะมีเนื้อยางเป็นเส้นนูนขึ้นมา โดยเฉลี่ยจะมีความสูงจากความลึกของ ร่องยางปกติประมาณ 2 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อยางถูกใช้งานไปนาน ๆ ควรเปลี่ยนยางใหม่ เนื่องจากถ้าใช้ต่อไปอาจเกิดปัญหาทางด้านประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนและการ หยุดรถได้
การดูแลรักษา สามารถทำได้โดยหมั่นเช็กลมยางอยู่เสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงถนนหนทางที่ขรุขระ หลีกเลี่ยงการขับชนฟุตบาท นอกจากนี้ขณะออกรถไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ และออกตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติและไม่ควรจอดรถชิดจนติดกับฟุตบาท เพราะอาจทำให้โครงยางชำรุด ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ายางมีแผล และเป็นแผลชำรุดที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่
เท่านี้ก็จะช่วยให้ทั้งคุณและรถปลอดภัย และเดินทางต่อไปได้อย่างมั่นใจเต็มร้อย
การคำนวณขนาดยางรถยนต์
มีคำถาม บ่อยครั้ง ที่ท่านเจ้าของ รถยนต์ อยากที่จะเปลี่ยนล้อให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งในการเปลี่ยนล้อ สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ ขนาดของยาง จะใช้ขนาดไหนดี ? อันนี้เราขอแนะนำให้พยายามเลือก ขนาดยางใหม่ ให้มีความสูง หรือ จะเรียกแบบเป็นทางการว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง ให้มีขนาดหลังเปลี่ยนแล้ว ใกล้เคียงของเดิม ( Standard ) มากที่สุด เพราะจะได้ไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิ่งไม่ออก , กินน้ำมัน , ติดซุ้ม , ติดโช๊ค เป็นต้น
ดังนั้น เราลองมาหาขนาด ยางใหม่ โดยใช้วิธีการคำนวนง่ายๆ แต่ทั้งนี้ เราต้องหาตัวเลขที่ยาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลด้วยนะครับ ลองดูตามนี้
สูตรคำนวน D = ( W x S% x 2 ) + d
D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง (หน่วยเป็น มม. )
W = ความกว้างของยาง
S = ซีรี่ย์ยาง คิดเป็น % แต่ต้อง คูณ 2 เพราะต้องคิดทั้ง 2 ข้าง บนและล่าง
d = เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ
ตัวอย่างที่ 1 ขนาดยาง 195 / 55 / R15
W = 195
S = 55% ของ 195 ( 195 x 55% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 214.5 มม.
d = 15 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 15 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 381 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 214.5 + 381 = 595.5 มม.
ตัวอย่างที่ 2 ขนาดยาง 205 / 45 / R16
W = 205
S = 45% ของ 205 ( 205 x 45% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 184.5 มม.
d = 16 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 16 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 406.4 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 184.5 + 406.4 = 590.9 มม.
ดัง นั้น หากท่านใดที่จะเปลี่ยนขนาดล้อและยาง ก็ต้องคำนวณ ขนาดความสูงออกมาให้ใกล้เคียงกับขนาดยางเดิม มากที่สุด ถึงจะไม่มีผลข้างเคียงต่อการขับขี่
ด้วย หน้าที่ในการยึดเกาะถนนของยางรถยนต์ อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบกันสะเทือน ที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่ ขับรถได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยตลอดการเดินทาง ยางรถยนต์แต่ละเส้น จึงต้องได้มาตรฐาน เหมาะสมกับประเภท และการใช้งานของรถ เพราะประสิทธิภาพของยาง ขึ้นอยู่กับสภาพของยางแต่ละเส้น
ปัจจัย สำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของยางก็คือ ความดันลมยาง ถ้าความดันลมภายในยาง มากหรือน้อยกว่าที่กำหนด จะมีผลทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลง เช่น ถ้าความดัน ลมยางมากเกินไป จะมีผลทำให้ดอกยางสึก โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของหน้ายาง เพราะโครงยางจะเบ่งตัวเต็มที่ อาจทำให้ยางระเบิดได้ง่าย หากรับแรงกระแทกรุนแรง หรือของมีคม แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกินไปก็จะมีผลทำให้ไหล่ยางด้านข้างทั้งซ้าย และขวาสึก ส่วนตอนกลางของยางจะยุบตัวเข้าไปหรือที่เรามักเรียกว่า ยางแบน
การรับน้ำหนัก ถ้ารถมีน้ำหนักบรรทุกเกินอัตราส่งผลให้ยางเกิดความร้อนสูงสึกหรอเร็ว แล้วถ้าล้อใดล้อหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าล้ออื่น จะทำให้ล้อนั้น ๆ สึกหรอเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพถนนที่ขรุขระ สภาพรถเกี่ยวกับศูนย์ล้อ เช่น มุมโทอิน*, มุมโท-เอาต์* และมุมแคมเบอร์** ของรถยนต์ถ้าไม่ถูกต้องตามกำหนดของรถแต่ละรุ่น ก็จะทำให้ยางสึกหรอเร็วและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์ การขับรถด้วยความเร็วสูง หรือการหยุดที่ความเร็วสูง รวมทั้งการเบรกและออกตัว อย่างรุนแรงก็มีผลทำให้ยางสึกหรอเร็วยิ่งขึ้นอีก
การสังเกตว่ายางหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุการใช้งานหรือไม่นั้นให้ดูที่สัญลักษณ์รูปหรืออักษร Twi ที่ไหล่ยาง รอบ ๆ แก้มยาง ข้างละประมาณ 6 จุด ห่างกันประมาณ 60 องศาจากปลายมุมสามเหลี่ยม เมื่อลากเส้นผ่านหน้ายาง จากไหล่ยางด้านหนึ่งไปยังไหล่ยางอีกด้านหนึ่งภายในร่องยาง ตามแนวที่กล่าวมา จะมีเนื้อยางเป็นเส้นนูนขึ้นมา โดยเฉลี่ยจะมีความสูงจากความลึกของ ร่องยางปกติประมาณ 2 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อยางถูกใช้งานไปนาน ๆ ควรเปลี่ยนยางใหม่ เนื่องจากถ้าใช้ต่อไปอาจเกิดปัญหาทางด้านประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนและการ หยุดรถได้
การดูแลรักษา สามารถทำได้โดยหมั่นเช็กลมยางอยู่เสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงถนนหนทางที่ขรุขระ หลีกเลี่ยงการขับชนฟุตบาท นอกจากนี้ขณะออกรถไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ และออกตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติและไม่ควรจอดรถชิดจนติดกับฟุตบาท เพราะอาจทำให้โครงยางชำรุด ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ายางมีแผล และเป็นแผลชำรุดที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่
เท่านี้ก็จะช่วยให้ทั้งคุณและรถปลอดภัย และเดินทางต่อไปได้อย่างมั่นใจเต็มร้อย
การคำนวณขนาดยางรถยนต์
มีคำถาม บ่อยครั้ง ที่ท่านเจ้าของ รถยนต์ อยากที่จะเปลี่ยนล้อให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งในการเปลี่ยนล้อ สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ ขนาดของยาง จะใช้ขนาดไหนดี ? อันนี้เราขอแนะนำให้พยายามเลือก ขนาดยางใหม่ ให้มีความสูง หรือ จะเรียกแบบเป็นทางการว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง ให้มีขนาดหลังเปลี่ยนแล้ว ใกล้เคียงของเดิม ( Standard ) มากที่สุด เพราะจะได้ไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิ่งไม่ออก , กินน้ำมัน , ติดซุ้ม , ติดโช๊ค เป็นต้น
ดังนั้น เราลองมาหาขนาด ยางใหม่ โดยใช้วิธีการคำนวนง่ายๆ แต่ทั้งนี้ เราต้องหาตัวเลขที่ยาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลด้วยนะครับ ลองดูตามนี้
สูตรคำนวน D = ( W x S% x 2 ) + d
D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง (หน่วยเป็น มม. )
W = ความกว้างของยาง
S = ซีรี่ย์ยาง คิดเป็น % แต่ต้อง คูณ 2 เพราะต้องคิดทั้ง 2 ข้าง บนและล่าง
d = เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ
ตัวอย่างที่ 1 ขนาดยาง 195 / 55 / R15
W = 195
S = 55% ของ 195 ( 195 x 55% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 214.5 มม.
d = 15 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 15 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 381 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 214.5 + 381 = 595.5 มม.
ตัวอย่างที่ 2 ขนาดยาง 205 / 45 / R16
W = 205
S = 45% ของ 205 ( 205 x 45% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 184.5 มม.
d = 16 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 16 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 406.4 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 184.5 + 406.4 = 590.9 มม.
ดัง นั้น หากท่านใดที่จะเปลี่ยนขนาดล้อและยาง ก็ต้องคำนวณ ขนาดความสูงออกมาให้ใกล้เคียงกับขนาดยางเดิม มากที่สุด ถึงจะไม่มีผลข้างเคียงต่อการขับขี่
ยางรถจักรยานยนต์
มีคำถามเข้ามามากมายเกี่ยวกับเรื่องยางรถจักรยานยนต์
ว่าควรเลือกยางแบบไหน และจะพิจารณาอะไรเป็นปัจจัยสำคัญรวมถึงเทคนิคการดูแลและบำรุงรักษายางให้คง
ทนยาวนาน ซึ่งในฉบับนี้เราจะมาเริ่มต้นที่การเลือกซื้อยางก่อน โดยเมื่อจะซื้อยางมอเตอร์ไซค์
ควรเลือกขนาดยางให้พอดีกับรถและดูชนิดของยางให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้ งานด้วย
และควรพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
การรับน้ำหนัก
การรับน้ำหนัก
อย่าบรรทุกให้เกินน้ำหนักที่กำหนดไว้สำหรับยางชนิดนั้น
ๆ ทั้งควรคำนึงถึงน้ำหนักของรถมอเตอร์ไซค์น้ำหนักของอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ รวมทั้งน้ำหนักของผู้โดยสารอื่นที่นั่งซ้อนไปด้วย
ควรระลึกไว้เสมอว่ายางจะรับน้ำหนักได้น้อยลงถ้าสูบลมไว้อ่อน แต่ถ้าลมยางอ่อนก็จะทำให้รับน้ำหนักเกินกำลังไม่ได้
การใช้ความเร็วกับยางมอเตอร์ไซค์
การจะใช้ความเร็วสูงด้วยความมั่นใจก็ต้องดูด้วยว่าเป็นยางใหม่ไม่ชำรุด ดอกยางไม่สึก ลมยางสูบไว้ถูกต้อง รวมทั้งไม่บรรทุกหนักเกินไปด้วย นอกจากนี้ก็ไม่ควรใช้ความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ยางนอกไม่ต้องใช้ยางในใหม่
เมื่อใช้ยางนอกยี่ห้อใด ก็ควรใช้ยางในยี่ห้อเดียวกัน ยางในจะเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง จึงต้องพิถีพิถันคัดเลือกให้ดี เมื่อเปลี่ยนยางนอกใหม่ก็ควรเปลี่ยนยางในไปพร้อม ๆ กันเพราะยางในเส้นจะยืดไปแล้วหากนำมาใส่กับยางนอกใหม่อาจเกิดรอยพับแล้ว เสียดสีกันเอง เมื่อยางบางก็จะรั่วซึมได้ยางในดีจะพิมพ์ขนาดของยางนอกที่จะใช้ด้วยกันไว้ จึงควรเลือกใช้ให้ตรงกัน
ขนาดของล้อ
ต้องเลือกยางรถมอเตอร์ไซค์ให้พอดี กับขนาดขอบล้อรถ เช่น ใช้ยางขนาด 17 นิ้ว กับล้อรถมอเตอร์ไซค์ขนาด 17 นิ้ว การใช้ยางที่ขนาดหน้ายางงไม่ถูกต้องจะทำให้บังคับรถยากและทรงตัวไม่ดีด้วย ถ้าใส่ยางกับขอบล้อที่กว้างกว่ากำหนดหน้ายางจะแบน การขับขี่เข้าโค้งจะทำให้แก้มยางเสียดสีกับพื้นได้ง่าย
ระยะห่างของล้อ
เมื่อใส่ล้อ / ยางรถมอเตอร์ไซค์ ต้องดูระยะห่างของล้อรถกับบังโคลนและส่วนอื่น ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ด้วย เพราะยางขนาดเบอร์เดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันหือต่างรุ่นกัน อาจมีขนาดความกว้างของแก้มยางหรือดอกยางต่างกันจึงควรระวังเพราะยางอาจเสียด สีกับส่วนอื่นด้วย ถ้าจะใช้ยางขนาดใหญ่ขึ้นอาจจะต้องเปลี่ยนล้อให้มีขอบกว้างขึ้นด้วย และเมื่อใส่ยางหรือขอบล้อใหญ่ขึ้นต้องลองหมุนดูให้มีระยะห่างจากส่วนอื่น ๆ พอสมควร
การเปลี่ยนยางเก่า
อย่าลืมว่า ยางหน้าต้องเข้าคู่กับยางหลัง ตามข้อกำหนดของผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ขับขี่ได้ปลอดภัยและควบคุมรถได้ดี เมื่อจะเปลี่ยนยางหน้าควรดูดอกของล้อหลังด้วย ดอกยางใหม่ ๆ ของล้อหน้าอาจทำให้ควบคุมรถยากเมื่อใช้ร่วมกับยางหลังที่สึกไปมากแล้ว
การถ่วงล้อ
วัตถุยืดหยุ่นได้ เช่น ยางของรถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่สามารถผลิตให้ออกมาได้กลมอย่างสมดุลย์ ดังนั้นต้องถ่วงล้อ (ควรถ่วงล้อแบบล้อหมุน) หลังจากใส่ยางใหม่ทุกครั้งมีวิธีถ่วงล้ออยู่ 2 วิธี คือ แบบล้อนิ่งและแบบล้อหมุน ถ้าใช้ยางขอบกว้างเกิน 2.5 นิ้ว ข้อควรระวัง เพื่อป้องกันลมรั่วตามขอบล้อควรใช้ตะกั่วถ่วงชนิดที่ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซ ค์แนะนำ เช่น ใช้ถ่วงที่เส้นลวดซี่ล้อ ใช้ลวดตะกั่วหรือใช้ตุ้มน้ำหนักแบบแปะด้วยแถบกาว (ไม่ควรใช้น้ำยาถ่วงล้อชนิดที่ใช้ฉีดเข้าไปในล้อรถมอเตอร์ไซค์) แทนที่จะใช้แบบเสียบที่ขอบล้อ เช่น ที่ใช้ถ่วงล้อรถยนต์
การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
ควรตั้งศูนย์ถ่วงล้อทุกครั้งที่ถอดล้อหลังหรือเมื่อปรับความตึงโซ่ ถ้าตั้งศูนย์ล้อไม่ถูกต้อง เมื่อหมุนล้อไปแต่ละรอบยางสึกเร็วขึ้น ทำให้อายุการใช้งานลดลง และบังคับรถหรือทรงตัวยากขึ้น
การรัน-อิน
เมื่อใส่ยางใหม่ ๆ ควรถนอมยางสักพัก โดยไม่ขับขี่ให้เร็วมากหรือเข้าโค้งแคบด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้ยางไปสัก 160-250 กม. ยางจะปรับเข้ากับขอบล้อได้ดี จึงค่อยขับขี่ได้เต็มที่
ความดันลมยาง
สูบลมยางให้พอดีตามข้อกำหนดและควรตรวจวัดความดันลมทุกสัปดาห์ โดยวัดขณะที่ยางยังเย็นอยู่ ถ้าสูบลมแข็งเกินไปรถจะเด้งง่ายขับขี่ไม่สบายและยางสัมผัสกับถนนน้อยลง แต่ถ้าลมยางอ่อนเกินไปจะขับขี่ได้ลำบากและรถยังสะบัดได้ง่าย นอกจากนี้ลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ยางสึกเร็ว เปลืองน้ำมันความเร็วก็ต่ำกว่าที่ควรและยังควบคุมได้ยาก
ผลร้ายที่สุดจากการสูบลมยางไม่ถูกต้องตามกำหนดก็คือ ยางจะสึกเร็วกว่าปกติคุฯสมบัติของเนื้อยางที่เขานำมาผลิตล้อรถมอเตอร์ไซค์ นั้นออกแบบมาเพื่อทนความร้อนได้ระดับหนึ่ง แต่ยางที่สูบลมไม่ถูกต้องจะมีหน้ายางสัมผัสถนนไม่สมดุลย์ ทำให้ยางร้อนเกินไปและสึกหรอเร็วขึ้นกว่าปกติ นอกจากบกพร่องที่สูบยางไม่ตรงตามกำหนด การใช้ยางขนาดเล็กหรือยางที่ใช้ ได้กับความเร็วไม่พอกับการขับขี่จริงก็จะทำให้ยางร้อนและสึกหรอเร็วขึ้น
คำแนะนำทั่วไปก็คือเพิ่มแรงดันลมยางหลังขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อขับขี่ซ้อนกันสองคน เพิ่มแรงดันลมทั้งยางหลังและยางหน้าขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อจะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูงติดต่อกัน เช่น บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ควรตรวจสอบแรงดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ทุกสัปดาห์
วิธีการเลือกยางยางมอเตอร์ไซค์
ในขณะที่คุณก้าวขึ้นไปนั่งบนรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจของคุณ
และขับมันออกไป คุณเคยคิดหรือไม่ว่าล้อและยางที่ใช้ขับเคลื่อนและทรงตัวเพื่อไปให้ถึงจุด
หมายปลายทาง มีสภาพที่ดีเหมาะสมพร้อมใช้งานหรือเปล่า ดังนั้นเราควรเลือกใช้ยางให้พอดีกับรถมอเตอร์ไซค์และเหมาะสมกับการใช้งานของ
รถมอเตอร์ไซค์ของคุณ ซึ่งสิ่งที่ควรพิจารณามีดังนี้
ขนาดของยางที่ควรเลือกใช้
ควรเลือกใช้ยางขนาดเดิมที่ได้รับการ
ประกอบมาจากโรงานผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ เพราะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ ได้ออกแบบขนาดยางให้เหมาะสมกับขนาดของรถมอเตอร์ไซด์แต่ละรุ่น
ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสมรรถนะที่เหมาะสม
หากมีความต้องการจะเปลี่ยนขนาดยาง ก็อาจจะเปลี่ยนได้บ้าง
แต่ควรจะต้องคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยาง และขนาดวงล้อ เช่น
ยางที่ติดรถมาเป็นขนาด 70/90-17 เราอาจจะสามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17
หรือ 70/100-17 ได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17
เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางจาก 70
ไปเป็นขนาดอื่น
ความกว้างของวงล้อ
ควรใช้ขนาดความกว้างวงล้อให้เหมาะสมกับ
ขนาดของยาง การใช้วงล้อที่แคบเกินไป หรือกว้างเกินไปจะส่งผลให้ยางไม่อยู่ในรูปทรงที่ออกแบบไว้
ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะในการขับขี่
การรับน้ำหนักของยาง
ยางแต่ละเส้นจะมีระบุไว้ว่าสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไร
ซึ่งหมายรวมถึงน้ำหนักตัวรถและน้ำหนักตัวผู้ขับขี่และน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด
การระบุความสามารถในการรับน้ำหนักจะระบุ ไว้เป็น
ดัชนีการรับน้ำหนัก ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในตารางดัชนีการรับน้ำหนัก (Load
Index)
การเติมลมยาง
ความดันลมยางควรตรวจลมยางให้พอดีกับ
น้ำหนักและข้อกำหนดที่บอกไว้กับยางมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ และควรตรวจวัดความดันลมทุกครั้งที่ออกเดินทางไกล
หรือตรวจความดันลมยางทุกสัปดาห์ การตรวจวัดลมยางควรทำขณะที่ยางยังเย็นอยู่ เพราะถ้าทำขณะที่ยางมีความร้อนอากาศภายในยางจะขยายตัวทำให้ค่าผิดเพี้ยนไป
ถ้าความดันลมยางมากเกิน หน้ายางจะสัมผัสกับถนนได้น้อย ทำให้มีการสะเทือนของล้อมากกว่าปกติ
และทำให้การยึดเกาะถนนน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกิน ยางจะแบนหน้ายางจะสัมผัสกับพื้นถนนมากยางจะสึกหรอเร็วและเปลืองน้ำมันมาก
ขึ้น การเติมลมยางที่พอดีตามข้อกำหนด จะทำให้ขับขี่ปลอดภัยและช่วยยืดอายุของยางให้ใช้งานได้นานขึ้น
ควรเปลี่ยนยางเมื่อไหร่
คำถามที่มักพบบ่อยคือเมื่อไหร่ควรจะ
เปลี่ยนยาง บางครั้งเราอาจจะรอให้ยางสึกจนหมดไม่เห็นลายดอกยางแล้ว จึงคิดถึงการเปลี่ยนยางเส้นใหม่
แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้
ยางทุกเส้นจะมีจุดบ่งบอกว่าควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้แล้ว บนยางทุกเส้นจะมีตำแน่ง TWI
ซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ง่ายบนแก้มยาง ณ ตำแน่งที่มีระบุ TWI
อยู่ เมื่อมองลงไปในลายดอกยางแล้วเราจะเห็นว่า จะมียางนูนขึ้นมามากกว่าตำแน่งทั่วไป
เมื่อไหร่ก็ตามที่ยางสึกจนถึงตำแหน่งยางที่นูนขึ้นมาแล้ว ก็ควรจะเปลี่ยนยางเส้นใหม่
ทุกครั้งที่เปลี่ยนยางนอกควรเปลี่ยนยางใน ไปพร้อมกันด้วย
เพราะถ้ายางในยืดไปนานแล้ว เมื่อนำมาใส่กับยางนอกใหม่ อาจเกิดรอยพับที่ยางใน
และจะทำให้เกิดการเสียดสีกันทำให้รั่วซึมได้
หลายๆ ท่าน อาจเลือกใช้ยางโดยคำนึงเพียงเรื่องราคาถูก หรือ ความสวยงามหรือตามกระแสนิยมของวัยรุ่นซึ่งบางทีอาจจะไม่เหมาะกับรถ
มอเตอร์ไซด์ของท่าน สิ่งที่ตามมาก็คืออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ท่านอาจลืมสิ่งสำคัญไปว่ายางเป็น ปัจจัยสำคัญกับความปลอดภัยของชีวิตท่าน ดังนั้นเลือกใช้ยางที่ดีมีคุณภาพเพื่อความปลอดภัยของท่านในวันนี้