ท่องเที่ยว บันเทิง สาระความรู้

วิถีชีวิตประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ



วิถีชีวิตประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ

1. ความหมายหลักการของวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                1.1 ความหมาย วิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึงแนวทางการดำรงชีวิตประจำวันและการดำรงตนในสังคมของประชาชนในประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแนวทางการดำรงชีวิตประจำวัน หมายถึง การที่ประชาชนนำเอาหลักการและความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยมาประพฤติปฏิบัติตน ทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน ในชุมชน ตลอดจนการประกอบอาชีพและการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาความเจริญของชุมชน
                การดำรงตนในสังคมของประชาชน หมายถึง การที่ประชาชนประพฤติตนสอดคล้องกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดและเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองในระดับต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อการปกครองในระบอบนี้อย่างแท้จริง พร้อมที่จะให้ความ
สนับสนุนร่วมมือเท่าที่จะสามารถกระทำได้
                1.2 หลักการของวิถีชีวิตประชาธิปไตย การดำเนินวิถีชีวิตประชาธิปไตยนั้น จะต้อง
ยึดถือหลักการ ดังนี้
                                1.2.1 การรู้จักใช้เหตุผล การตัดสินใจจะทำอะไรนั้นต้องยึดหลักเหตุผลมากกว่าที่จะใช้
ความรู้สึกหรืออารมณ์ส่วนตัว จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เกิดความเรียบร้อยและเจริญ
ก้าวหน้า
                ผู้ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างมีเหตุผลนั้นจะประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
                                (1) มีความคิดกว้างไกล รับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าใจความ
ต้องการจำเป็นของผู้อื่น
                                (2) มีใจอดทน ไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ตัดสินปัญหา
                                (3) ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา หมายถึง การมองปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
ใคร่ครวญถึงสาเหตุของปัญหา และพิจารณาหาทางแก้ไขอย่างมีสติ ไม่ใช่อารมณ์ หรือความเชื่องมงาย
หรือเชื่อฟังคำยุยงของผู้อื่นโดยปราศจากการไตร่ตรอง
                                1.2.2 ใช้หลักความสมัครใจ ระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่อาศัย
ความสมัครใจร่วมกันของคนส่วนใหญ่มากกว่าที่จะใช้การบังคับ ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็เช่นกัน
การที่จะให้ใครปฏิบัติอย่างไรนั้น ควรชี้ถึงเหตุผลความจำเป็นให้เข้าใจและสมัครใจที่จะทำมากกว่าที่จะ
บังคับ ซึ่งการยึดหลักความสมัครใจจะมีประโยชน์ ดังนี้
                                (1) เป็นการยอมรับในความมีเหตุผลและมีสิทธิที่จะเลือกกระทำหรือไม่ทำอะไร
                                (2) ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติ การสนับสนุนต่าง ๆ อย่างเต็มใจและได้ผล
ที่ดีกว่าการบังคับ
                                (3) ขจัดข้อขัดแย้ง การต่อต้านต่าง ๆ ให้หมดไปได้

                                1.2.3 มีน้ำใจนักกีฬา หมายถึง การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญในการ
ดำเนินวิถีชีวิตประชาธิปไตย เนื่องจากตามหลักประชาธิปไตยนั้น การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ จะต้อง
กระทำตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็หมายความว่า ในเรื่องที่มีผู้ที่มีความเห็น
แตกต่างกันแล้วย่อมมีฝ่ายหนึ่งที่สมหวังและอีกฝ่ายหนึ่งที่ผิดหวัง ฝ่ายที่สมหวังหรือฝ่ายข้างมากนั้นก็ต้อง
ไม่เยาะเย้ยถากถางอีกฝ่ายหนึ่ง แต่จะต้องให้ความเห็นใจ และพร้อมที่จะรับฟังปัญหาของอีกฝ่าย
เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ไขในโอกาสต่อไป ในขณะเดียวกันฝ่ายที่ไม่สมหวัง ก็ต้องยอมรับในความเห็นของ
คนส่วนใหญ่และพร้อมที่จะให้ความสนับสนุนร่วมมือ
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมองข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่อาจจะมีขึ้น ว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ไม่ผูกใจเจ็บหรือเก็บมาเป็นอารมณ์ครุ่นคิดว่าเป็นเรื่องที่เสียหน้า เสียศักดิ์ศรี
                                1.2.4 ปฏิบัติตามกฎหมาย ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือว่ากฎหมาย
ที่บังคับใช้อยู่ เป็นกฎหมายที่คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ เพราะหากคนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบกับกฎหมาย
ใด ๆ ก็สามารถที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น ๆ โดยอาศัยกลไกทางการเมืองการปกครองต่าง ๆ
ได้ ดังนั้น ทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                                1.2.5 ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งแสดงออกโดย
                                                (1) การปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน
                                                (2) ให้ความสำคัญต่อทุกคน ในการที่จะรับฟังความเห็นความต้องการของเขา
                                                (3) ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีความเป็นกลางในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ โดยไม่นำ
ความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้ในการพิจารณาปัญหาของส่วนรวม

2. การดำรงตนในสังคมประชาธิปไตย
                2.1 การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
การที่จะทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างมั่นคงและเกิดประโยชน์
สุขต่อส่วนรวมนั้นประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
ตั้งแต่ระดับชุมชน / หมู่บ้าน / ตำบล ไปจนถึงระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถมีส่วนร่วมได้ใน
ลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                                2.1.1 การใช้สิทธิในการเลือกตัวแทนในระดับต่าง ๆ
                                2.1.2 การลงสมัครรับเลือกตั้งและเข้าร่วมดำรงตำแหน่งทางการเมืองการปกครองใน
ระดับต่าง ๆ
                                2.1.3 การแสดงความเห็นสนับสนุน คัดค้าน หรือเสนอแนะต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและ
มีใจเป็นธรรม
                                2.1.4 การให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนรวม ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยส่วนรวม
               
                2.2 ยอมรับในเสียงข้างมากและเคารพในเสียงข้างน้อย
                เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือว่าทุกคนมีอำนาจในการปกครอง
โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น การตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ จึงต้องทำตามความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือตามเสียงข้างมาก ซึ่งฝ่ายข้างน้อยต้องให้การยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจแต่ในขณะเดียวกัน
ฝ่ายข้างมากก็ต้องยอมรับฟังเหตุผล ความจำเป็นของฝ่ายข้างน้อยและไม่ละเลยประโยชน์หรือความจำเป็น
ของฝ่ายข้างน้อยที่ควรจะได้รับการตอบสนอง ซึ่งในบางครั้งฝ่ายข้างมากอาจต้องยอมสละประโยชน์ของตน
หากเห็นว่าความต้องการของฝ่ายข้างน้อยเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
                2.3 การเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
                จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชน สังคม ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ไม่
มุ่งมั่นเฉพาะผลประโยชน์ส่วนตัวโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เช่น ไม่สร้างความร่ำรวยด้วยการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดต่อ
กฎหมายของบ้านเมือง
                2.4 การมีวินัย วินัยเป็นสิ่งสำคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือหลักการ
ปกครองตนเอง เพราะหากคนในชาติไม่มีวินัยแล้ว ก็แสดงว่าไม่สามารถควบคุมบังคับตนเองให้อยู่ในกรอบ
กติกาที่ตนและผู้อื่นร่วมกันกำหนดขึ้นได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะใช้สิทธิในการปกครองตนเองได้เช่นกัน
ซึ่งการมีวินัยนั้น จะต้องถือปฏิบัติ ดังนี้
                                2.4.1 ไม่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม
                                2.4.2 ซื่อตรงต่อหน้าที่ของตน
                                2.4.3 ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม
                                2.4.4 ปฏิบัติตามประเพณีอันดีงามของสังคม
                2.5 มีความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นและพฤติกรรมที่แตกต่าง
เนื่องจากในสังคมประชาธิปไตยได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในสังคมทุกคนอย่าง
เสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะมีความเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมี
ความอดกลั้นต่อความคิดเห็นและพฤติกรรมที่แตกต่างจากตน ดังคำขวัญที่ว่า แตกต่างได้ แต่ไม่
แตกแยก โดยจะต้องเคารพในความคิดของผู้อื่น ตราบใดที่ความคิดและพฤติกรรมนั้นไม่ละเมิดต่อ
กฎหมายของบ้านเมือง

3. การดำรงตนในชีวิตประจำวัน
                การดำรงตนในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยนั้น ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติ
ดังนี้
                3.1 การส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                                3.1.1 การส่งเสริมประชาธิปไตยในครอบครัว โดย
                                                (1) สมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่ปรองดองกัน
                                                (2) เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ในฐานะที่เป็นผู้ที่ประสบการณ์ และเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อครอบครัว
                                                (3) พ่อแม่ยอมรับฟังความเห็น ความต้องการของลูก
                                                (4) ตัดสินปัญหาต่าง ๆ โดยใช้เหตุผลมากกว่าที่จะใช้อารมณ์
                                                (5) ปรึกษาหารือกันในเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้นั้น
                                                (6) พ่อแม่ลูกรู้จักหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความ
รับผิดชอบ เต็มใจ
                                3.1.2 การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน โดย
                                                (1) สอนให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
                                                (2) กระตุ้นและเปิดโอกาสให้นักเรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ
                                                (3) ฝึกหัดให้นักเรียนยอมรับฟังความเห็นและเหตุผลของผู้อื่น
                                                (4) พยายามโน้มน้าวใจให้นักเรียนเข้าใจถึงเหตุผลในกฎระเบียบต่าง ๆ
มากกว่าที่จะใช้อำนาจบังคับแต่เพียงอย่างเดียว
                                                (5) พยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออก และมี
ความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม
                                                (6) ฝึกหัดให้นักเรียนยอมรับในข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มและปฏิบัติตามหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมาย
                                3.1.3 การส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน โดย
                                                (1) ร่วมในการประชุมหรือกิจกรรมของชุมชนอย่างเต็มใจ
                                                (2) รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และไม่ถือโทษโกรธเคืองกันแม้จะมีความเห็น
ขัดแย้งกัน
                                                (3) ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
(4) มีการปรึกษาหารือกันในขณะทำงาน
                                                (5) ร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ มากกว่าที่จะคอยซ้ำเติม
                                                (6) เคารพกฎระเบียบของชุมชนและกฎหมาย
                                                (7) ติดตามข่าวสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ
                                                (8) ตัดสินปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ไม่ควร
รีบร้อนให้มีการลงมติ





ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต
             ตามหลักการศึกษาเพื่อชีวิต และสังคม ถือว่ากระบวนการจัดการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเพียงเพื่อให้ผุ้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพื่อเตรียมการสำหรับนำไปใช้ในชีวิตอนาคตเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ดำเนินชีวิตจริงไปพร้อมกับการเรียนด้วย เพราะเราไม่แน่ใจว่าความรู้ที่เรียนในปัจจุบันอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้าจะยังคงทันสมัยใช้การได้เหมือนเดิมหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยไม่ต้องรอให้เป็นผู้ใหญ่เสียก่อน
                การเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนก็เช่นกัน คงมิใช่เพียงแค่สอนให้นักเรียนเรียนรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร แต่ควรปลูกฝังให้เกิดในวิถีชีวิตของนักเรียนด้วยการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน โดยใช้หลักประชาธิปไตย ทั้งหลักสิทธิเสรีภาพ หลักเหตุผล หลักความเสมอภาค หลักการยึดถือเสียงข้างมาก และหลัก
ภราดรภาพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิตทุกขณะจิต อย่างเป็นธรรมชาติ จึงจะสามารถหล่อหลอมกล่อมเกลาให้นักเรียนมีจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แนวทางการสร้างเสริม
 การสร้างเสริมประชาธิปไตยในวิถีชีวิตให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ควรกระทำพร้อมกันทุกจุด คือ
                1.การจัดองค์กรบริหารให้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย แม้ผู้บริหารโรงเรียนจะมีอำนาจสั่งการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาก็ตาม แต่ก็ควรใช้บทบาทในฐานะผู้จัดการและผู้ร่วมงานที่เปิดโอกาสและคอยกระตุ้นให้บุคลากรได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาและร่วมรับผิดชอบด้วย การจัดองค์กรใน
โรงเรียนก็ควรมีลักษณะที่ยืดหยุ่น กระจายงาน มอบหมายงานให้บุคลากรได้ทำงานตามความรู้ความสามารถทั้งในรูปคณะกรรมการ คณะทำงาน หรือกลุ่ม เป็นต้น
                2. การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตย หลักสูตรทุกฉบับทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ก็กำหนดจุดหมาย หลักการและโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้วเพียงแต่โรงเรียนใช้ศิลปะในการบริหารหลักสูตรโดยแปลงหลักสูตรแต่ละรายวิชาไปสู่การสอนให้บรรลุผลก็จะสร้างเสริมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ โดยมิได้มุ่งแต่สอนเนื้อหาความรู้อย่างเดียว แต่พยายามจัดกิจกรรม โดยยึดนักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา และสอนโดยใช้ กระบวนการ ที่เหมาะสมตามที่หลักสูตรมุ่งหวังอย่างจริงจัง โดยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการสร้างความตระหนัก  วิเคราะห์ทางเลือก กำหนดทางเลือก เลือกทางเลือกที่เหมาะสม ลงมือปฏิบัติ ประเมินผลการปฏิบัติ ปรับปรุงและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
                3. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย   กิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนมีมากมายหลายกิจกรรม ทั้งกิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการกิจกรรมคณะกรรมการนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญ และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ กิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยที่เห็นเด่นชัดและอยากเสนอแนะให้โรงเรียนดำเนิน
การอย่างจริงจัง คือกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนประกอบอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยให้นักเรียนได้รวมกลุ่มทำโครงการ และดำเนินงานจนครบกระบวนการ นำความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการใช้ในการทำกิจกรรมอย่างกลมกลืน กิจกรรมดังกล่าว นอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ อันเป็นการเสริมสร้างเยาวชนให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อชาติบ้านเมืองทางหนึ่งด้วย
                4. การจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เป็นประชาธิปไตย บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่สะอาด สดชื่น ร่มรื่น สวยงาม ที่เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นโดยนักเรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน จะเป็นครูที่พูดไม่ได้ที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างความรู้สึกนึกคิดและจิตใจที่เป็น
ประชาธิปไตยแก่บุคลากรในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี   
                หากโรงเรียนสามารถสร้างเสริมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ทั้ง 4 จุดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ก็น่าจะทำให้นักเรียน ครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ซึมซับบรรยากาศประชาธิปไตยในวิถีชีวิตและติดตราตรึงใจ เป็นนิสัยที่ถาวร เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งในสังคมประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

พลเมืองเรื่องดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
ความหมายของ พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้
                “พลเมือง”  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน
                “วิถี”  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน
                “ประชาธิปไตย”  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
                ดังนั้นคำว่า พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย”  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่
                1)  หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
                2) หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
                3) หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
                4) หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
                5) หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัวประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี
                6) หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
                หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมได้
แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1)      ด้านสังคม  ได้แก่
                (1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
                (2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
                (3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
                (4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
                (5)    การเคารพระเบียบของสังคม
                (6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่
                (1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว
                (2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
                (3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
                (4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
                (5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
                (6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
                (1)    การเคารพกฎหมาย
                (2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
                (3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
                (4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
                (5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
      หรือสมาชิกวุฒิสภา
                (6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา





จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
                คุณธรรม  จริยธรรม  หมายถึง  ความดีที่ควรประพฤติ  กิริยาที่ควรประพฤติ  คุณธรรม  จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็น
พลเมืองดี  ได้แก่
                1)      ความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  หมายถึง  การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทยการยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา  และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
                2)      ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง  การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
                3)      ความกล้าทางจริยธรรม  หมายถึง  ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
                4)      ความรับผิดชอบ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
                5)      การเสียสละ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
                6)      การตรงต่อเวลา  หมายถึง  การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี            
                การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว  ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย  โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
                1.  การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย  โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนาและหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
                2. เผยแพร่  อบรม  หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว  เพื่อนบ้าน คนในสังคม  ให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
                3.  สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย  โดยการบอกเล่า  เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน
                4.  ชักชวน  หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรม
สาธารณประโยชน์ของชุมชน
                5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี  และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม
การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย  ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อ
ให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

เรื่องการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก
                การที่บุคคลจะเป็นสมาชกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก  จะต้องคำนึงถึงสถานภาพ  บทบาท  สิทธิ  เสรีภาพ และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
ความหมายของสถานภาพ  บทบาท  สิทธิ  เสรีภาพ  และหน้าที่
                1)      สถานภาพ  หมายถึง  ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม  แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น  ลูก  หลาน  คนไทย เป็นต้น  และสถานภาพทางสังคม  เช่น  ครู  นักเรียน  แพทย์  เป็นต้น
                2)      บทบาท  หมายถึง  การปฏิบัติตามสิทธิ  หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล  เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว  ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
                3)      สิทธิ   หมายถึง  อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง  เช่น  สิทธิเลือกตั้งกฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                4)      เสรีภาพ    หมายถึง  ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย  เช่น  เสรีภาพในการพูด การเขียน  เป็นต้น
                5)      หน้าที่  หมายถึง  ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น  หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร  เป็นต้นความสอดคล้องของสถานภาพและบทบาทของบุคคลในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                สถานภาพและบทบาทของบุคคลที่สอดคล้องกัน เช่น
1)      พ่อ  แม่  ควรมีบทบาทดังนี้
                (1)    รับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว
                (2)    ให้การศึกษาต่อสมาชิกของครอบครัว
                (3)    จัดสรรงบประมาณของครอบครัวให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของสังคมและโลก
                (4)    ครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีความรักต่อบุตร
2)      ครู อาจารย์  ควรมีบทบาท  ดังนี้
                (1)    ถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์โดยกระบวนการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน
                (2)    ครองตนให้เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
                (3)    เป็นผู้เสียสละทั้งเวลาและอดทนในการสั่งสอนศิษย์ทั้งด้านความประพฤติและการศึกษา
                (4)    ยึดมั่นในระเบียบวินัย  ตลอดจนปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู
3)      นักเรียน  ควรมีบทบาท  ดังนี้
                (1)    ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบของโรงเรียน
                (2)    รับผิดชอบต่อหน้าที่ในการศึกษาหาความรู้
                (3)    ให้ความเคารพต่อบุคคลที่อาวุโสโดยมีมารยาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์
                (4)    รับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างมีเหตุผล
                (5)    ขยันหมั่นเพียรในการแสดงหาความรู้เพิ่มเติม
                (6)    เสริมสร้างความสามัคคีในครอบครัว  โรงเรียน  และชุมชน