อาหารหลัก 5 หมู่
อาหาร หมายถึง เนื้อสัตว์ พืช ผัก
ผลไม้ ไข่ ปลา และอื่น ๆ
ที่เราใช้รับประทานเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกายให้มี
ชีวิตอยู่ให้คุณประโยชน์ไม่มีโทษต่อร่างกายในวันหนึ่งๆ
มนุษย์ต้องรับประทานอาหารถึง 3 มื้อ
อาหารที่เรารับประทานทุกวัน จะประกอบด้วยอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ข้าว หมู
ไก่ ปลา น้ำมัน ผัก ผลไม้ และขนมหวาน
ในหนึ่งวันเราควรบริโภคอาหารเหล่านี้มากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับ เพศ วัย
และความต้องการทางร่างกายของแต่ละบุคคล
อาหารประเภทต่าง ๆ
ที่รับประทานในแต่ละวัน จำแนกออกได้เป็นหมู่ใหญ่ ๆ คือ
หมู่ที่ 1
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง
น้ำตาล เผือก มัน และน้ำตาล
หมู่ที่ 3 ผักใบเขียว
และพืชผักอื่น ๆ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช
อาหารหมู่ที่
1
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม
อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น
เนื้อวัว หมู นก เป็ด ไก่ ปลา ฯลฯ ไข่ รวมถึง ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา นม เช่น
นมวัว นมแพะและนมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง
อาหารหมู่นี้เป็นอาหารสำคัญต่อสุขภาพเพราะช่วยสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
ให้สารอาหารที่สำคัญ คือโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน นอกจากเนื้อสัตว์ นม
ไข่แล้ว อาหารที่ให้โปรตีนอีกอย่าง คือ ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้
นมถั่วเหลืองหรือถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง เป็นต้น
อาหารหมู่ที่
2
ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และน้ำตาล
คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก คือ
ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว
โดยเฉพาะคนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมบริโภคข้าวเหนียว อาหารพวกข้าว แป้ง เผือก มันและน้ำตาล
เป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตเมื่อบริโภคจะให้พลังงาน
อาหารหมู่ที่
3
ผักใบเขียวและพืชผักอื่น ๆ
ประเทศไทยมีผักอุดมสมบูรณ์ทุกฤดูกาลสามารถปลูกได้ตลอดปีเพราะดินฟ้าอากาศอำนวยผักใบเขียวต่าง
ๆเช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง
ฯลฯ ผักจะให้สารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่
และที่สำคัญผักยังมีประโยชน์ในด้านการขับถ่าย เพราะกากของผักช่วยการระบายท้องได้ดี
อาหารหมู่ที่
4
ผลไม้ต่าง ๆ
ผลไม้ในเมืองไทยอุดมสมบูรณ์
มีรสชาติอร่อยและมีรับประทานตลอดทุกฤดูกาล หมุนเวียนกันไป
คุณค่าอาหารของผลไม้นั้นคล้ายคลึงกับผัก
คือมีวิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ มากมาย แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าผัก
ผลไม้แทบทุกชนิดจะให้วิตามินซีสูง และผลไม้ที่สุกแล้วมีสีเหลืองจะให้วิตามินเอสูง
เช่น มะละกอ มะม่วงสุก ฯลฯ
ผลไม้ยังช่วยระบายท้องทำให้ระบบขับถ่ายดี
อาหารหมู่ที่
5
ไขมันจากสัตว์และพืช
อาหารไขมัน น้ำมัน
ผู้รับประทานได้จากไขมันสัตว์และพืช อาหารหมู่นี้จะให้พลังงานเป็นหลัก
ถ้าหากจะใช้พลังงานก็ต้องรับประทานอาหารพวกไขมัน
น้ำมันจากสัตว์และพืชให้เพียงพอ และยังทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น
ไม่แห้งแต่ควรรับประทานให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
เพราะถ้าบริโภคเกินความจำเป็นก็จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ภายในร่างกาย
สุขบัญญัติ
10 ประการ มีดังนี้
1.ดูแลรักษาและของใช้ให้สะอาด
2.รักษาฟันให้แข็งแรง
และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
3.ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย
และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
5.งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน
และการสำส่อนทางเพศ
6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
และตรวจสุขภาพประจำปี
9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส่อยู่เสมอ
10.มีสำนึกต่อส่วนรวม
รวมสร้างสรรค์สังคม
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากเราได้ฝึกฝนและปฏิบัติตามสุขบัญญัติ
10 ประการอย่างต่อเนื่องจนเป็นสุขนิสัยแล้ว
จะช่วยนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตามที่พึงปรารถนา
สารอาหารคืออะไร
สารอาหาร
คือ “ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ
ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ” ร่างกายเราต้องการสารอาหารกว่า
40 ชนิด และเพื่อให้ง่ายอีกเช่นกัน
เราจึงจัดเป็นสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่
สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต , โปรตีน , ไขมัน
, วิตามิน , เกลือแร่ , และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน
สารอาหารคาร์โบไฮเดรท
ทำหน้าที่เป็นสารตัวแรกที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน
สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้พลังงานแก่ร่างกาย
หากร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะสลายสารไขมันมาใช้เป็นพลังงาน
หากไขมันไม่พอจะสลายสารโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน
แต่การที่ปฏิกิริยาทางเคมีจะสลายเอาโปรตีนภายในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานได้ก็ต่อเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันอย่างรุ่นแรง
ถ้ามีสารนี้มากเกินไป ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน สำหรับอาหารที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรทคืออาหารหมู่
2
สารอาหารโปรตีน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือกล่าวง่ายๆ คือ
เป็นสารตั้งต้นของการเสริมสร้างอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็น เนื้อเยื่อ
กล้ามเนื้อ เลือด ฮอร์โมน น้ำย่อย สารอาหารโปรตีนจะเป็นตัวทำหน้าที่โดยตรง
หรือเมื่อมีบาดแผลร่างกายจะใช้สารโปรตีนซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม
หากร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน ร่างกายจะไม่สามารถใช้สารอาหารตัวอื่นๆ
เข้ามาทำหน้าที่ทดแทนได้ สารอาหารโปรตีนจึงมีความสำคัญต่อวัยที่กำลังเจริญเติบโต
และหญิงมีครรภ์ ส่วนวัยมีการเจริญเติบโตไปแล้ว ความต้องการโปรตีนของร่างกายจะลดลง
แต่ร่างกายยังมีความต้องการเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ
อาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนคืออาหารหมู่ 1
สารอาหารไขมัน
สารอาหารชนิดนี้แม้จะให้พลังงานได้มากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนก็ตาม
แต่ไม่ใช่หน้าที่เด่นเฉพาะตัว
ร่างกายไม่ได้ใช้สารไขมันเป็นตัวแรกในการนำไปสร้างพลังงาน หน้าที่เด่นของไขมันคือ
ทำหน้าที่เป็นพาหะ หรือเคลื่อนย้าย หรือขนส่ง สารที่ละลายในไขมัน ไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย เช่น ขนส่งหรือเคลื่อนย้าย วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ
วิตามินเค ไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับไขมัน
วิตามินเหล่านี้ก็จะไม่ถูกขนส่ง ส่งผลให้เกิดโรคขาดวิตามินดังกล่าว
นอกจากนี้ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินดังกล่าวในระบบทางเดินอาหาร
ไขมันทำให้เรารู้สึกอิ่มได้นาน
สารอาหารไขมันจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าสารอาหารตัวอื่นๆ
และหากมีมากจะสะสมในอยู่ในร่างกาย อาหารที่ให้สารอาหารไขมันคืออาหารหมู่ 5
สารอาหารวิตามิน
แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ สารอาหารวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และกลุ่มวิตามินบีรวม
( วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 หรือวิตามินบี 12) ส่วนอีกกลุ่มคือ
สารอาหารวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ
วิตามินเค หน้าที่เด่นเฉพาะของวิตามินคือ ทำหน้าที่ร่วมกับน้ำย่อยหรือเอนไซม์
ในกระบวนการใช้สารอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
สารอาหารวิตามินแต่ละตัวมีหน้าที่เด่นเฉพาะ
เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี
ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ภายในเซลล์เกิดการออกซิไดซ์จากอนุมูลอิสระ หรือกล่าวง่ายๆ
คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารวิตามินเค จะทำหน้าที่เป็นสารช่วยในการแข็งตัวของเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น
ส่วนที่กล่าวว่าสารอาหารวิตามินทำหน้าที่ป้องกันโรคนั้น เป็นผลทางอ้อม
ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ดังจะเห็นได้จาก การไม่กินอาหารที่มีวิตามินบี 1
เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งร่างกายเกิดอาการของโรคเหน็บชา หรือในกรณีที่ไม่กินอาหารที่มีวิตามินซีเป็นเวลานาน
จนกระทั่งมีเลือดออกตามไรฟัน นั่นคือผลจากการขาดวิตามินซี
ดังนั้นควรกินอาหารที่มีสารอาหารวิตามินอย่างเพียงพอต่อความต้องการ
จึงจะไม่ปรากฏอาการของโรค
ร่างกายมีความสามารถในการสะสมวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ใช้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง
ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ
หากร่างกายได้รับเกินความต้องการจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ
อย่างไรก็ตามหากร่างกายได้รับวิตามินมากเกินความต้องการจะเกิดผลเสียเช่นกัน
เพราะร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารวิตามินในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย
แต่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ถ้าปราศจากสารอาหารวิตามิน
ดังนั้นสารอาหารวิตามินจึงมีความสำคัญอีกเช่นกัน
อาหารที่ให้สารอาหารวิตามินคืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4
สารอาหารเกลือแร่
ลักษณะหน้าที่เด่นเฉพาะของสารอาหารนี้คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเสริม , ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม
, และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์
ตัวอย่างเช่น เกลือแร่แคลเซียม
และฟอสฟอรัสเป็นสารที่ร่างกายต้องใช้สร้างกระดูกและฟัน
เกลือแร่บางตัวทำให้เกิดความสมดุลของความเป็นกรดและด่างภายในร่างกาย
บางตัวเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด บางตัวก็มีส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
สารอาหารเกลือแร่มีอยู่ประมาณ
21 ชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากคือ แคลเซียม
ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก , ฟัน , กล้ามเนื้อ , และในระบบเลือด
เกลือแร่ประเภทอื่นที่ร่างกายต้องการนอกเหนือจากแคลเซียม ได้แก่ โซเดียม , โพแทสเซียม , ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม
, คลอไรท์ , เหล็ก , ไอโอดีน , ทองแดง , สังกะสี ,
ฟลูออไรท์ เป็นต้น แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน
ถ้าขาดก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดเกลือแร่ไม่ได้
อาหารที่ให้สารอาหารเกลือแร่คืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4
สารอาหารน้ำ
น้ำแตกต่างจากสารอาหารตัวอื่นคือ น้ำเป็นทั้งสารอาหารและอาหาร
น้ำทำหน้าที่เด่นเฉพาะคือ เป็นตัวทำให้เกิดการละลายและนำสารต่างๆ
ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
และขณะเดียวกันของเสียบางส่วนในเซลล์ที่สามารถละลายในน้ำได้จะถูกทำละลายและขับออกพร้อมกับปัสสาวะ
ในร่างกายมีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ส่วน กระจายอยู่ในส่วนประกอบต่างๆ
หากเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 10
ไตจะทำงานผิดปกติ และถ้าสูญเสียน้ำไปประมาณร้อยละ 20
อาจจะทำตายได้เนื่องจากสภาวะขาดน้ำ น้ำจึงเป็นสารอาหารและอาหารที่สำคัญ
เราอาจอดอาหารประเภทอื่นๆ ได้เป็นเดือน แต่ขาดน้ำไม่ถึง 2
หรือ 3 วันก็อาจจะเสียชีวิตได้
อาหารหมู่ที่
1
อาหารหมู่ที่
1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ อาหารหมู่นี้ส่วนใหญ่จะให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ
ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค
นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ
หรือจากการเจ็บป่วย
อาหารหมู่นี้จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง
น้ำย่อย ฮอร์โมน
ตลอด จนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่าง กายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
ตลอด จนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่าง กายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
อาหารในหมู่นี้
ได้แก่ นม ไข่ เนื้อ หมู วัว ตับ ปลา ไก่ และถั่วต่าง ๆ
เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
ประโยชน์
-
ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค
-
ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย อันได้แก่แผลต่างๆ
หรือจากการเจ็บป่วย
-
จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง น้ำย่อย
ฮอร์โมน ตลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ
สรุป คือ เจริญเติบโต ซ่อมแซม สร้าง
โปรตีน
เป็นส่วนประกอบหลักของทุก ๆเซลล์ในร่างกาย
จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต
และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ