ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร
ประโยค คือ คำหลาย ๆ คำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ลำคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไรในสื่อการเรียนรู้นี้ เราจะมาทำความรู้จักกับประโยคให้มากขึ้น โดยมีเนื้อหาดังนี้
ประโยคหนึ่ง
ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้
ดังแผนโครงสร้างต่อไปนี้
๑) ภาคประธาน
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาปาระกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาปาระกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น
๒) ภาคแสดง
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรม และส่วนเติมเต็ม บทกริยาทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช่กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรม และส่วนเติมเต็ม บทกริยาทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช่กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ประโยคในภาษาแบ่งเป็น
๓ ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้
๑) ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประธานเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว
หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
ตัวอย่างโครงสร้างประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
|
ภาคประธาน
|
ภาคแสดง
|
||||
ประธาน
|
ขยายประธาน
|
กริยา
|
กรรม
|
บทขยายกริยา
|
บทขยายกรรม
|
|
๑. เด็กๆ คุย
๒. เด็กๆ ชั้นอนุบาล คุยเสียงดัง ๓. มาลีแต่งกลอน ๔. มาลีนักเรียนชั้น ม.๓ แต่งกลอนสุภาพเก่ง ๕. คนแก่ข้ามถนนไม่ได้ ๖. คนขยันทำงาน ต่างๆ เร็ว |
เด็กๆ
เด็กๆ
มาลี
มาลี
คน
คน |
-
ชั้นอนุบาล
-
นักเรียนชั้น ม.๓ แก่ ขยัน |
คุย
คุย
แต่ง
แต่ง
ข้าม
ทำ |
-
-
กลอน
กลอน
ถนน
งาน |
-
เสียงดัง
-
เก่ง
ไม่ได้
เร็ว |
-
-
-
สุภาพ
-
ต่างๆ |
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือ สันธาน ทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกรรถประโยค
ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๒.๑) ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ
ตัวอย่าง
ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็มาช่วยพ่อค้าขาย
สันธานที่ใช้ใน ๔ ประโยค ได้แก่ และ ทั้ง - และ, แล้วก็,พอ - แล้วก็
หมายเหตุ : คำ "แล้ว" เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง
๒.๒) ประโยคที่มีความแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือ แตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ
เขาคิดว่าเขาทำได้ แต่แล้ว เขาก็พลาด
เขาต้องการทำงานนี้มาก หากแต่ สุขภาพของเขาไม่อำนวย
๒.๓) ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง
ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล
เธอควรจะไปงานนี้ หรือมิฉะนั้น ก็ส่งใครไปแทน
เขาจะมาเอง หรือว่า เขาจะให้คนอื่นมา
๒.๔) ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค ประโยคแรก เป็นเหตุ ประโยค หลัง เป็น ผล
ตัวอย่าง
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขาจึง ประสบความสำเร็จ
คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ
คนมักง่ายชอบทิ้งขยะ บ้านเมือง จึง สกปรกเต็มไปด้วยมลพิษ
การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดมาก ฉัน จึง ไม่ค่อยอยากออกจากบ้าน
ข้อสังเกต
๑) สันธานเป็นคำเชื่อมที่จำเป็นต้องมีในประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด
๒) สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น - จึง, ทั้ง - และ, แต่ - ก็ สันธานเช่นนี้เรียกว่า "สันธานคาบ" มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี
๓) ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้
๓)
ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน คือ
ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญเป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค)
และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก
(อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก
ประโยคความซ้อนนี้เดิทเรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี ๓ ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
๓.๑) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามมานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือ บทกรรม หรือ ส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม หรือคำเชื่อม
๓.๑) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามมานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือ บทกรรม หรือ ส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม หรือคำเชื่อม
- ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
คนทำดีย่อมได้รับผลดี
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน
ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
สุนัขเห่ามักเป็นสุนัขไม่กัด
สุนัข...เป็นสุนัขไม่กัด : ประโยคหลัก
สุนัขเห่า : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
สุนัข...เป็นสุนัขไม่กัด : ประโยคหลัก
สุนัขเห่า : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
๓.๒)
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค)
แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้)
เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
- ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย
คนที่ประพฤติดีย่อมมีความเจริญในชีวิต
ที่ประพฤติดี ขยายประธาน คน
แยกประโยค ที่ = คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก
= (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย
ที่ประพฤติดี ขยายประธาน คน
แยกประโยค ที่ = คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก
= (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย
ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน
แยกประโยค ซึ่ง = ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก
= (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน
แยกประโยค ซึ่ง = ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก
= (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ เป็นสุภาษิตอันมีค่ายิ่ง
อันมีค่ายิ่ง ขยายส่วนเติมเต็ม เป็น
แยกประโยค อัน = พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ เป็นสุภาษิต : ประโยคหลัก
= (สุภาษิต) อันมีค่ายิ่ง : ประโยคย่อย
อันมีค่ายิ่ง ขยายส่วนเติมเต็ม เป็น
แยกประโยค อัน = พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ เป็นสุภาษิต : ประโยคหลัก
= (สุภาษิต) อันมีค่ายิ่ง : ประโยคย่อย
๓.๓) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือ บทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก
(วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ)
ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
- ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์
เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน
แยกประโยค เพราะ = เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก
= (เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา
คนงานทำงานหนักจนล้มเจ็บไปหลายวัน
แยกประโยค จน = คนงานทำงานหนัก : ประโยคหลัก
= (คนงาน) ล้มเจ็บไปหลายวัน : ประโยคย่อย (ขยายกริยาและวิเศษณ์ ทำงานหนัก)
แยกประโยค จน = คนงานทำงานหนัก : ประโยคหลัก
= (คนงาน) ล้มเจ็บไปหลายวัน : ประโยคย่อย (ขยายกริยาและวิเศษณ์ ทำงานหนัก)
ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก
แยกประโยค เหมือน = ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก
= แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)
แยกประโยค เหมือน = ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก
= แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)
องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ในการสื่อสารครั้งหนึ่ง
ๆ จะต้องประกอบด้วย
ผู้ส่งสาร คือบุคคลที่เป็นผู้สื่อความหรือเรื่องราวออกไป
สาร คือ เรื่องราวหรือเนื้อหาที่ต้องการจะแจ้ง หรือบอก
ผู้รับสาร คือ ผู้รับรู้เรื่องราวนั้น ๆ
สื่อ คือ เครื่องมือที่ใช้ในนำสารไปถึงผู้รับสาร
ผู้ส่งสาร คือบุคคลที่เป็นผู้สื่อความหรือเรื่องราวออกไป
สาร คือ เรื่องราวหรือเนื้อหาที่ต้องการจะแจ้ง หรือบอก
ผู้รับสาร คือ ผู้รับรู้เรื่องราวนั้น ๆ
สื่อ คือ เครื่องมือที่ใช้ในนำสารไปถึงผู้รับสาร
สื่อได้แก่อะไรบ้าง
สื่อ
เช่น วิทยุ โทรทํศน์ วิดิโอ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ เสียงพูด
ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง และอากาศ เป็นต้น
ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง
ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง และอากาศ เป็นต้น
ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง
ประโยค
|
ภาคประธาน
|
ภาคแสดง
|
คุณครูครับผมทำแจกันใบเล็กแตก
|
คุณครูครับผม
|
ทำแจกันใบเล็กแตก
|
โรงเรียนสุราษฎร์ธานีเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
|
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี
|
เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่
|
เอกชัยศรีวิชัยร้องเพลงหมากัด
|
เอกชัยศรีวิชัย
|
ร้องเพลงหมากัด
|
แมวร้องเหมียวเหมียว
|
แมว
|
ร้องเหมียวเหมียว
|
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียวหมายถึง ประโยคที่มีความหมายอย่างเดียว ทำกริยาอาการเพียงอย่างเดียว
ประโยคความเดียวหมายถึง ประโยคที่มีความหมายอย่างเดียว ทำกริยาอาการเพียงอย่างเดียว
รูปประโยคความเดียวที่ใช้ในการสื่อสาร
|
การจำแนกประโยคตามเจตนาผู้ส่งสาร
ประโยคบอกเล่า
ส่วนมากขึ้นต้นด้วยภาคประธาน และภาคแสดงตามลำดับ มีเจตนาเพื่อ แจ้งให้ทราบ |
วงบางแก้วร้องเพลงหวานใจ อ.ภาทิพชอบฟังเพลงบางแก้ว โสฬสกล้าแสดงออก |
ประโยคปฏิเสธ
เหมือนประโยคบอกเล่า เพียงแต่ มีคำว่า"ไม่" เข้ามา เพื่อบอกความปฏิเสธ |
วงบางแก้วไม่ได้ร้องเพลงขี้หึง พลอยไม่น่ารัก |
ประโยคคำถาม
ขึ้นต้นด้วยคำถาม หรือลงท้ายด้วย คำถาม |
ทำไมพัดลมไม่รักผม (ต้องการคำอธิบาย) นักเรียนทำการบ้านเสร็จหรือยัง(ต้องการการตอบรับหรือปฏิเสธ) |
ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง
ละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ |
พูดเบา ๆ หน่อยค่ะ ทิ้งขยะในถังที่เตรียมให้เท่านั้น |
การสื่อสารของมนุษย์
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง
กระบวนการถ่ายทอดสาร (message) จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (sender) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่าผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านสื่อ (channel/media)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
๑. ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลที่ใช้วิธีการต่าง ๆ
ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของตนไปสู่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
๒. สาร หมายถึง เรื่องราว
หรือสิ่งที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร
๓. สื่อ หมายถึง ช่องทางในการสื่อสาร ซึ่งเป็นตัวกลางที่เชื่องโยงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารให้ติดต่อสื่อสาร
กันได้ ทราบไหมคะว่า สื่อมีหลายประเภท นั่นคือ
- สื่อบุคคล
ได้แก่ ผู้สื่อข่าว ผู้นำความคิด ครู
- สื่อมวลชน
ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพถ่าย วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิดีโอ
การแสดงบทเวที
๔. ผู้รับสาร หมายถึง
บุคคลผู้รับสารจากผู้ส่งสารด้วยการอ่าน การฟัง และการชม
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกันมี ๒
ลักษณะ คือ
๑. วจนะภาษา หมายถึง การสื่อสารที่ใช้คำพูด ถ้อยคำ
หรือภาษาในการสื่อความหมาย ซึ่งรวมถึงการเขียนด้วย
โดยสรุป
วจนะภาษาประกอบด้วย ภาษาพูด และภาษาเขียน
๒. อวจนะภาษา คือ การสื่อสารที่ไม่ต้องอาศัยคำพูดเป็นสื่อ
แต่ก็สามารถทำความเข้าใจระหว่าง ผู้ส่งสารและผู้รับสารได้
โดยสรุป
สื่ออวจนะภาษา ได้แก่ อากัปกริยา จรรยามารยาท สัญญาณ สัญลักษณ์ แสง สี เสียง
การแต่งกาย
ระดับภาษา
ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อให้เหมาะกับโอกาส
กาลเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยทั่วไประดับภาษาแบ่งเป็น
๔ ระดับ คือ
๑. ภาษาแบบแผน เวลาใช้ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎเกณฑ์
ระเบียบของภาษา ความสุภาพ และมารยาท
- ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนมากกว่าการพูด
ได้แก่ ภาษาที่ใช้เขียนเอกสารราชการทุกชนิด ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ
บทบรรณาธิการ
- การพูดจะใช้ในงานพิธีการ
เช่น การกราบบังคมทูลในงานพระราชพิธี คำปราศรัย ประกาศเกียรติคุณ ปาฐกถา โอวาท
สุนทรพจน์ กล่าวเปิด-ปิดการประชุม
๒. ภาษากึ่งแบบแผน ใช้ในการพูดและเขียนที่ไม่เป็นทางการมากนัก
- การเขียน
ได้แก่ ภาษาที่ใช้เขียนจดหมายธุรกิจ ข้อเขียนในวารสาร และนิตยสาร บทความ นวนิยาย เรื่องสั้น
ข่าวในหนังสือพิมพ์รายวัน การตอบข้อสอบอัตนัย
- การพูดจะใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
การสนทนากับคนที่มีตำแหน่ง และวัยต่างกัน การพูดในที่ชุมชน การอภิปราย
การแนะนำตัวบุคคล
๓. ภาษาปาก หรือภาษากันเอง ส่วนใหญ่จะใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ของภาษา ภาษาที่ใช้มักจะมีคำสแลง คำกร่อน คำย่อ
หรือคำต่างประเทศปะปน เช่น ภาษาที่ใช้สนทนาระหว่างบุคคลคุ้นเคย ภาษาซื้อขาย
การโฆษณาหาเสียง การละเล่น และภาษาถิ่น
๔. ภาษาต่ำ เป็นคำที่ไม่สุภาพ หรือเป็นคำหยาบ
ใช้พูดระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน ไม่นิยมเขียน เป็นลายลักษณ์อักษร
ยกเว้นการใช้เขียนนวนิยาย หรือเรื่องสั้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือ
ตัวละครในเรื่อง
ประโยค
ภาษา ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารอาจเป็นเพียงคำ ๆ เดียว เป็นข้อความยาว หรือสั้นก็ได้
ซึ่งข้อความที่มีใจความชัดเจนและสมบูรณ์นั้นเรียกว่า “ ประโยค”
ประโยค คือ
ถ้อยคำหรือข้อความที่มีใจความครบบริบูรณ์ มีเนื้อความชัดเจน นั่นก็คือ ชัดเจนซะจนสามารถทราบได้ว่าใคร
ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร โดยทั่วไปประโยคจะประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ภาคประธาน
และภาคแสดง
ภาคประธาน เป็นผู้กระทำกริยาอาการ เพื่อให้ทราบว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน
เมื่อไหร่ และอย่างไร ซึ่งภาคประธานจะมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ เช่น
คนบ้า
ถูกหมากัด
คนดี
คือคนที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น
ภาคแสดง เป็นส่วนที่แสดงอาการของภาคประธาน
ว่าประธานได้ทำกริยาอะไร ซึ่งภาคแสดงนี้ จะช่วยให้ประโยคมีใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งภาคแสดงจะมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้
โดยทั่วไป ภาคแสดงประกอบด้วยส่วนย่อย ๔ ส่วน คือ บทกริยา บทขยายกริยา
บทกรรม และบทขยายกรรม เช่น
ประโยค
|
ภาคประธาน
|
ภาคแสดง
|
||||
ประธาน
|
บทขยายประธาน
|
บทกริยา
|
บทขยายกริยา
|
บทกรรม
|
บทขยายกรรม
|
|
ฉันมีพี่น้องสามคน
|
ฉัน
|
-
|
มี
|
สามคน
|
พี่น้อง
|
-
|
ครูหยิบหนังสือมา
๒ เล่ม
|
ครู
|
-
|
หยิบ
|
มา ๒
เล่ม
|
หนังสือ
|
-
|
คนติดยากำลังเดินมา
|
คน
|
ติดยา
|
กำลังเดินมา
|
-
|
-
|
-
|
แมวดำกัดหนูตัวเล็กตาย
|
แมว
|
ดำ
|
กัด
|
ตาย
|
หนู
|
ตัวเล็ก
|
บ้านสีฟ้าตั้งอยู่ริมทะเล
|
บ้าน
|
สีฟ้า
|
ตั้งอยู่
|
ริมทะเล
|
-
|
-
|
สุนัขตัวเล็กเห่าเสียดังมาก
|
สุนัข
|
ตัวเล็ก
|
เห่า
|
เสียงดังมาก
|
-
|
-
|
รูปประโยคความเดียวที่ใช้สื่อสารในภาษาไทย
ประโยคที่ใช้ในภาษาพูด และภาษาเขียนแบ่งเป็น ๔ รูปแบบ คือ
๑. ประโยคที่เน้นผู้กระทำ หรือประโยคประธาน (ประโยคกรรตุ) คือ
ประโยคที่นำประธาน มาขึ้นต้นประโยค แล้วตามด้วยภาคแสดง (ต้องการเน้นว่า “ ใคร” ทำ “ อะไร” ) เช่น
ช้างพลายตกมันเหยียบควานช้างตาย
รัชกาลที่
๙ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานพระราม ๘
โรงเรียนได้คัดเลือกให้ฉันไปแข่งขันโต้วาที
๒. ประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ (ประโยคกรรม) คือ ประโยคที่นำผู้ถูกกระทำ
(หรือกรรม) มาขึ้นต้นประโยค โดยผู้ถูกกระทำจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
ควานช้างถูกช้างพลายตกมันเหยียบตาย
สะพานพระราม
๘ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๙
ฉันได้รับคัดเลือกให้ไปแข่งขันโต้วาที
๓. ประโยคที่เน้นกริยา (ประโยคกริยา) คือ ประโยคที่มีคำกริยาขึ้นต้นประโยค
ซึ่งคำกริยาที่จะนำมาขึ้นต้นประโยคนั้นจะใช้ได้เฉพาะบางคำ ได้แก่คำว่า “ เกิด มี ปรากฏ” เช่น
เกิดอุทกภัยที่
๔๖ จังหวัดทั่วประเทศไทย
มีนักเรียนมาเรียนไม่ถึงครึ่งห้อง
ปรากฏว่าพบการทุจริตในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
การทะเลาะวิวาท
ในสนามมวยเกิดขึ้นทุกสัปดาห์
ประโยคที่นำคำกริยามาขึ้นต้นประโยค และคำกริยานั้นทำหน้าที่แทนคำนาม
หรือเป็นประธานของประโยค เราเรียกว่า “ ประโยคกริยาสภาวมาลา”
เช่น
เต้นแอโรบิคทำให้ร่างกายแข็งแรง
ซึ่งคำว่า “ เต้นแอโรบิค”
ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
ส่วนคำว่า “ ทำให้”
เป็นคำกริยา
๔. ประโยคเชิงคำสั่งหรือขอร้อง คือ ประโยคที่ใช้คำกริยาสั่ง
หรือขอร้องให้กระทำ โดยมากมักจะละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
(ท่านจงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ) ประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ
(ประโยคกรรม)
กรุณางดใช้เสียง
(ท่านกรุณางดใช้เสียง) ประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ (ประโยคกรรม)
โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก
สตรี และคนชรา (ท่านโปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา)
ประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ (ประโยคกรรม)
ห้ามสูบบุหรี่
( ท่านห้ามสูบบุหรี่) ประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ (ประโยคกรรม)
การจำแนกประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร
ใน การสื่อสารแต่ละครั้งผู้ส่งสาร (ผู้เขียน หรือผู้พูด) มักจะแสดงเจตนาของตนออกไปแตกต่างกัน
ซึ่งโดยทั่วไปประโยคที่แสดงเจตนาแบ่งเป็น ๔ รูปแบบ คือ
(๑) รูปประโยคบอกเล่า คือ
ประโยคที่บอกว่าประธานทำอะไร คืออะไร หรือบอกถึงสภาพ ความเป็นจริงทั่วไป เช่น
มนุษย์ต้องรับประทานอาหาร
ตำรวจไล่จับผู้ร้าย
ฉันต้องเรียนหนังสือทุกวัน
(๒) รูปประโยคปฏิเสธ คือ
ประโยคที่มีคำแสดงความปฏิเสธ ตามปกติจะมีคำว่า “ ไม่
มิใช่ หามิได้” เช่น
เขา
ไม่ปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน
นายปรีดี พนมยงค์
มิใช่คนขายชาติ
ขอทาน
ไม่ได้กินขาวมาหลายวันแล้ว
(๓) รูปประโยคคำสั่ง หรือขอร้อง ประโยคชนิดนี้โดยมากจะละประธานไว้
มีแต่ภาคแสดง ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็เข้าว่า ใครเป็นคนสั่ง
สั่งใคร หรือขอร้องใคร เช่น
วางปากกา
งดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
เมาไม่ขับ
กรุณากรอกข้อมูลให้ครบ
(๔) รูปประโยคคำถาม คือ
ประโยคที่มีใจความแสดงคำถาม ซึ่งประโยคชนิดนี้จะมีคำว่า “ ใคร
อะไร ทำไม อย่างไร หรือ ฯลฯ ซึ่งผู้ถามอาจต้องการคำตอบที่เป็นเนื้อความ การตอบรับหรือปฏิเสธ
เช่น
-
ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความ เช่น
ถามว่า
ใครเอาสมุดฉันไป ต้องตอบว่าใครเอาไป
ถามว่า
ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ คืออะไร ต้องตอบชื่อเต็มของกรุงเทพฯ
ถามว่า
สอบเข้าเหล่าไหนกันบ้าง ต้องตอบว่าสอบเข้าเหล่าไหนบ้าง
-
ต้องการการตอบรับหรือปฏิเสธ เช่น
ถามว่า เธอลำบากอะไรไหม
ต้องตอบว่าลำบาก หรือไม่ลำบาก
ถามว่า เธอสู้ไหวหรือเปล่า ต้องตอบว่าเรียนไหว หรือเรียนไม่ไหว
ถามว่า เรียนยากไหม ต้องตอบว่าเรียนยาก หรือเรียนมายาก
จะสังเกตว่าประโยคประเภทนี้ต้องการให้เราตอบว่า “ ใช่ หรือไม่ใช่” เท่านั้นเอง
ถามว่า เธอสู้ไหวหรือเปล่า ต้องตอบว่าเรียนไหว หรือเรียนไม่ไหว
ถามว่า เรียนยากไหม ต้องตอบว่าเรียนยาก หรือเรียนมายาก
จะสังเกตว่าประโยคประเภทนี้ต้องการให้เราตอบว่า “ ใช่ หรือไม่ใช่” เท่านั้นเอง