ปัญหาทรัพยากรแร่
แร่ธาตุเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จัดอยู่ในประเภทใช้แล้วสิ้นเปลือง
หรือหมดไป คือเมื่อนำมาใช้แล้วจะค่อย ๆ หมดไป บางชนิดเมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกเช่น
แร่โลหะต่าง ๆ แร่ธาตุบางอย่างหมดไปพร้อม ๆ กับการใช้ เช่นถ่านหิน ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ
แร่ธาตุต่าง ๆ จะปรากฏอยู่ภายใต้พื้นผิวของเปลือกโลก แต่ส่วนใหญ่
่ไม่ได้กระจายอยู่ทั่วไป ทุกหนทุกแห่งบนพื้นโลกเหมือน ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ แต่จะปรากฏเฉพาะบริเวณเท่านั้น
ทำให้แต่ละพื้นที่แต่ละประเทศมีแร่ธาตุไม่เหมือนกัน เช่น ประเทศไทยมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์
กลุ่มประเทศ ผู้ส่งน้ำมันออกจำหน่าย ( OPEC ) จะมีน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นต้น ประเภทของแร่ธาตุ แร่ธาตุสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่
ได้แก่ (ราตรี ภารา, 2538)
1. กลุ่มแร่โลหะ
( Metalliferous Mineral )
2. กลุ่มแร่อโลหะ
( Non - Metalliferous Mineral )
3. แร่พลังงาน
( Energy Mineral )
1. กลุ่มแร่โลหะ
( Metalliferous Mineral )
2. กลุ่มแร่อโลหะ
( Non - Metalliferous Mineral )
3. แร่พลังงาน
( Energy Mineral )
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่
โดยทั่วไปการทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2 ประการ ดังนี้
1. ผลกระทบที่เกิดจากตัวแร่
(Indigenous effects)
ปกติแล้วแร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์จะอยู่ภายใต้เปลือกโลกในรูปของสารประกอบ
เมื่อมีการทำเหมืองแร่เพื่อนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้ ในสายแร่บางชนิด เช่น ตะกั่ว
สังกะสี มังกานีส โครเมี่ยม ขณะที่ทำการขุดแร่เหล่านี้อาจปะปนลงในแหล่งน้ำในแหล่งดิน
ซึ่งพืชที่กำลังเจริญเติบโตอยู่นั้นเกิดการสะสมแร่ธาตุดังกล่าว จนสามารถถ่ายทอดมายังคนโดยตรงหรือการห่วงโซ่อาหาร
เช่น การทำเหมืองแร่ปรอท ทำให้คนงานและสิ่งมีชีวิตในบริเวณเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับสารพิษไป
ด้วย
2. ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการ
( Operation effects )
เหมืองแร่ทุกชนิดทุกประเภทจะก่อให้เกิดผล กระทบต่อวิ่งแวดล้อมอันมีสาเหตุมาจากการดำเนินการ
เช่น การเปิดหน้าดินก่อให้เกิดการชะล้างและพังทลาย น้ำขุ่นข้นในทะเลบริเวณใกล้เคียงกับการขุดแร่ในทะเล
เป็นต้น การทำเหมืองแร่จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น เนื่องจากมีผลกระทบต่อทรัพยากรต่อไปนี้
ทรัพยากรดิน การทำเหมือง แร่จำเป็นต้องมีการขุดระเบิดหรือฉีดน้ำ
เพื่อนำแร่ซึ่งมักอยู่ใต้ดินออกมา ดินที่เกิดจากการทำเหมืองแร่จะไหลลงไปพร้อมกับน้ำลงสู่แม่น้ำลำคลอง
ทำให้ดินเกิดความสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ดินที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว จึงขาดความอุดมสมบูรณ์อย่างเด่นชัด
นอกจากนี้พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วจะเป็นหลุม เป็นบ่อ ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ทรัพยากรน้ำ และสัตว์น้ำ เนื่อง จากน้ำขุ่นข้นจากการฉีดน้ำแยกแร่ออกจากดินหรือโคลน
เกิดจากการแพร่กระจายออกไป หากเป็นพื้นที่ในทะเลตะกอนขุ่นข้นจะกระจายไปตามอิทธิพลของกระแสน้ำ
คลื่น และลม ซึ่งยากแก่การควบคุม ทำให้คุณภาพของน้ำทะเลเสียหาย นอกจากนี้ยังทำน้ำน้ำธรรมชาติเกิดการตื้นเขินมีผลต่อสัตว์น้ำ
คือ ทำลายแหล่งวางไข่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย
ทรัพยากรป่าไม้ การทำลาย ทรัพยากรป่าไม้
เพื่อความสะดวกคล่องตัว ตั้งแต่สำรวจจนกระทั่งขุดเจาะได้แล้วนำไปส่งยังผู้รับซื้อ ป่าจะถูกถากถางเพื่อการสำรวจ
เมื่อพบแร่แล้วป่าจะถูกทำลายอย่างถาวร ทรัพยากรอากาศ การทำเหมือง แร่โดยเฉพาะเหมืองบนบกจะต้องมีการระเบิด
ทุบ บด หรือป่นหิน การขนส่งเลียงลำเลียงแร่จากเหมืองแร่ทำให้เกิดฝุ่นละอองมาก ฝุ่นเหล่านี้กระจายและถูกพัดพาไปในอากาศ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชที่อยู่ใกล้เคียงได้
สาเหตุการเกิดภาษาถิ่น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาษาถิ่นต่าง ๆ หรือภาษาถิ่นย่อยมานั้น เรืองเดช
ปันเขื่อนขัตย์ ได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการคือ
1. ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น
ขาดการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน หลายชั่วอายุคน ถ้าต่างถิ่นต่างไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน
ๆ ทำให้กลุ่มชนชาติไทยรวมทั้งภาษาของกลุ่มเขาเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นภาษาถิ่นอื่น ๆ
ซึ่งไม่เหมือนกันกับภาษาดั้งเดิมในที่สุด
2. กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง
ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป
กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลง
คำศัพท์ที่เรียกยากกว่าไปเรียกคำศัพท์ที่เรียกง่ายกว่ากะทัดรัดกว่า
3. อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
ซึ่งเป็นชนหมู่มากมีอิทธิพลกว่ามีการยืม คำศัพท์จากภาษาที่มีอิทธิพลกว่า