ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ
เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต
ซึ่งสิ่งแวดล้อมจัดเป็นปัจจัยที่ไม่มีชีวิต สิ่งแวดล้อที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่
·
แสง
·
อุณหภูมิ
·
น้ำ
·
ดินและแร่ธาตุในดิน
·
อากาศ
แสง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น
·
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
·
การหุบและบานของดอกและใบของพืชหลายชนิด
เช่น ใบไมยราบ ใบกระถิน
·
มีอิทธิพลต่อเวลาการออกอาหารของสัตว์
อุณหภูมิ
เป็นปัจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายประการ เช่น
·
อุณหภูมิมีผลต่อการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด เช่น
ดอกบัวจะบานตอนกลางวันและจะหุบในตอนกลางคืน
·
อุณหภูมิมีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น
การจำศีลมนฤดูหนาวของหมีขั้วโลก
·
อุณหภูมิมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่น
สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ในเขตร้อน หรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนากว่าสัตว์ในเขตร้อน
น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น
·
น้ำเป็นวัตถุดิบในการบวนการสังเคราะห์ด้วยแวงของพืช
และน้ำยังเป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินเพื่อให้พืชสามารถนำไปใช้ได้
·
น้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
·
น้ำเป็นส่วนประกอบในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
·
น้ำเป็นสื่อกลางในการช่วยขับของเสียออกจากร่างการของสิ่งมีชีวิต
ดินและแร่ธาตุในดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
·
ดินเป็นแล่งที่อยู่ของพืช อีกทั้งยังให้แร่ธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
·
ดินช่วยในการกักเก็บน้ำและอากาศ
·
ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก
อากาศ
เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น
·
อากาศมีแก๊สออกซิเจน
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด
·
อากาศมีแก๊สออกซิเจน ที่ผสมอยู่ช่วยในการเผาไหม้
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
แบ่งออก เป็น 2 ลักษณะคือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
2.
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้ง
3 กลุ่ม (ผู้ผลิต - ผู้บริโภค -
ผู้ย่อยสลาย) ในระบบนิเวศ จะมีการถ่ายเท พลังงาน เป็นทอดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
การไหลเวียน การถ่ายทอดพลังงานเป็นทอดๆ นี้ เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food
chain)
พลังงานทั้งหลายในระบบนิเวศ
นี้เกิดจากแสงอาทิตย์ พลังงานแสงถูกถ่ายทอดโดยเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์
สะสมไว้ในสารอาหาร ซึ่งเกิดจากกระบวนการ สังเคราะห์ ด้วยแสง
แล้วถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน
อย่างซับซ้อน ในรูปแบบที่เรียกว่า สายใยอาหาร (food web)
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศเดียวกัน
(Interspecific interaction)
แบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
1) แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis)
เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด
ที่ทำให้ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์โดยไม่มีฝ่ายใดเสียประโยชน์เลยได้แก่
1.1
ภาวะพึ่งพา ( Mutualism : +,+) หมายถึง
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2ชนิดโดยต่างก็ไ ด้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้
เช่น
- ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา
ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย
- โพรโทซัวในลำไส้ปลวก : โพรโทซัวชนิด Trichonympha
sp. ช่วยย่อยเซลลูโลสให้ปลวกปลวกให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่โพรโทซัว
- แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ :
แบคทีเรียชนิด Escherichia coli ช่วยย่อยกากอาหารและสร้างวิตามิน
K , B ให้มนุษย์
ส่วนมนุษย์ให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่แบคที่เรีย
1.2
ภาวะใต้ประโยชน์ร่วมกัน ( Protocooperation : + ,+ ) หมายถึง
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน
แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น
- แมลงกับดอกไม้ :
แมลงได้รับน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสรทำให้แพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น
- ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea
anemone) : ดอกไม้ทะเลซึ่งเกาะอยู่บนปูเสฉวนช่วยป้องกันภัยและพรางตัวให้ปูเสฉวนdf
ส่วนปูเสฉวนช่วยให้ดอกไม้ทะเลเคลื่อนที่หาแหล่งอาหารใหม่ๆได้
1.3 ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล ( Commensalism
: + , 0) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด
โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม :
เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม
ได้เศษอาหารจากปลาฉลามโดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
- พืชอิงอาศัย ( epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น
ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น
ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสมโดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใดๆ
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ :
สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติโดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
2) แบบปฏิปักษ์ต่อกัน ( Antagonism)
เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2
ชนิดที่ทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียประโยชน์หรือเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ได้แก่
2.1
ภาวะปรสิต ( Parasitism : + , -) หมายถึง
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต ( parasite)
อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย( host) เช่น
- เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์
: ปรสิตภายนอก ( ectoparasite) เหล่านี้ดูดเลือดจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์
ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
- พยาธิ ในร่างกายสัตว์
:ปรสิตภายใน (endoparasite) จะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
2.2
ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation : + , -) หมายถึง
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า
ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า
เรียกว่า เหยื่อ ( prey) เช่น
-กบกับแมลง :กบเป็นผู้ล่า
แมลงเป็นผู้ถูกล่า
-เหยี่ยวกับหนู:เหยี่ยวเป็นผู้ล่าส่วนหนูเป็นผู้ถูกล่า
2.3
ภาวะแข่งขัน ( Competition : - ,-) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปัจจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เช่น เสือ , สิงโต , สุนัขป่าแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัยหรืออาหารพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในบริเวณเดียวกัน
เป็นต้น
2.4 ภาวะหลั่งสารยับยั้งการเจริญ ( Antibiosis
: 0 , -) หมายถึง
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหลั่งสารมายับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
บางชนิดหลั่งสารพิษ เรียกว่า hydroxylamine ทำให้สัตว์น้ำในบริเวณนั้นได้รับอันตราย
3) แบบเป็นกลางต่อกัน ( Neutralism
: 0 , 0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
เช่น
-
แมงมุมกับกระต่ายอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า แมงมุมกินแมลงเป็นอาหาร
ส่วนกระต่ายกินหญ้าเป็นอาหารจึงไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
-
กบกับไส้เดือนดินอาศัยอยู่ในทุ่งนา กบกินแมลงเป็นอาหาร ส่วนไส้เดือนดิน
กินซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพัง จึงไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)
1. ห่วงโซ่อาหาร คือ
การกินต่อกันเป็นทอดๆ มีลักษณะเป็นเส้นตรง
สิ่งมีชีวิตหนึ่งมีการกินอาหารเพียงชนิดเดียว ซึ่งเขียนเป็นลูกศรต่อกัน
แบ่งออกเป็น 3 แบบ
1.1 ห่วงโซ่อาหารแบบจับกิน (Predator chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากพืชไปยังสัตว์กินพืช
สัตว์กินสัตว์ ตามลำดับ
1.2 ห่วงโซ่อาหารแบบย่อยสลาย หรือแบบเศษอินทรีย์ (Saprophytic chain
or detritus chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากซากอินทรีย์ถูกสลายโดยจุลินทรีย์
แล้วจึงถูกกินต่อไปโดยสัตว์ที่กินเศษอินทรีย์ และผู้ล่าต่อไป ตามลำดับ
1.3 ห่วงโซ่อาหารแบบพาราสิต (Parasitic chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากผู้ถูกอาศัยไปยังผู้อาศัยอันดับหนึ่ง
แล้วไปยังผู้อาศัย ลำดับต่อๆ ไป
สายใยอาหาร (Food web)
สายใยอาหาร หมายถึง
การถ่ายทอดพลังงานเคมีในรูปอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดมารวมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่ซับซ้อน
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ จะไหลไปในทิศทางเดียว คือ
เริ่มต้นจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
ขณะเดียวกันก็มีการสูญเสียพลังงานออกไปในแต่ละลำดับ
ไม่มีการเคลื่อนกลับเป็นวัฏจักร จึงกล่าวได้ว่า
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศไม่เป็นวัฏจักร (Non - cyclic)
อ้างอิงแหล่งข้อมูล - http://stks.or.th/ling/mareenee