ท่องเที่ยว บันเทิง สาระความรู้

เม็ดเลือดขาว (white blood cells)

ดาว์นโหลดไฟล์ word ปริ้นได้ทันที
https://www.mediafire.com/?h88vt41qfazj2uv


เม็ดเลือดขาว (white blood cells)

ho

เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte)
                เม็ดเลือดขาวช่วยทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันคอยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ให้แก่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่มีฮีโมโกลบินแต่มีนิวเคลียสอยู่ด้วย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 2-3 วัน เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของเม็ดเล็กๆ (granule) ที่อยู่ในเซลล์ คือ
                1) แกรนูโลไซต์ (granulocyte)
                เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในเซลล์ด้วย สร้างมาจากไขกระดูกแบ่งตามลักษณะของนิวเคลียสและการย้อมติดสีได้เป็น 3 ชนิด คือ
                1.1 นิวโทรฟิล (neutrophil) แกรนูลย้อมติดสีน้ำเงินม่วงและแดงคละกัน ทำให้เห็นเป็นสีเทาๆ มีนิวเคลียสหลายพู ทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยการกินแบบฟาโกไซโทซิส แล้วจึงปล่อยน้ำย่อยจากไลโซโซมออกมาย่อย นิวโทรฟิลมีประมาณร้อยละ 65-75 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด นิวโทรฟิลมักกินสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กจึงเรียกว่าไมโครเฟก (microphage) ซากของแบคทีเรียที่นิวโทรฟิลกินและนิวโทรฟิลที่ตายจะกลายเป็นหนอง (pus) และกลายเป็นฝีได้
                1.2 อีโอซิโนฟิล (eosinophil) หรือแอซิโดฟิล (acidophil) แกรนูลย้อมติดสีชมพู มีนิวเคลียส 2 พู ทำหน้าที่เช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและช่วยในการป้องกันการแพ้พิษต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ทำลายพยาธิที่เข้าสู่ร่างกายได้ด้วย อีโอซิโนฟิลมีประมาณร้อยละ 2-5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
                1.3 เบโซฟิล (basophil) แกรนูลย้อมติดสีม่วงหรือน้ำเงินทำหน้าที่ปล่อยสารเฮพาริน (heparin) ซึ่งเป็นสารพวกพอลิแซ็กคาไรด์ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดและ สร้างฮิสทามีนซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้หรืออักเสบ เบโซฟิลมีประมาณร่อยละ 0.5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
                2) อะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte)
                เป็นพวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลเล็กๆ ในเซลล์ สร้างมากจากม้ามและต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                2.1 ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีนิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์ สามารถสร้างแอนติบอดี (antibody) ขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคได้ ลิมโฟไซต์มีประมาณร้อยละ 20-25 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ลิมโฟไซต์แบ่งออกเป็นหลายชนิด คือ ลืมโฟไซต์ชนิดบี (B-lymphocyte) หรือ เซลล์บี (B-cell) ซึ่งเจริญพัฒนาที่ไขกระดูก หรือไปเจริญพัฒนาที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte) หรือ เซลล์ที (T-cell) ซึ่งจะเจริญและพัฒนาที่ต่อมไทมัส (thymas gland)
                2.2 มอโนไซต์ (monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีนิวเคลียสใหญ่ รูปเกือกม้าอยู่ที่บริเวณกลางเซลล์ มอโนไซต์มีประมาณร้อยละ 2-6 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มอโนไซต์กินแบคทีเรียแบบฟาโกไซโทซิสเช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและมักกินของโตๆ ทที่เม็ดเลือดขาวอื่นกินไม่ได้จึงถูกเรียกแมโครเฟก (macrophage)
เม็ดเลือดขาวสามารถเล็ดลอดออกนอกเส้นเลือดได้โดยวิธีที่เรียกว่าไดอะพีดีซิส (diapedesis) แล้วเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีการติดเชื้อ หรือเกิดบาดแผลเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ เช่น ไส้ติ่งอักเสบหรือปอดบวม เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอักเสบจากเชื้อไวรัส เซลล์เม็ดเลือดขาวจะลดลง
                โรคลิวคีเมีย (leukemia) เป็นโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดขาวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการสร้างอยู่เรื่อยๆ จนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติอยู่หลายเท่า เซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ทำหน้าที่ไม่ได้ เนื่องจากเซลล์มีลักษณะเป็นเซลล์อ่อนการเจริญผิดปกติจึงแบ่งเซลล์ได้ตลอด เวลา ซึ่งเรียกกันว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ
                เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil
                สร้างขึ้นในไขกระดูกเมื่อเปลี่ยนร่างมาถึงระยะ band shape / matrure neutrophil จึงจะหลุดมาอยู่ในกระแสเลือด ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 60-65% ลักษณะของนิวเคลียสเป็น lope (ประมาณ 2-5 lope) cytoplasm ประกอบด้วย specific granule และ azurophilic granule จัดเป็นพวก phagocyte ใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอม ทั้งที่อยู่ใน เนื่อเยื่อและในกระแสโลหิต ปกติ จะไหลไปมาในกระแสเลือด จะเคลื่อนตัวไปยังแหล่งสิ่งแปลกปลอม จากสารดึงดูด
                เม็ดเลือดขาวชนิด Eosiophil
เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ย้อมติดสีส้มแดง ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 2-5% จัดเป็นเซล phagocyte แต่จะเลือกกินเฉพาะ antigen-antibody complex เท่านั้น ในรายที่มี anaphylatic hypersensitivity หรือ มีพยาธิ์ (parasitic infection) จะพบว่ามีระดับ ของ eosinophil เพิ่มสูงขึ้นได้
                เม็ดเลือดขาวชนิด Basophil
เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ขนาดใหญ่กว่าในกลุ่ม เดียวกัน ( neutrophil, eosinophil) granule ย้อมติดสีม่วงเข้ม ใน granule ประกอบด้วยสารสำคัญเช่น histamine และ SRS-A ( slow reaction
substance of anaphylacxis) ที่ผิวมี receptor ต่อ IgE มีบทบาท สำคัญในเรื่องภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (anaphylaxis) ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 1-2%
                เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte
                เป็นเซลประเภท phagocyte ใน cytoplasm ติดสีฟ้าอมเทาและมี azurophilic granule อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของ nucleus อาจ เป็น รูปไข่ หรือรูปเกือกม้า หรือรูปไต ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 3-5%
จะมีชีวิตเฉลี่ยประมาณ 5-7 วัน ส่วนหนึ่งจะผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปอยู่ใน เนื้อเยื่อกลายเป็น macrophage เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม lymphocyte จะให้ สารที่เป็นตัวเรียกให้ monocyte มาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นด้วยวิธีการ
phagocytosis












เชื้อไวรัส
                สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในคนเราที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เชื้อไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาแม้ว่าจะมีกำลัง ขยายถึง 100 เท่าก็ตาม เชื้อไวรัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศอิเลคตรอน ซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 5,000 เท่าขึ้นไปจึง จะทำให้มองเห็นได้ ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวอยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส ซึ่งเป็นตัวแสดงพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าแคพซิด เซลล์ของเชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคน และสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ ไวรัสบางตัวอาจมีเยื่อหุ้มบุอีกชั้นซึ่งมีสารไขมันเป็นส่วนประกอบ ไวรัสไม่มีพลังงานสะสมในตัว ไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่ออยู่นอกเซลล์ของคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่เชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป มันจะเพิ่มจำนวนและทำให้เกิดโรคได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ของผู้ติด เชื้อแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นโรงงานผลิตเชื้อไวรัส
                เชื้อ ไวรัสสามารถที่จะแบ่งตัวและขยายจำนวนได้ในเซลล์ของร่างกายคนเรา โดยเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสอยู่ อาจถูกทำลายไป หรืออาจถูกรุกราน ทำให้เซลล์นั้นทำงานได้ไม่เหมือนปกติ ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ ได้ อาการและโรคบางชนิดที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาการไอหรือไข้ในเด็กเป็นต้น นอกจากนี้โรคฮิตในปัจจุบันก็คือ โรคเอดส์ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเช่นกัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นโรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการไม่ร้ายแรง ก็อาจหายไปได้เอง เพียงแต่รักษาตามอาการที่มีอยู่ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ที่ก่อโรคแก่มนุษย์ เช่นเดียวกับเชื้อแบคทีเรีย หน่วยของไวรัสเองจะมีรหัสกรดนิวคลีอิคที่เป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ ก็ได้แล้วแต่ชนิดของไวรัสนั้น หน่วยของไวรัสไม่มีเครื่องมือสำหรับการแบ่งตัวสร้างหน่วยใหม่โดยตัวเอง มันจึงจำเป็นต้องอาศัยเซลที่มีชีวิตอื่นเพื่อทำการยังชีพ และเพิ่มจำนวนตัวเอง อีกนัยหนึ่งตามความหมายที่ว่านี้ ไวรัสจึงคล้ายๆพยาธิที่คอยเกาะกินเซลมีชีวิต เช่น เซลร่างกายมนุษย์ และเพิ่มจำนวน ในการเข้าสิงสู่อาศัยในเซลร่างกายมนุษย์ บางเซลมนุษย์อาจถูกทำลายลง แต่บางเซลที่ไวรัสอาศัยอยู่ก็ไม่ถูกทำลาย ตกอยู่ในสภาพการเกาะกินอย่างเรื้อรังยาวนาน เช่น พวกไวรัสโรคเริม หรือไวรัสบางพวกเลียนแบบเซลปกติของร่างกายก่อให้เกิดการแบ่งตัวจนกลายเป็น เนื้องอกขึ้นมาได้และเนื่องมาจากการสิงสู่ในเซล การเลียนแบบเซลปกติของมนุษย์นี่เอง ทำให้การค้นหาเชื้อ การวินิจฉัย รวมทั้งการใช้ยารักษาทำลายเชื้อจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

โครงสร้างของไวรัส
                 1. ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มี โครงสร้างแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน ไวรัสที่มีส่วนประกอบครบสมบูรณ์เรียกว่าวิริออน ซึ่งจะประกอบด้วยแกนกลางของกรดนิวคลิอิกซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ และมีโปรตีนหุ้มล้อมรอบเพื่อป้องกันกรดนิวคลิอิก
                2. โปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่าแคพซิด ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่าแคพโซเมอร์ กรดนิวคลิอิก และโปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่านิวคลีโอแคพซิด
                3. ในไวรัสบางชนิดจะมีชั้นไขมัน หุ้มล้อมรอบนิวคลีโอแคพซิดอีกชั้นหนึ่ง เรียกไวรัสพวกนี้ว่าชนิดมีเปลือกหุ้ม ไวรัสบางชนิดมีเฉพาะนิวคลีโอแคพซิดเท่านั้น เรียกว่าไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม หรือไวรัสเปลือย
                4. ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มบางชนิดมี ปุ่มยื่นออกมา เรียกว่าหนาม ซึ่งมีความสำคัญในการใช้เกาะกับโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ และบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ดี หนามของไวรัสอาจมีคุณสมบัติเป็นสารบางอย่าง เช่น เป็นฮีแมกกลูตินิน หรือเป็นเอ็นไซม์นิวรามินิเดส
                5. โดยทั่วไปไวรัสที่ไม่มีเปลือก หุ้มมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม และจะไม่ถูกทำลายด้วยสารละลายไขมัน เช่น อีเธอร์ อัลกอฮอล หรือน้ำดี
                6. เมื่อเชื้อไวรัสอยู่ภายนอกร่าง กายของโฮสต์ จะค่อยๆ สูญเสียสภาพการติดเชื้อ ซึ่งจะช้า หรือเร็วขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แต่การทำลายเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือด สารคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายต่างๆ ของผู้ป่วย จำเป็นต้องมีวิธีการมาตรฐานเพื่อให้ได้ผลแน่นอน และรวดเร็ว มิฉะนั้นเชื้อจะแพร่กระจายไปก่อการติดเชื้อไวรัสที่แปดเปื้อนเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือฆ่าเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายด้วย ซึ่งจะต้องใช้ขบวนการทำลายเชื้อแตกต่างกันออกไป
รูปร่างของไวรัส
                1. รูปร่างเป็นเหลี่ยมลูกบาศก์ ซึ่งการจัดเรียงแบบนี้มีลักษณะสมมาตรกัน เมื่อมองเข้าไปในเหลี่ยมลูกบาศก์นี้แล้วหมุนไปในมุมต่างๆจะดูเหมือนกันหมด ซึ่งจะมี 12 มุม 20 หน้า
รูปร่างลักษณะเป็นแท่งกระบอก มีการเรียงตัวของแคพซิดเป็นรูปขดลวดสปริงหรือบันไดวนหุ้มรอบกรดนิวคลิอิก ไวรัสที่มีการเรียงตัวของแคพซิดแบบนี้จะเห็นรูปร่างเป็นแบบท่อนตรงหรือเป็น สายยาว ในกรณีที่ไม่มีเปลือกหุ้ม ถ้าเป็นพวกที่มีเปลือกหุ้ม รูปร่างจะไม่แน่นอน อาจเป็นทรงกลม รูปร่างรี หรือเป็นสายยาว รูปร่างแบบซับซ้อน ไวรัสพวกนี้อาจมีรูปร่างปนกันทั้งสองแบบแรกและเป็นรูปร่างเฉพาะ เช่น ไวรัสโรคพอษสุนัขบ้ามีรูปร่างคล้ายรูปลูกปืน ไวรัสไข้ทรพิษรูปร่างคล้ายรูปก้อนอิฐ ไวรัสของแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายยานอวกาศ เป็นต้น   ส่วนประกอบทางเคมีของไวรัส กรดนิวคลิอิกอาจเป็นชนิดอา ร์เอ็นเอ หรือดีเอ็นเอ อาจมีลักษณะเป็นสายคู่ หรือสายเดี่ยว พวกดีเอ็นเอไวรัสมักมีดีเอ็นเออยู่เป็นสายคู่ในลักษณะเป็นเส้นตรงหรือเป็นวง กลม พวกอาร์เอ็นเอไวรัสส่วนใหญ่เป็นสายเดี่ยว อยู่ในรูปโมเลกุลเดี่ยวเส้นตรง หรือเป็นชิ้นหลายชิ้น ไวรัสบางชนิดเมื่อแยกอาร์เอ็นเอออกมา พบว่าสามารถติดเชื้อต่อไปได้ เรียกว่าเป็นยีโนมสายบวก ส่วนไวรัสพวกที่เมื่อแยกอาร์เอ็นเอออกมาและไม่ติดเชื้อ เรียกว่าเป็นพวกยีโนมสายลบ พวกนี้มักจะมีเอ็นไซน์ในไวริออนทำหน้าที่สร้าง mRNA ต่อไป ไวรัสบางชนิดมียีโนมทั้งสายบวกและสายลบ
                2. โปรตีนของไวรัสแบ่งเป็นสองพวก คือ โปรตีนที่เป็นโครงสร้างของไวรัส และโปรตีนที่ทำหน้าที่อื่นๆ โปรตีนที่เป็นโครงสร้างของไวรัส คือแค็พซิดโปรตีน ทำหน้าที่ป้องกันกรดนิวคลิอิกของไวรัสจากสิ่งแวดล้อม และช่วยให้เชื้อไวรัสเกาะติดที่ผิวเซลล์ในขั้นตอนการติดเชื้อ และเป็นแอนติเจนของเชื้อไวรัส แมทริกซ์โปรตีนเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในอนุภาคไวรัส ตำแหน่งอยู่ถัดจากแค็พซิดโปรตีนลงมา โปรตีนของไวรัสในส่วนเปลือกหุ้ม และหนาม ส่วนโปรตีนที่ทำหน้าที่อื่นที่ไม่ได้เป็นโครงสร้าง เป็นโปรตีนที่พบในเซลล์ที่ไวรัสกำลังเพิ่มจำนวนอยู่ และไม่ได้เป็นโครงสร้าง พวกที่เป็นเอ็นไซน์ ได้แก่ เอ็นไซม์รีเวอสทรานสะคริบเทส เอ็นไซม์นิวรามิเดส เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส การที่ไวรัสบางชนิดต้องมีเอ็นไซม์ด้วยก็เพราะว่าในเซลล์ของโฮสต์ไม่มีเอ็น ไซม์เหล่านี้ให้
                3. สารไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของเปลือกหุ้ม มักอยู่ในรูปฟอสโฟไลปิด ซึ่งได้มาจากเยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์ซึ่งอาจเป็นเยื่อหุ้มซัยโตพลาสซึม หรือเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในขณะที่ไวรัสหลุดออกจากเซลล์โดยการแบ่งตัว
                4. คาร์โบฮัยเดรตมักอยู่ในรูปกลัย โคโปรตีนอยู่ที่หนามซึ่งอยู่นอกสุดของอนุภาคไวรัส จึงเป็นแอนติเจนที่สาคัญของไวรัส ส่วนที่เป็นกลัยโคโปรตีนนี้มักมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 10-15 โมเลกุล ซึ่งปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นโดยเอ็นไซม์ของโฮสต์

ความทนทานของไวรัส
                1. ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ ทนทาน เนื่องจากไม่มีสิ่งที่จะห่อหุ้มเช่นผนังเซลล์ที่แข็งแรงเหมือนผนังเซลล์ของ แบคทีเรียหรือผนังของสปอร์ ดังนั้นไวรัสส่วนมากเมื่อนำมาทิ้งไวัที่อุณหภูมิห้องจะค่อยๆถูกทำลายเสีย สภาพไปจากผลของอุณหภูมิ โดยเฉพาะส่วนเปลือกของไวรัสซึ่งหุ้มด้วยไขมันจะเสียสภาพง่ายกว่า ไวรัสชนิดเปลือย ดังนั้นอุณหภูมิจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายไวรัสที่อยู่นอกเซลล์
                2. เมื่อใช้ความร้อน 56 องศาเซลเซียส เพียง 30 นาทีจะทำลายความสามารถในการติดเชื้อไวรัสได้มากจึงใช้เป็นอุณหภูมิในการ ยับยั้งไวรัสในซีรั่ม
                3. เมื่อต้มเดือด100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาทีหรือใช้การฆ่าเชื้อโดยใช้หม้อนึ่งอัดไอความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส นาน 15-20 นาที หรืออบแห้งที่อุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมงจะทำลายไวรัสได้ทุกชนิด
                4. ไวรัสตับอักเสบบี ทนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ได้นานเป็นชั่วโมง
                5. ไวรัสยังถูกทำลายได้ง่ายโดยสาร เคมีชนิดต่างๆที่ทำลายโปรตีนและกรดนิวคลีอิก เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ กลูตาลดีไฮด์ ฮัยโปคลอไรต์ เบต้าโพรพิโอแลคโทน สำหรับสารละลายไขมัน เช่น 70% เอธานอล อีเธอร์ คลอโรฟอร์ม จะทำลายไวรัสพวกที่มีเปลือกหุ้ม



วัคซีน
         วัคซีน คือ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพซึ่ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับ (คนหรือสัตว์) ให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค สารพิษ หรือชีวโมเลกุลก่อโรค ซึ่งมีผลในการป้องกันการเกิดโรคหรือทำให้ความรุนแรงของโรคนั้นลดลง คำว่าวัคซีน” (vaccine) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “vacca” แปลว่าวัว เนื่องจากในอดีต (พ.ศ.2339) เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ สังเกตพบว่าคนเลี้ยงวัวที่เคยติดเชื้อฝีดาษวัวจะไม่ป่วยเป็นไข้ทรพิษ เขาจึงลองเอาหนองของคนที่กำลังป่วยด้วยโรคฝีดาษวัวไปสะกิดที่ผิวหนังของเด็ก หนุ่ม ผู้ที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคฝีดาษวัวหรือไข้ทรพิษมาก่อน ต่อมาอีก 6 สัปดาห์ เมื่อนำหนองของผู้ป่วยไข้ทรพิษไปสะกิดที่ผิวหนังของเด็กผู้นั้น ปรากฎว่าเด็กนั้นไม่ป่วยเป็นไข้ทรพิษจึงเป็นที่มาของการคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
        วัคซีนประกอบด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่าแอนติเจน (antigen)” และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ สารเสริมฤทธิ์ (adjuvant) สารกันเสีย (preservative) และของเหลวสำหรับแขวนตะกอน (suspending fluid) สารเสริมฤทธิ์เป็นตัวช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น เช่น เกลืออะลูมิเนียม ส่วนของเหลวแขวนตะกอนอาจเป็นน้ำ น้ำเกลือ เป็นต้น

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกี่ยวข้องอย่างไรกับวัคซีน

        ภูมิคุ้มกัน หมายถึง สารบางอย่างที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคเพื่อป้องกันไม่ให้ร่าง กายติดเชื้อหรือป่วย แอนติบอดี หมายถึง กลุ่มของโปรตีน ในน้ำเลือด/น้ำเหลือง ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่จำเพาะต่อมัน(เป็นภูมิคุ้มกัน ชนิดหนึ่ง)

เราสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อโรคได้อย่างไร

การสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะมี 2 แบบ คือ
        1. ร่างกายสร้างได้เองโดยธรรมชาติ เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดนี้ มีดังนี้คือ เม็ดเลือดขาวหลักที่ทำงานร่วมกันในระบบนี้คือ ทีเซลล์ ( T ), บีเซลล์ ( B )และ เอ็มเซลล์ ( แมคโครฟาจ =M )
        เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย M จะเข้ามาล้อมจับเชื้อโรคไว้ และส่งสัญญาณให้ T เซลล์ ซึ่ง T เซลล์เอง ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคและกระตุ้น B เซลล์ให้ทำงาน B เซลล์ จะทำ 2หน้าที่ คือ จับกินเชื้อโรคและสร้างสารภูมิคุ้มกัน ( แอนติบอดิ้ )ขึ้นมาเฉพาะกับเชื้อโรคที่พบ สารภูมิคุ้มกันนี้จะต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้น B เซลล์ตัวที่สร้างภูมิคุ้มกันจะเป็นตัวที่มีหน่วยความจำ เมื่อเชื้อโรคตัวเดิมเข้ามาครั้งต่อไป ก็จะมีความไวในการสร้างสารภูมิคุ้มกันไม่ต้องรอการสั่งการจาก T เซลล์
ภาพ:วัคซีน1.jpg
การสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อโรค
        การสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อโรคแต่ละชนิด จะใช้เวลาในการสร้างแอนติบอดิ้ไม่เท่ากัน ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ มีประสิทธิภาพสูงและอยู่ไปได้ตลอดชีวิต แต่การติดเชื้อนี้อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทรมาน และตายได้
        2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดย
- การได้รับวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดิ้ ขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดนั้นๆ
- การได้รับแอนติบอดี้(ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป)
- การได้รับยา หรือ สารเคมี บางอย่างเพื่อเสริมหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่จำเพาะ เช่น อินเตอร์เฟอรอน

วัคซีนทำจากอะไรได้บ้าง

สิ่งที่นำมาเพื่อเตรียมเป็นวัคซีน มีดังนี้ คือ
1. เชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่อ่อนฤทธิ์แล้ว และไม่ก่อให้เกิดโรค ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ยาวนานตัวอย่าง วัคซีนนี้ที่ใช้กันในปัจจุบัน ก็เช่น วัณโรค ( บี ซี จี ) หัด หัดเยอรมัน ไข้เหลือง โปลิโอ (ชนิดกิน) ไข้ไทฟอยด์ ชนิดกิน
2. เชื้อโรคที่ตายแล้ว เช่น วัคซีนไข้ไอกรน พิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ อหิวาต์ และ วัคซีนไข้ไทฟอยด์ ( ชนิดฉีด )
3. พิษของเชื้อโรค ที่อ่อนฤทธิ์แล้ว เช่น บาดทะยัก
4. สารสังเคราะห์ชีวภาพ ซึ่งสังเคราะห์จากส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อ ส่วนมากเป็น พวกโปรตีน หรือ สารพันธุกรรม ( ดี เอ็น เอ )

ขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน

ก่อนที่จะนำมาใช้ได้จริง วัคซีนจะต้องผ่านทดสอบดังต่อไปนี้
ภาพ:วัคซีน2.jpg

ประเภทของวัคซีน

         1. วัคซีนป้องกันโรค
        วัคซีนที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันโดยทั่วไป เป็นวัคซีนที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคโรคทั่วไปที่วัคซีนป้องกันได้ ได้แก่ อีสุกอีใส ตับอักเสบชนิด เอ และ บี ไข้หวัดใหญ่ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ
         2. วัคซีนรักษาโรค
        หลังจากมีการติดเชื้อแล้ว เพื่อ ลด หรือ ยับยั้งความรุนแรงของโรค ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทั้งหมด

ช่องทางการใช้วัคซีน

การฉีด โดยการฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง เช่น วัณโรค (บี ซี จี) บาดทะยัก โปลิโอ
การกิน โดยการหยดเข้าทางปาก เช่น โปลิโอ ไทฟอยด์
การสูดดม เช่น ไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่

ผลข้างเคียงของการได้รับวัคซีน

        การให้วัคซีน อาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ เช่น มีไข้ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ฉีดคล้ายกับการฉีดยาอื่นๆ บางรายอาจมีอาการแพ้ เช่น เป็นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ได้ ( พบได้น้อย )

อาการแพ้วัคซีน

        ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการทั่วไป ได้แก่ อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด ไข้ต่ำ ซึ่งอาจเช็ดตัวเพื่อลดอาการได้ ในรายที่ฉีดวัคซีนบีซีจี มักพบตุ่มหนองบริเวณที่ฉีด ประมาณสัปดาห์ที่ 2- 3 อาการนี้เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ตุ่มนี้จะแตกและแห้งกลายเป็นแผลเป็น ในราวสัปดาห์ที่ 3 – 4 เด็กที่ได้รับวัคซีนบีซีจีแล้วไม่พบแผลเป็น จะต้องรับการฉีดกระตุ้นซ้ำ อาการแพ้ที่รุนแรง เช่น มีผื่นขึ้นทั่วตัว มีไข้สูง ชัก ควรรายงานให้โรงพยาบาลที่รับวัคซีนทราบเพื่อบันทึกในประวัติเด็กว่าแพ้ วัคซีนนั้น การแพ้อาจเกิดจากสารประกอบในวัคซีน เช่น ยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน ซึ่งมักมีอยู่ในวัคซีน MMR หรือแพ้สารในไข่ซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัคซีนไวรัสไข้หวัดใหญ่

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังในการให้วัคซีน

        ไม่ควรให้วัคซีนในขณะที่เด็กไม่สบาย เช่น มีไข้สูง เด็กที่มีประวัติการแพ้วัคซีนนั้น ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็น เช่น วัคซีนบีซีจี, โปลิโอ (OPV), MMR แก่เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกัน บกพร่อง เช่น โรคเอดส์ หรือเด็กที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูงและนาน เด็กที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แล้วมีไข้สูง ชัก ร้องไห้นาน ผู้ปกครองต้องแจ้งแพทย์เพื่อการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป อาจให้เป็นวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หรือวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทอกซอยด์

คำแนะนำทั่วไปในการรับวัคซีน

1. ผู้ปกครองควรทราบว่า บุตรหลานของท่านจะได้รับวัคซีนอะไรบ้าง ในแต่ละช่วงอายุโดยศึกษาจากตารางการให้วัคซีนในสมุดสุขภาพ
2. วัคซีนหลายชนิดสามารถให้พร้อมกันได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก
3. วัคซีนบางชนิดต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง และต้องฉีดกระตุ้นอีกเป็นครั้งคราวจึงจะได้ผลในการป้องกันเต็มที่จึงควรพา เด็กมาตามนัดทุกครั้ง
4. ถ้าเด็กมีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวันนัดผู้ปกครองสามารถพาเด็กมารับวัคซีนตามนัดได้
5. ในกรณี ที่ไม่สามารถตามนัดได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ให้รับวัคซีนต่อไปได้เลยจนครบ ตามที่กำหนด
6. ถ้าเด็กเคยมีอาการผิดปกติหลังการฉีดวัคซีนครั้งก่อน ๆ เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดครั้งต่อไปอีก