ท่องเที่ยว บันเทิง สาระความรู้

ความสัมพันธ์ไทยกับOPEC

ดาว์นโหลดไฟล์ word ปริ้นได้ทันที
http://www.mediafire.com/view/5k5yslyq7xsvdkc




ความสัมพันธ์ไทยกับOPEC
OPEC  (องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก) หรือ OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries)
ประวัติโดยย่อของโอเปก
 โอเปก เป็นองค์กรร่วมของรัฐบาลระหว่างประเทศที่มีความถาวร เริ่มก่อตั้งขึ้นในการประชุมที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 10-14 กันยายน 2503 โดยมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ อิหร่าน  อิรัก  คูเวต  ซาอุดิอาระเบีย และ  เวเนซูเอล่า ต่อมา มีสมาชิกอีก 8 ประเทศ มาเพิ่มเติม ได้แก่  ประเทศกาต้า (2504)  อินโดนีเซีย (2505)  ลิเบีย (2505)  สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514)  เอกวาดอร์ (2516-2535)  กาบอง (2518-2537) ในช่วง 5 ปี แรก โอเปกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 จึงย้ายที่ทำการไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

จุดประสงค์ในการตั้งโอเปก
 เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม
ยุค 1960S (2503-2512)

โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ “Seven Sisters” (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่
(1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil
 (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch
(3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP
 (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil
 (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
(6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
(7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า ChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ 1. ExxonMobil 2. ChevronTexaco 3. Shell และ  4.BP เท่านั้น

  กิจกรรมของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง

เพื่อ เป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม
ยุค 1960S (2503-2512)
 โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ “Seven Sisters”  (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่ (1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch (3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า ChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ (1) ExxonMobil (2) ChevronTexaco (3) Shell และ (4) BP เท่านั้น)
 กิจกรรม ของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง
ยุค 1970S (2513-2522)
     โอเปก เริ่มมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทศวรรษนี้เอง โดยประเทศสมาชิกได้เข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียมในประเทศของตน และร่วมกันประกาศราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในระหว่างนี้ได้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลก 2 ครั้ง มีการหยุดการขนส่งน้ำมันจากประเทศในกลุ่มอาหรับในปี 2516 และเกิดการปฏิวัติในประเทศอิหร่านในปี 2522 ทั้งสองกรณีนี้ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีการประชุมสุดยอดผู้นำของโอเปกขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2518 นอกจากนี้โอเปกได้มีมติรับประเทศไนจีเรียเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ในปี 2514

ยุค 1980S (2523-2532)
 ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงลิบลิ่วในต้นทศวรรษนี้ ก่อนที่จะเริ่มลดราคาลงอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา จนเกิดพังพาบลงไปในที่สุดวิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 3 ในปี 2529 ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนถึงปีท้าย ๆ ของทศวรรษนี้ โดยไม่เหลือร่องรอยของอดีตแห่งความรุ่งโรจน์เมื่อต้นทศวรรษนี้เลย ซึ่งเป็นการเตือนว่าในการเติบโตของความต้องการ ต้องมีการเชื่อมประสานระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย ถ้าต้องการให้ตลาดมีความยั่งยืนได้ในอนาคต ราคาก็ต้องมีความเป็นธรรม นอกจากนี้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยถูกจัดให้อยู่เป็นวาระการประชุมในเวทีระดับโลก



ยุค 1990S (2533-2542)
         วิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 4 เริ่มอีกในต้นศตวรรษนี้ จากการเกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง เมื่อราคาเกิดการพุ่งทะยานขึ้นอย่างแรงทันที จากการกังวลของตลาดว่าการผลิตจากกลุ่มโอเปกเพิ่มขึ้นได้ไม่มาก ต่อมาราคาจึงค่อนข้างคงที่จนถึงปี 2543 เมื่อ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น ได้เกิดการรวมตัวกันของโอเปกและประเทศผู้นำการผลิตปิโตรเลียมนอกกลุ่มโอเปก เพื่อเข้ามาเยียวยาปัญหานี้ จนสิ้นทศวรรษนี้ได้เกิดกระแสเร่งด่วนของโครงการควบรวมกิจการของบริษัทน้ำมัน ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอย่างยิ่งใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วในช่วงทศวรรษนี้บรรยากาศของการเจรจาต่อรองระหว่างนานาชาติ ดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต

มหาอำนาจเกี่ยวกับผลประโยชน์
OPEC เป็นกลุ่มประเทศผู้มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจ และการเมือง
ราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาของกลุ่ม OPEC ก่อให้เกิดผลต่อชาวโลกคือ
มีความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากร ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ และพยายามใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า
เกิดความพยายามที่จะค้นคว้าวิจัย ค้นหาพลังงานอย่างอื่นมาทดแทน เช่นการพัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนจากใต้พิภพเป็นต้น 

ทุก ครั้งที่กลุ่มโอเปกขยับขึ้นราคาน้ำมัน ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลกทำให้สินค้าต่างๆมีราคาแพงมากขึ้นๆ และยิ่งในสถานการณ์ที่มีการนำอาหารคนกินไปผลิตพลังงานทดแทน ยิ่งทำให้วิกฤติการขาดแคลนอาหารยิ่งสูงขึ้นมีการประมาณการว่าน้ำมันที่ใช้ เติมในรถจนเต็มถังหนึ่งคันนั้นเทียบเท่ากับการบริโภคข้าวโพดตลอดทั้งปีของคน หนึ่งคนประเทศสมาชิกโอเปกหลายๆประเทศมีเงินฝากในธนาคารต่างชาติมากมายมหาศาล จนกระทั่งธนาคารนั้นไม่กล้ารับฝากเงินหลายๆประเทศจึงนำเงินส่วนเกินไปลงทุน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั่วทั้งโลกผลจากการกระทำของกลุ่มโอเปกนี้ทำให้หลายๆ ประเทศที่ยากจนอยู่แล้ว ยิ่งลำบากมากกว่าเดิม ในขณะที่กลุ่มโอเปกนั้นรวยขึ้นทุกวัน การขึ้นราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศผู้บริโภค
โอเปกได้ประโยชน์จากค่าสัมปทานประมาณ
30 - 50% ในขณะที่ผู้ผลิตหรือบริษัทน้ำมันยักษ์ทั้งหลาย และการขึ้นราคาก็มาจากฝีมือของเฮจด์ฟันด์ ภายใต้การสนับสนุนของวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ เช่น โซโลมอน บราเทอร์, เมอร์ริล ลินซ์ แน่นอนสื่อกระแสหลักย่อมพยายามสร้างกระแสว่ามาจากโอเปก
ดังนั้นไม่มีทางที่จะลดราคาน้ำมันได้เพราะ บริษัทน้ำมันและธุรกิจการเงินเป็นสปอนเซอร์ของรัฐบาลชาติตะวันตก
 ซึ่ง ตามข้อมูลนั้นราคานำมันเอเชียจะปรับขึ้นเพราะนักลงทุนกำลังจับตาดูผลการประ ชุมเอเปคทางกลุ่มจะยังคงอัตราการผลิตเท่าเดิมหรือขยายกำลังผลิตเพื่อรับราคา น้ำมันในตลาดให้ลดลง แต่เมื่อดูทิศทางแล้วคาดว่าอาจตรึงกำลังการผลิตเท่าเดิมทำให้ราคายิ่งปรับ เพิ่มขึ้นซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นย่อมขึ้นอยู่กับประเทศผู้ผลิต หากกล่าวไปแล้วก็คงไม่พ้นในเรื่องผลประโยชน์และมหาอำนาจของประเทศผู้ผลิตเอง
ดังที่ทราบกันทั่วไป สิ่งที่ทำให้กลุ่ม
OPEC มีอำนาจที่ทรงพลังต่อระบบเศรษฐกิจโลกนั้น คือ น้ำมันดิบ หรือที่มีการเปรียบกันว่าเป็น ทองสีดำ (Black gold) กลุ่ม OPEC มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ได้ในยุคปัจจุบัน (Proved reserves) ที่มากที่สุดของโลก ซึ่งโดยรวมแล้วพบว่า คิดเป็นปริมาณสำรองกว่าสามในสี่ของโลกซาอุดีอาระเบีย คือประเทศที่มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากที่สุดในกลุ่ม OPEC คิดเป็นปริมาณถึงราวหนึ่งในสี่ของโลก และด้วยความที่มีน้ำมันดิบสำรองเป็นจำนวนมากนี้ ทำให้ ซาอุดีอาระเบียและดินแดนตะวันออกกลาง เป็นศูนย์กลางของประเทศกลุ่มโอเปก และมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อสังคมโลกเป็นอย่างสูงมาโดยตลอด นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ที่น้ำมันได้กลายมาเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลกแทนที่ถ่านหินที่มีความยุ่งยาก ในการใช้งาน รวมถึงมีมลพิษ ที่มากกว่าจากข้อมูลปริมาณน้ำมันดิบสำรองของโลกที่รวบรวมโดย บีพี ฉบับล่าสุด (ณ สิ้นปี 2545) นั้น พบว่า โลกยังมีปริมาณสำรองที่ใช้เพื่อรองรับการผลิตใช้งานที่สภาวะปัจจุบัน (Reserves/Production ratio) ได้อีกประมาณ 40 ปี (เปรียบค่านี้ง่ายๆ คือ หากโลกยังคงใช้น้ำมันในการผลิตเท่ากับที่ใช้อยู่ปัจจุบันไปเรื่อยๆ อย่างคงที่ เราจะมีน้ำมันดิบใช้กันอีก 40 ปี โดยค่านี้จะไม่สนใจปริมาณน้ำมันดิบที่คาดว่าจะใช้ในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีค่าที่สูงขึ้น แต่อย่างใด หากแต่จะสนใจเฉพาะปริมาณน้ำมันที่ใช้ในปัจจุบันเท่านั้น) ในขณะที่กลุ่มประเทศ OPEC มีปริมาณสำรองรองรับได้ถึง 82 ปี โดยซาอุดีอาระเบียอีกเช่นกัน ที่เป็นประเทศที่มีค่าสูงที่สุดของโลก ตามมาด้วยเวเนซุเอลา และอิหร่าน 
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ว่าเหตุใดซาอุดิอาระเบียจึงเปรียบเสมือน "มิตรรัก" ของประเทศสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามอ่าวครั้งแรก หรือในครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากสหรัฐเองเป็นประเทศที่มีการใช้น้ำมันมากที่สุดของโลก และ คงจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอีกเช่นกัน ที่สหรัฐยอมขายเทคโนโลยีทางการทหารชั้นสูง เช่น เครื่องบินรบระดับแนวหน้าบางรุ่น ที่เดิมไม่ยอมขายให้แก่ประเทศใด ให้แก่เฉพาะซาอุดีอาระเบีย


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OPEC 
  กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือ ทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก ประวัติการก่อตั้ง โอเปกจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2503 โดยอิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมเป็นสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออกเมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก พ.ศ. 2538 ปัจจุบันจึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ เดิมโอเปกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาในพ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ในระยะเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มโอเปกขึ้นมา การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิก ต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปกในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมาย สำคัญ 3 ประการ ดังนี้                                                                                                                          1. เพื่อเจรจากับบริษัทผู้ไดรับสัมปทานการตั้งกองทุนน้ำมันดิบให้เท่ากันทุกประเทศ               2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเป็น รายได้ของประเทศ  3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป กลุ่มโอเปกได้ดำเนินงานไปตามจุดประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และต่อมาเมื่อมีสมาชิก เพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้น
1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดิบในเงื่อนไขที่ดี 
2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น 
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน ผลการปฏิบัติงาน ในปัจจุบันโอเปกเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งระบบเศรษฐกิจและ การเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันแต่เหตุที่ ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปกมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันอีกด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ในระยะหลังมานี้มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือ ประเทศคูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคง ของเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปกได้ แต่ประเทศอิหร่าน แม้มีปริมาณน้ำมันสำรอง อยู่มากแต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลักลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปกให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ประเทศอิรักมีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้ อย่างจำกัดมาก ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อยเพราะเป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมากจึงต้องผลิตน้ำมันเกินโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า ที่โอเปคกำหนด กิจกรรมสำคัญ ที่โอเปกดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาคือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้งจนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันดิบ เป็นสินค้าออกเหล่านี้มีบานะร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคง และพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ นอกจากนี้สมาชิกของกลุ่มโอเปกยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปกและประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วน นับถือศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปก ได้แก่ การติดต่อค้าขายน้ำมันและ ด้านแรงงานที่ไทยมักส่งไปประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อ
กันในด้านอื่นนับว่ามีน้อย
แม้กลุ่มประเทศโอเปกจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองกับประเทศต่างๆทั่โลกทั้งด้าน เศรษฐกิจและการเมือง และประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปก


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปกสรุปได้ ดังนี้
1.  ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปก โดยนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออก ที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง 2.  ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยได้จัดส่งแรงงาน เข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปกเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องติดตาม และให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปกที่คนไทยไปทำงานกันมากได้แก่ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ส่วนในประเทศอิรัก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้ว จำนวนคนงานไทยลดลงและไม่มีแรงงานไทยอีก เมื่อเกิดสงครามและอดีตประธานาธิบดี ซัดดัมถูกโค่นอำนาจ 
3.  ด้านการเมือง มักเป็นความสำคัญทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ 
 4.  อื่นๆ กลุ่มโอเปกได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยให้ความสะดวก
แก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาดูงานในไทย โดยเฉพาะการเกษตรบทบาทขององค์การโอเปกในปัจจุบัน
 ฐานะความสำคัญของโอเปกลดลงไปอย่างมาก ไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก  ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตนได้ และไม่อาจใช้น้ำมันเป็นอาวุธบีบให้ชาติมหาอำนาจตะวันตกปฏิบัตินโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศตามความต้องการของกลุ่มตนได้  เนื่องจากประเทศสมาชิกโอเปกต่างไม่ปฏิบัติตามกติกา  ไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจัง  เช่น  ลักลอบผลิตน้ำมันเกินโควตาที่กำหนด  ทำให้ปริมาณน้ำมันล้นโลก  และมีประเทศนอกกลุ่มสามารถผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากเช่นกัน  ได้แก่  อังกฤษ  เม็กซิโก  บรูไน  นอร์เวย์ ฯลฯ  ทำให้อำนาจขององค์การโอเปกไม่อาจสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่ชาวโลกได้เหมือนดังในอดีต  คงทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น
การบริหารองค์กรของโอเปก
  สมาชิกโอเปกให้ความร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นคงในตลาดน้ำมัน และช่วยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้รับการคืนทุนให้คุ้มกับที่ได้ลงทุน นอกจากนี้นโยบายนี้ยังได้กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าจะได้รับน้ำมันตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
        องค์กรด้านพลังงานและไฮโดรคาร์บอนจะจัดให้มีการประชุม ปีละ 2 ครั้ง ในการทบทวนบทบาท และสถานะในตลาดน้ำมันโลก รวมทั้งคาดการณ์อนาคต เพื่อจะได้ตกลงร่วมกันในการแสดงบทบาทอย่างเหมาะสม ในการสร้างความมั่นคงให้แก่ตลาดน้ำมัน
          ประเทศสมาชิกยังมีการจัดการประชุมอื่น ๆ ตามระดับความสนใจ ได้แก่ การประชุมของผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมและด้านเศรษฐศาสตร์ การประชุมของผู้แทนระหว่างประเทศ รวมทั้งงานเฉพาะกิจอื่น ๆ เช่น การประชุมของคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 
          การตกลงใจเพื่อหาจุดเหมาะสมของการผลิตน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดนั้นจะเกิดขึ้นในการประชุมของโอเปก รายละเอียดและผลของการประชุมจะมีแถลงการณ์ออกมาทุกครั้ง
          สำนักเลขาธิการโอเปก เป็นองค์กรที่มีสถานะถาวรในการร่วมงานกันของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ สำนักเลขาธิการที่มีฐานการทำงานที่กรุงเวียนนา ตั้งแต่ปี 2508 นั้น ได้ดำเนินงานด้านการวิจัย และงานด้านบุคคล ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารต่างออกไปทั่วโลก
วิเคราะห์อำนาจผูกขาดของ OPEC ในระยะสั้นและระยะยาว
            ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1760) ถ่านหินนั้นถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นพลังงานที่ใช้ในเครื่องจักรไอน้ำ และใช้ในการผลิตต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 มีการขุดพบน้ำมัน ค.ศ.1859 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั่วโลกหันมาใช้น้ำมันปิโตรเลียม โดยใช้ในรถยนต์และเครื่องจักรเป็นส่วนมาก
 ราคาน้ำมันในช่วงแรกนั้นถูกจนถึงในปี ค.ศ. 1973 เป็นปีที่เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรก ราคาน้ำมันสูงขึ้น 4 เท่า สาเหตุเพราะ OPEC ลดปริมาณการส่งออกน้ำมัน ต่อมาในปี ค.ศ.1979 เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งที่ 2 ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก เนื่องจากการปฏิวัติในอิหร่านทำให้การผลิตหยุดชะงัก ราคา น้ำมันค่อนข้างนิ่งในช่วงปี ค.ศ.1986 ถึง 2002 จนกระทั่งราคากลับพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าในช่วงปี ค.ศ.2003 ถึง 2008 ซึ่งเกิดวิกฤตน้ำมันครั้งที่ 3 สาเหตุเพราะ กำลังการผลิตส่วนเกินค่อนข้างต่ำในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (เนื่องจากราคาต่ำ ขาดแรงจูงใจ 
ในการขยายกำลังการผลิต) ไม่เพียงพอต่อ
demand ที่สูงขึ้นทุกวันๆ รวมไปถึงความไม่สงบในอิรัก ทำให้กำลังการผลิตในอิรักลดลงด้วยส่วนหนึ่ง แต่ราคาน้ำมันลดลงในปลายปี ค.ศ. 2008 ต่อเนื่องถึงปี 2009 เนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ความต้องการใช้น้ำมันลดลง แต่มีการคาดการณ์ว่าในอนาคต ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย
ในระยะสั้น
-   ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามีค่าต่ำ เพราะการปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้น้ำมันต้องอาศัยเวลาระยะหนึ่ง เช่น การจะเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม
-    ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคามีค่าต่ำ (โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ไม่ใช่ OPEC) เพราะ การจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันไม่สามารถทำได้ในทันที ต้องอาศัยการลงทุนในการสำรวจแหล่งน้ำมัน ลงทุนในเครื่องจักร
-    การลดการผลิตลงของ OPEC จะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคามีค่าต่ำ
ในระยะยาว
-    ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาจะมีค่าสูงขึ้น เพราะ ผู้บริโภคสามารถปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้น้ำมันได้ อีกทั้งยังสามารถหาพลังงานทดแทนมาใช้แทนน้ำมันได้อีกด้วย
-    ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคาก็จะมีค่าสูงขึ้น เพราะ ผู้ผลิตจะสามารถขยายกำลังการผลิตได้ทำให้สามารถผลิตน้ำมันได้ในปริมาณมาก ขึ้น
-    การลดการผลิตลงของ OPEC จะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคามีค่าสูงขึ้น
ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น
คำเตือนจากบุคคลระดับเลขาธิการใหญ่
"อับดัลลา เอล-บาดรี" กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่สุดของโลก หรือโอเปก เกี่ยวกับกระแสตื่นตัวในการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงชีวภาพในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งทะยานจนทะลุเพดาน แม้จะยังไม่ส่งแรงกระเพื่อมไปยังตลาดน้ำมันและตลาดการเงินอื่นๆ ให้อยู่ในอาการปั่นป่วนมากมายนัก
แต่ในบางมุมมอง กลับช่วยสะท้อนภาพที่แท้จริงของตลาดน้ำมัน ระดับราคา และอิทธิพลของผู้เล่น ทั้งในฟากดีมานด์และซัพพลายได้ดียิ่งขึ้น
1. คำเตือนครั้งนี้ มาจากกลุ่มประเทศซึ่งควบคุมแหล่งน้ำมันและการผลิตไว้มากถึง 40% ของทั่วโลก และมาพร้อมกับคำขู่ที่ว่า อาจพิจารณาปรับลดการลงทุนใหม่ๆ ในการผลิตน้ำมัน เพื่อเป็นการตอบโต้ประเทศต่างๆ ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทางเลือก ทั้งเพื่อประโยชน์ในแง่ของความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน ลดการพึ่งพาการใช้น้ำมันในปริมาณมาก และช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก หรือ "โลกร้อน"
2. คำเตือนดังกล่าวยังเป็นเสมือนการส่งสัญญาณตรงไปยังเวทีการประชุมกลุ่มจี-8 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างกลุ่ม ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 ชาติ (จี-7) กับรัสเซีย เนื่องจากในระยะหลังๆ ปัญหาโลกร้อนเริ่มแผ่อิทธิพลมาถึงเวทีการประชุมนี้มากขึ้น เพราะแกนนำกลุ่มคือสหรัฐ กำลังผลักดันนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเอทานอลอย่างจริงจัง 

ในยุคของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช มีการให้คำมั่นว่า จะปรับลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมในประเทศลง
20% ภายใน 10 ปี ผ่านการปรับเพิ่มประสิทธิภาพของยานยนต์ และเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ประมาณ 1.2 หมื่นล้านแกลลอนภายในปี 2555
 ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานสากลพบว่า ปัจจุบันปริมาณการใช้เชื้อเพลงชีวภาพ ซึ่งใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตร อาทิ ข้าวโพดและน้ำตาล มีสัดส่วนเพียง 1% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งทางบก ขณะที่องค์การเกษตรและอาหารของสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโออ้างว่า หากพิจารณาจากการใช้พลังงานประเภทนี้ในกิจกรรมทุกประเภท เชื้อเพลิงชีวภาพจะมีสัดส่วนประมาณ 8-10% ของการผลิตพลังงานทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 5% เมื่อ 10 ปีก่อน
 แม้คำขู่ของโอเปกจะสะท้อนความหวาดระแวงต่อพลังงานทางเลือก แต่หากพิจารณาจากบริบทต่อมา ซึ่งระบุว่าแนวโน้มการพัฒนาพลังงานทางเลือก อาจไม่ยั่งยืนในระยะกลาง เพราะการนำวัตถุดิบที่เป็นผลิตผลการเกษตรมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิง เท่ากับเป็นการแย่งอาหาร ทั้งยังมีผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรเหล่านั้นพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี แม้ทางเอฟเอโอจะยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ผลกระทบต่อการจัดหาอาหาร จากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ กับแสดงออกถึงความเชื่อมั่นที่ว่า ที่สุดแล้ว พลังงานประเภทน้ำมันก็ยังเป็นเชื้อเพลิงหลักของมนุษย์

เห็นได้จากแผนการลงทุนของประเทศสมาชิกในกลุ่มโอเปกที่สูงถึง
130,000 ล้านดอลลาร์ นับถึงปี 2555 เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน และมีแผนลงทุนเพิ่มอีก 500,000 ล้านดอลลาร์ ในโครงสร้างพื้นฐานทางการผลิต นับจากปี 2556 เรื่อยไปจนถึงปี 2563 แม้เลขาธิการใหญ่กลุ่มโอเปกจะขู่ว่า แผนการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มของเชื้อเพลิงชีวภาพก็ตาม 
 ยิ่งกว่านั้น หากพบว่าโลกหันมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น โอเปกมีแนวโน้มจะลดปริมาณการผลิตลง เพื่อทำให้ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น ในระดับที่ต้องการ ดังบทสนทนาระหว่าง "เอ็ด ครุก" และ "สกอต แจโกว" 2 เหยี่ยวข่าวที่คร่ำหวอดวงการพลังงาน ใน marketplace.publicradio.org ที่ระบุว่า เป็นเกมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค สิ่งที่โอเปกพูด คือ เราต้องมาพูดจากัน ซึ่งนัยความหมาย คือ สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ซึ่งอยู่ในอีกฟากหนึ่ง จะต้องพูดคุยกับโอเปก
ที่น่าสนใจ คือ บทสนทนาที่เผยแพร่ในเว็บนี้ ใช้หัวเรื่องว่า
OPEC math : More biofuel = higher oil prices หรือคณิตศาสตร์โอเปก : มีเชื้อเพลงชีวภาพมากขึ้น = ราคาน้ำมันสูงขึ้น
ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบโลกอยู่ที่ระดับ
66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แรงแกว่งตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบมาจากกระแสความวิตกต่อผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหน่ำใส่บริเวณใกล้โอมาน และพุ่งเข้าหาอิหร่าน ซึ่งนักวิเคราะห์ เรียกส่วนต่างราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นไป เวลามี ปัจจัยลบใหม่ๆ ซึ่งอาจกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันว่า ค่าความเสี่ยง (risk premium) จำได้ว่า ในช่วงที่ก่อการร้ายกำลังปะทุหนัก แล้วราคาน้ำมันทะยานเหนือ 40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อ 3-4 ปีก่อน ในตอนนั้นค่าความเสี่ยงที่บวกเพิ่มอยู่ในน้ำมันมีสัดส่วนถึง 25% ของราคาน้ำมันดิบในช่วงเวลานั้น นับถึงขณะนี้ ระดับราคาเฉลี่ยที่ผ่านมาเกิน 60 ดอลลาร์เป็นเวลานาน ปัจจัยลบที่ตลาดกังวล มีตั้งแต่ก่อการร้าย ความไม่สงบในประเทศ แหล่งพลังงาน นโยบายนิวเคลียร์ของอิหร่านและเกาหลีเหนือ  แต่หากพิจารณาอย่างจริงจังแล้ว ยังมีค่า พรีเมี่ยมอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย นั่นคือ นโยบายของโอเปกที่ต้องการคงราคาน้ำมันไว้ในระดับสูง โดยอ้างถึงผลกระทบจากปัญหาดอลลาร์อ่อนที่กระทบต่ออำนาจซื้อของพวกเขาและที่มองข้ามไม่ได้ ยังรวมถึงต้นทุนการผลิต ซึ่งมาจากการขุดเจาะและการสำรวจ รวมถึง ค่าจ้างแรงงานก็แพงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่อ้างว่า ค่าเช่าเรือในการขุดเจาะแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 200,000 ดอลลาร์ต่อวัน ในช่วงปลายปี 1990 ถึงต้นปี 2000 เพิ่มเป็น 525,000 ดอลลาร์ต่อวันในปัจจุบัน 

ทางออกของปัญหาผลกระทบ
แนวโน้มราคาน้ำมันในอนาคต และทางเลือกของไทย
แม้ว่าโลกมักจะเลือกจดจำถึงบทบาทแต่ในด้านลบของกลุ่ม
OPEC ที่มีต่อราคาน้ำมันดิบของโลกจากวิกฤตการณ์น้ำมันเมื่อราว 30 ปีก่อน แต่ทว่าบทบาทของกลุ่ม OPEC ต่อ การมีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจโลกในช่วงหลังสงครามอ่าวครั้งแรก โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มให้สูงขึ้น ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างเป็นประวัติการณ์ก็จัดเป็นอีกเหตุการณ์ ที่น่าศึกษาถึงแนวคิดของ OPEC เช่นกัน
ท่ามกลางสถานการณ์น้ำมันแพงเช่นในปัจจุบัน
OPEC จะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดหรือไม่ และนโยบายการผลิตน้ำมันของ OPEC จะมีผลอย่างไรถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในอนาคต รวมถึงผลกระทบต่อประเทศไทยนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
การผลิตและความต้องการที่ไม่สอดคล้อง
จากความต้องการน้ำมันในโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา และยังไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลายลงแต่อย่างใดนั้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันได้ไต่ระดับอย่างต่อเนื่อง มีหลายเหตุผลที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพอสรุปได้ว่ามาจาก
1. การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีน ทำให้ต้องการน้ำมันเพิ่มกว่า 20% ในปีที่ผ่านมา
2. การฟื้นคืนของเศรษฐกิจอเมริกา ที่ส่งผลต่อเนื่องให้สต็อกน้ำมันกลางของสหรัฐลดต่ำลง
3. ปัญหาความหวาดระแวงของสงครามในย่านตะวันออกกลาง ที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังการทำลายระบบผลิต และระบบท่อส่งน้ำมันในอิรัก ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบในอิรัก ซึ่งเดิมถือเป็นอีกหนึ่งประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของกลุ่ม OPEC ลดต่ำลง
4. ความไม่นิ่งของการเมืองในกลุ่มประเทศ OPEC เช่น ในเวเนซุเอลา ไนจีเรีย และ อิรัก
5. ความไม่พร้อมของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐ ที่ไม่สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมัน ในประเทศที่มีความหลากหลายมากขึ้น ภายหลังจากการที่รัฐบาลกลางสหรัฐ ได้ออกกฎหมายมลพิษที่เข้มงวดและหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้มีความต้องการใช้น้ำมัน "คุณภาพสูง" ที่ต้องผ่านการกลั่นหลายขั้นตอนมากขึ้น


ทางออกของไทยในระยะสั้น
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก และใช้พลังงานเพียง
0.7% ของการใช้พลังงานของทั้งโลก แต่ทว่าคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลของราคาน้ำมันได้กระทบไปยังทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพิงพลังงานจากปิโตรเลียมเป็นหลักนั่นหมายถึงว่า คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องพิจารณานำระบบหรือแนวคิดจัดการใหม่ๆ มาใช้ในภาคขนส่ง เช่นในรถยนต์ส่วนบุคคล การเพิ่มทางเลือกของการใช้เชื้อเพลิงจำพวก Bio-fuel ให้ มากขึ้น เช่น การนำเอธานอล หรือ ไบโอดีเซล มาใช้ตามพระราชดำริ หรือ การเพิ่มมาตรการสนับสนุนด้านการเงินและภาษีในการเปลี่ยนจากน้ำมันเบนซินมา สู่ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลได้รณรงค์อยู่ในปัจจุบันนั้น นับเป็นแนวทางที่เหมาะสมและต้องเร่งดำเนินการหากแต่ด้วยข้อจำกัดของวัตถุดิบต่างๆ ในการผลิตเอธานอล และไบโอดีเซล ที่อาจกระทบต่อปริมาณการส่งออกน้ำตาลหรือแป้งมันสำปะหลังของประเทศ การเริ่มพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำแนวคิดรถ Hybrid ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและเชื้อเพลิงมาพิจารณาและสนับสนุนทั้งด้านราคาและภาษีนำเข้า เนื่องจากนอกจากจะสามารถลดการใช้น้ำมันแล้ว รถ Hybrid ยังจะสามารถช่วยลดมลพิษได้ในระยะยาวอีกด้วย
นอก จากนี้ รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นมากขึ้นในเฉพาะเมืองใหญ่ เพื่อให้กฎหมายเป็นเครื่องมือหลักในการนำยานยนต์เก่าที่ขาดการดูแลอย่างถูก ต้อง (ก่อมลพิษมาก และใช้น้ำมันมาก) ให้ไม่สามารถนำมาขับขี่บนทางหลวงแผ่นดินได้ในระบบขนส่งสินค้าหรือขนส่งคน แน่นอนว่าระบบที่จะมีความโดดเด่นมากขึ้นในอนาคตตามแผนแม่บทด้านขนส่งของ รัฐบาลคือ ระบบราง ซึ่งในปัจจุบันมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานหลัก ในส่วนของ ร.ฟ.ท. นั้น จำเป็นที่จะต้องสร้างทางเลือกในการเพิ่มบทบาทของการให้บริการด้านการขนส่ง สินค้าให้มากขึ้น โดยที่ ร.ฟ.ท. เองควรสร้างระบบที่เอื้ออำนวยต่อการแข่งขันในด้านนี้ เช่น อาจมีการตั้งองค์กรย่อยที่ทำการตลาดเชิงรุก เพื่อแข่งขันกับระบบขนส่งสินค้าโดยใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ที่นอกจากจะสิ้น เปลืองพลังงานมากกว่าระบบรางทั่วไปหลายเท่าแล้ว ยังช่วยลดอุบัติเหตุและยืดอายุของทางหลวงแผ่นดินในทางอ้อมอีกด้วยจังหวัดที่ มีศักยภาพที่ทาง ร.ฟ.ท. สามารถจะเริ่มต้นแนวคิดนี้ได้ คือจังหวัดที่มีสินค้าที่มีความยืดหยุ่นด้านระยะเวลาขนส่งได้ เช่น ข้าวหรือน้ำตาล ซึ่งไม่เน่าเสียในเวลาสั้น ตัวอย่างเช่น นครสวรรค์ ที่เป็นศูนย์กลางข้าวของประเทศ และมีโรงงานน้ำตาลถึง
2 แห่ง รวมแล้วมีสินค้าที่ต้องขนส่งกว่า 8 ล้านตันต่อปี ซึ่งพบว่า หากสามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบรางเพียงหนึ่งในสี่ จะสามารถลดการใช้น้ำมันในจังหวัดได้ถึงหลายสิบล้านลิตรต่อปีแต่ทั้งนี้ การดำเนินการจะต้องมีการจัดการระบบและลำดับเวลาต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด
นอกจากนี้ การพิจารณานำระบบก๊าซธรรมชาติมาใช้ในระบบรางทดแทนน้ำมันดีเซลในหัวรถจักร น่าจะเป็นอีกทางเลือกของไทยในระยะยาว ที่แม้จะลงทุนสูงในขณะเริ่มต้น แต่เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพรวมของระบบในระยะยาวแล้ว จะมีความเหมาะสมอย่างแน่นอนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักนั้น อาจมีผลกระทบไม่มากเท่าภาคขนส่ง หากแต่แนวทางที่เหมาะสมคือ การใช้น้ำมันเตาทดแทนน้ำมันดีเซล เนื่องจากราคาน้ำมันเตาในตลาดโลกนั้น มีแนวโน้มด้านราคาที่ลดต่ำลงเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางกลับราคาน้ำมันดีเซลและเบนซิน
ดัง นั้น การปรับปรุงหัวเผาต่างๆ เพื่อรองรับน้ำมันเตา จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่โรงงานได้ในช่วงระยะเวลานี้หากแต่ในระยะยาว นั้น ถ่านหินคุณภาพสูงที่มีมลพิษต่ำน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าการใช้ เชื้อเพลิงเหลวที่มีความเสี่ยงด้านราคาสูงกว่านอกจากภาคเศรษฐกิจต่างๆ แล้ว ในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้น การอนุรักษ์พลังงานตามแนวทางที่ภาครัฐได้แนะนำไว้นับเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ตามอย่างยิ่งเนื่องจากว่านอกจากจะช่วยชาติลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างชาติแล้ว ยังจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของตนเองได้อีกด้วย
 
 
อ้างอิง
ประชาติธุรกิจ http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=936.0
กรมเชื้อเพลิงพลังงาน http://guru.sanook.com/pedia/topic
http://learning.eduzones.com
http://kv-lit.heroku.com/blog/krauserii/456153
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5df2d0e1524a62e6