มานีมีสาระ

ท่องเที่ยว บันเทิง สาระความรู้

เม็ดเลือดขาว (white blood cells)

ดาว์นโหลดไฟล์ word ปริ้นได้ทันที
https://www.mediafire.com/?h88vt41qfazj2uv


เม็ดเลือดขาว (white blood cells)

ho

เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte)
                เม็ดเลือดขาวช่วยทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันคอยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ให้แก่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่มีฮีโมโกลบินแต่มีนิวเคลียสอยู่ด้วย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 2-3 วัน เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของเม็ดเล็กๆ (granule) ที่อยู่ในเซลล์ คือ
                1) แกรนูโลไซต์ (granulocyte)
                เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในเซลล์ด้วย สร้างมาจากไขกระดูกแบ่งตามลักษณะของนิวเคลียสและการย้อมติดสีได้เป็น 3 ชนิด คือ
                1.1 นิวโทรฟิล (neutrophil) แกรนูลย้อมติดสีน้ำเงินม่วงและแดงคละกัน ทำให้เห็นเป็นสีเทาๆ มีนิวเคลียสหลายพู ทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยการกินแบบฟาโกไซโทซิส แล้วจึงปล่อยน้ำย่อยจากไลโซโซมออกมาย่อย นิวโทรฟิลมีประมาณร้อยละ 65-75 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด นิวโทรฟิลมักกินสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กจึงเรียกว่าไมโครเฟก (microphage) ซากของแบคทีเรียที่นิวโทรฟิลกินและนิวโทรฟิลที่ตายจะกลายเป็นหนอง (pus) และกลายเป็นฝีได้
                1.2 อีโอซิโนฟิล (eosinophil) หรือแอซิโดฟิล (acidophil) แกรนูลย้อมติดสีชมพู มีนิวเคลียส 2 พู ทำหน้าที่เช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและช่วยในการป้องกันการแพ้พิษต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ทำลายพยาธิที่เข้าสู่ร่างกายได้ด้วย อีโอซิโนฟิลมีประมาณร้อยละ 2-5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
                1.3 เบโซฟิล (basophil) แกรนูลย้อมติดสีม่วงหรือน้ำเงินทำหน้าที่ปล่อยสารเฮพาริน (heparin) ซึ่งเป็นสารพวกพอลิแซ็กคาไรด์ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดและ สร้างฮิสทามีนซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้หรืออักเสบ เบโซฟิลมีประมาณร่อยละ 0.5 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
                2) อะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte)
                เป็นพวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลเล็กๆ ในเซลล์ สร้างมากจากม้ามและต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                2.1 ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีนิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์ สามารถสร้างแอนติบอดี (antibody) ขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคได้ ลิมโฟไซต์มีประมาณร้อยละ 20-25 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ลิมโฟไซต์แบ่งออกเป็นหลายชนิด คือ ลืมโฟไซต์ชนิดบี (B-lymphocyte) หรือ เซลล์บี (B-cell) ซึ่งเจริญพัฒนาที่ไขกระดูก หรือไปเจริญพัฒนาที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte) หรือ เซลล์ที (T-cell) ซึ่งจะเจริญและพัฒนาที่ต่อมไทมัส (thymas gland)
                2.2 มอโนไซต์ (monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีนิวเคลียสใหญ่ รูปเกือกม้าอยู่ที่บริเวณกลางเซลล์ มอโนไซต์มีประมาณร้อยละ 2-6 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มอโนไซต์กินแบคทีเรียแบบฟาโกไซโทซิสเช่นเดียวกับนิวโทรฟิลและมักกินของโตๆ ทที่เม็ดเลือดขาวอื่นกินไม่ได้จึงถูกเรียกแมโครเฟก (macrophage)
เม็ดเลือดขาวสามารถเล็ดลอดออกนอกเส้นเลือดได้โดยวิธีที่เรียกว่าไดอะพีดีซิส (diapedesis) แล้วเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีการติดเชื้อ หรือเกิดบาดแผลเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ เช่น ไส้ติ่งอักเสบหรือปอดบวม เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอักเสบจากเชื้อไวรัส เซลล์เม็ดเลือดขาวจะลดลง
                โรคลิวคีเมีย (leukemia) เป็นโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดขาวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้มีการสร้างอยู่เรื่อยๆ จนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติอยู่หลายเท่า เซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ทำหน้าที่ไม่ได้ เนื่องจากเซลล์มีลักษณะเป็นเซลล์อ่อนการเจริญผิดปกติจึงแบ่งเซลล์ได้ตลอด เวลา ซึ่งเรียกกันว่า โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ
                เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil
                สร้างขึ้นในไขกระดูกเมื่อเปลี่ยนร่างมาถึงระยะ band shape / matrure neutrophil จึงจะหลุดมาอยู่ในกระแสเลือด ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 60-65% ลักษณะของนิวเคลียสเป็น lope (ประมาณ 2-5 lope) cytoplasm ประกอบด้วย specific granule และ azurophilic granule จัดเป็นพวก phagocyte ใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอม ทั้งที่อยู่ใน เนื่อเยื่อและในกระแสโลหิต ปกติ จะไหลไปมาในกระแสเลือด จะเคลื่อนตัวไปยังแหล่งสิ่งแปลกปลอม จากสารดึงดูด
                เม็ดเลือดขาวชนิด Eosiophil
เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ย้อมติดสีส้มแดง ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 2-5% จัดเป็นเซล phagocyte แต่จะเลือกกินเฉพาะ antigen-antibody complex เท่านั้น ในรายที่มี anaphylatic hypersensitivity หรือ มีพยาธิ์ (parasitic infection) จะพบว่ามีระดับ ของ eosinophil เพิ่มสูงขึ้นได้
                เม็ดเลือดขาวชนิด Basophil
เป็นเซลที่ใน cytoplasm มี granule ขนาดใหญ่กว่าในกลุ่ม เดียวกัน ( neutrophil, eosinophil) granule ย้อมติดสีม่วงเข้ม ใน granule ประกอบด้วยสารสำคัญเช่น histamine และ SRS-A ( slow reaction
substance of anaphylacxis) ที่ผิวมี receptor ต่อ IgE มีบทบาท สำคัญในเรื่องภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (anaphylaxis) ในกระแสโลหิตจะ พบได้ประมาณ 1-2%
                เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte
                เป็นเซลประเภท phagocyte ใน cytoplasm ติดสีฟ้าอมเทาและมี azurophilic granule อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของ nucleus อาจ เป็น รูปไข่ หรือรูปเกือกม้า หรือรูปไต ในกระแสโลหิตจะพบได้ประมาณ 3-5%
จะมีชีวิตเฉลี่ยประมาณ 5-7 วัน ส่วนหนึ่งจะผ่านผนังหลอดเลือดเข้าไปอยู่ใน เนื้อเยื่อกลายเป็น macrophage เมื่อมีสิ่งแปลกปลอม lymphocyte จะให้ สารที่เป็นตัวเรียกให้ monocyte มาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นด้วยวิธีการ
phagocytosis












เชื้อไวรัส
                สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในคนเราที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เชื้อไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาแม้ว่าจะมีกำลัง ขยายถึง 100 เท่าก็ตาม เชื้อไวรัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศอิเลคตรอน ซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 5,000 เท่าขึ้นไปจึง จะทำให้มองเห็นได้ ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวอยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส ซึ่งเป็นตัวแสดงพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าแคพซิด เซลล์ของเชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคน และสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ ไวรัสบางตัวอาจมีเยื่อหุ้มบุอีกชั้นซึ่งมีสารไขมันเป็นส่วนประกอบ ไวรัสไม่มีพลังงานสะสมในตัว ไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่ออยู่นอกเซลล์ของคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่เชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป มันจะเพิ่มจำนวนและทำให้เกิดโรคได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ของผู้ติด เชื้อแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นโรงงานผลิตเชื้อไวรัส
                เชื้อ ไวรัสสามารถที่จะแบ่งตัวและขยายจำนวนได้ในเซลล์ของร่างกายคนเรา โดยเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสอยู่ อาจถูกทำลายไป หรืออาจถูกรุกราน ทำให้เซลล์นั้นทำงานได้ไม่เหมือนปกติ ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ ได้ อาการและโรคบางชนิดที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาการไอหรือไข้ในเด็กเป็นต้น นอกจากนี้โรคฮิตในปัจจุบันก็คือ โรคเอดส์ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเช่นกัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นโรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการไม่ร้ายแรง ก็อาจหายไปได้เอง เพียงแต่รักษาตามอาการที่มีอยู่ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ที่ก่อโรคแก่มนุษย์ เช่นเดียวกับเชื้อแบคทีเรีย หน่วยของไวรัสเองจะมีรหัสกรดนิวคลีอิคที่เป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ ก็ได้แล้วแต่ชนิดของไวรัสนั้น หน่วยของไวรัสไม่มีเครื่องมือสำหรับการแบ่งตัวสร้างหน่วยใหม่โดยตัวเอง มันจึงจำเป็นต้องอาศัยเซลที่มีชีวิตอื่นเพื่อทำการยังชีพ และเพิ่มจำนวนตัวเอง อีกนัยหนึ่งตามความหมายที่ว่านี้ ไวรัสจึงคล้ายๆพยาธิที่คอยเกาะกินเซลมีชีวิต เช่น เซลร่างกายมนุษย์ และเพิ่มจำนวน ในการเข้าสิงสู่อาศัยในเซลร่างกายมนุษย์ บางเซลมนุษย์อาจถูกทำลายลง แต่บางเซลที่ไวรัสอาศัยอยู่ก็ไม่ถูกทำลาย ตกอยู่ในสภาพการเกาะกินอย่างเรื้อรังยาวนาน เช่น พวกไวรัสโรคเริม หรือไวรัสบางพวกเลียนแบบเซลปกติของร่างกายก่อให้เกิดการแบ่งตัวจนกลายเป็น เนื้องอกขึ้นมาได้และเนื่องมาจากการสิงสู่ในเซล การเลียนแบบเซลปกติของมนุษย์นี่เอง ทำให้การค้นหาเชื้อ การวินิจฉัย รวมทั้งการใช้ยารักษาทำลายเชื้อจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

โครงสร้างของไวรัส
                 1. ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์ที่มี โครงสร้างแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน ไวรัสที่มีส่วนประกอบครบสมบูรณ์เรียกว่าวิริออน ซึ่งจะประกอบด้วยแกนกลางของกรดนิวคลิอิกซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ และมีโปรตีนหุ้มล้อมรอบเพื่อป้องกันกรดนิวคลิอิก
                2. โปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่าแคพซิด ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่าแคพโซเมอร์ กรดนิวคลิอิก และโปรตีนที่หุ้มนี้เรียกว่านิวคลีโอแคพซิด
                3. ในไวรัสบางชนิดจะมีชั้นไขมัน หุ้มล้อมรอบนิวคลีโอแคพซิดอีกชั้นหนึ่ง เรียกไวรัสพวกนี้ว่าชนิดมีเปลือกหุ้ม ไวรัสบางชนิดมีเฉพาะนิวคลีโอแคพซิดเท่านั้น เรียกว่าไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม หรือไวรัสเปลือย
                4. ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มบางชนิดมี ปุ่มยื่นออกมา เรียกว่าหนาม ซึ่งมีความสำคัญในการใช้เกาะกับโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ และบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ดี หนามของไวรัสอาจมีคุณสมบัติเป็นสารบางอย่าง เช่น เป็นฮีแมกกลูตินิน หรือเป็นเอ็นไซม์นิวรามินิเดส
                5. โดยทั่วไปไวรัสที่ไม่มีเปลือก หุ้มมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม และจะไม่ถูกทำลายด้วยสารละลายไขมัน เช่น อีเธอร์ อัลกอฮอล หรือน้ำดี
                6. เมื่อเชื้อไวรัสอยู่ภายนอกร่าง กายของโฮสต์ จะค่อยๆ สูญเสียสภาพการติดเชื้อ ซึ่งจะช้า หรือเร็วขึ้นกับสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แต่การทำลายเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือด สารคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายต่างๆ ของผู้ป่วย จำเป็นต้องมีวิธีการมาตรฐานเพื่อให้ได้ผลแน่นอน และรวดเร็ว มิฉะนั้นเชื้อจะแพร่กระจายไปก่อการติดเชื้อไวรัสที่แปดเปื้อนเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือฆ่าเชื้อไวรัสในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายด้วย ซึ่งจะต้องใช้ขบวนการทำลายเชื้อแตกต่างกันออกไป
รูปร่างของไวรัส
                1. รูปร่างเป็นเหลี่ยมลูกบาศก์ ซึ่งการจัดเรียงแบบนี้มีลักษณะสมมาตรกัน เมื่อมองเข้าไปในเหลี่ยมลูกบาศก์นี้แล้วหมุนไปในมุมต่างๆจะดูเหมือนกันหมด ซึ่งจะมี 12 มุม 20 หน้า
รูปร่างลักษณะเป็นแท่งกระบอก มีการเรียงตัวของแคพซิดเป็นรูปขดลวดสปริงหรือบันไดวนหุ้มรอบกรดนิวคลิอิก ไวรัสที่มีการเรียงตัวของแคพซิดแบบนี้จะเห็นรูปร่างเป็นแบบท่อนตรงหรือเป็น สายยาว ในกรณีที่ไม่มีเปลือกหุ้ม ถ้าเป็นพวกที่มีเปลือกหุ้ม รูปร่างจะไม่แน่นอน อาจเป็นทรงกลม รูปร่างรี หรือเป็นสายยาว รูปร่างแบบซับซ้อน ไวรัสพวกนี้อาจมีรูปร่างปนกันทั้งสองแบบแรกและเป็นรูปร่างเฉพาะ เช่น ไวรัสโรคพอษสุนัขบ้ามีรูปร่างคล้ายรูปลูกปืน ไวรัสไข้ทรพิษรูปร่างคล้ายรูปก้อนอิฐ ไวรัสของแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายยานอวกาศ เป็นต้น   ส่วนประกอบทางเคมีของไวรัส กรดนิวคลิอิกอาจเป็นชนิดอา ร์เอ็นเอ หรือดีเอ็นเอ อาจมีลักษณะเป็นสายคู่ หรือสายเดี่ยว พวกดีเอ็นเอไวรัสมักมีดีเอ็นเออยู่เป็นสายคู่ในลักษณะเป็นเส้นตรงหรือเป็นวง กลม พวกอาร์เอ็นเอไวรัสส่วนใหญ่เป็นสายเดี่ยว อยู่ในรูปโมเลกุลเดี่ยวเส้นตรง หรือเป็นชิ้นหลายชิ้น ไวรัสบางชนิดเมื่อแยกอาร์เอ็นเอออกมา พบว่าสามารถติดเชื้อต่อไปได้ เรียกว่าเป็นยีโนมสายบวก ส่วนไวรัสพวกที่เมื่อแยกอาร์เอ็นเอออกมาและไม่ติดเชื้อ เรียกว่าเป็นพวกยีโนมสายลบ พวกนี้มักจะมีเอ็นไซน์ในไวริออนทำหน้าที่สร้าง mRNA ต่อไป ไวรัสบางชนิดมียีโนมทั้งสายบวกและสายลบ
                2. โปรตีนของไวรัสแบ่งเป็นสองพวก คือ โปรตีนที่เป็นโครงสร้างของไวรัส และโปรตีนที่ทำหน้าที่อื่นๆ โปรตีนที่เป็นโครงสร้างของไวรัส คือแค็พซิดโปรตีน ทำหน้าที่ป้องกันกรดนิวคลิอิกของไวรัสจากสิ่งแวดล้อม และช่วยให้เชื้อไวรัสเกาะติดที่ผิวเซลล์ในขั้นตอนการติดเชื้อ และเป็นแอนติเจนของเชื้อไวรัส แมทริกซ์โปรตีนเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในอนุภาคไวรัส ตำแหน่งอยู่ถัดจากแค็พซิดโปรตีนลงมา โปรตีนของไวรัสในส่วนเปลือกหุ้ม และหนาม ส่วนโปรตีนที่ทำหน้าที่อื่นที่ไม่ได้เป็นโครงสร้าง เป็นโปรตีนที่พบในเซลล์ที่ไวรัสกำลังเพิ่มจำนวนอยู่ และไม่ได้เป็นโครงสร้าง พวกที่เป็นเอ็นไซน์ ได้แก่ เอ็นไซม์รีเวอสทรานสะคริบเทส เอ็นไซม์นิวรามิเดส เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส การที่ไวรัสบางชนิดต้องมีเอ็นไซม์ด้วยก็เพราะว่าในเซลล์ของโฮสต์ไม่มีเอ็น ไซม์เหล่านี้ให้
                3. สารไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของเปลือกหุ้ม มักอยู่ในรูปฟอสโฟไลปิด ซึ่งได้มาจากเยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์ซึ่งอาจเป็นเยื่อหุ้มซัยโตพลาสซึม หรือเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในขณะที่ไวรัสหลุดออกจากเซลล์โดยการแบ่งตัว
                4. คาร์โบฮัยเดรตมักอยู่ในรูปกลัย โคโปรตีนอยู่ที่หนามซึ่งอยู่นอกสุดของอนุภาคไวรัส จึงเป็นแอนติเจนที่สาคัญของไวรัส ส่วนที่เป็นกลัยโคโปรตีนนี้มักมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 10-15 โมเลกุล ซึ่งปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นโดยเอ็นไซม์ของโฮสต์

ความทนทานของไวรัส
                1. ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ ทนทาน เนื่องจากไม่มีสิ่งที่จะห่อหุ้มเช่นผนังเซลล์ที่แข็งแรงเหมือนผนังเซลล์ของ แบคทีเรียหรือผนังของสปอร์ ดังนั้นไวรัสส่วนมากเมื่อนำมาทิ้งไวัที่อุณหภูมิห้องจะค่อยๆถูกทำลายเสีย สภาพไปจากผลของอุณหภูมิ โดยเฉพาะส่วนเปลือกของไวรัสซึ่งหุ้มด้วยไขมันจะเสียสภาพง่ายกว่า ไวรัสชนิดเปลือย ดังนั้นอุณหภูมิจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายไวรัสที่อยู่นอกเซลล์
                2. เมื่อใช้ความร้อน 56 องศาเซลเซียส เพียง 30 นาทีจะทำลายความสามารถในการติดเชื้อไวรัสได้มากจึงใช้เป็นอุณหภูมิในการ ยับยั้งไวรัสในซีรั่ม
                3. เมื่อต้มเดือด100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาทีหรือใช้การฆ่าเชื้อโดยใช้หม้อนึ่งอัดไอความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส นาน 15-20 นาที หรืออบแห้งที่อุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมงจะทำลายไวรัสได้ทุกชนิด
                4. ไวรัสตับอักเสบบี ทนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ได้นานเป็นชั่วโมง
                5. ไวรัสยังถูกทำลายได้ง่ายโดยสาร เคมีชนิดต่างๆที่ทำลายโปรตีนและกรดนิวคลีอิก เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ กลูตาลดีไฮด์ ฮัยโปคลอไรต์ เบต้าโพรพิโอแลคโทน สำหรับสารละลายไขมัน เช่น 70% เอธานอล อีเธอร์ คลอโรฟอร์ม จะทำลายไวรัสพวกที่มีเปลือกหุ้ม



วัคซีน
         วัคซีน คือ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพซึ่ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับ (คนหรือสัตว์) ให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค สารพิษ หรือชีวโมเลกุลก่อโรค ซึ่งมีผลในการป้องกันการเกิดโรคหรือทำให้ความรุนแรงของโรคนั้นลดลง คำว่าวัคซีน” (vaccine) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “vacca” แปลว่าวัว เนื่องจากในอดีต (พ.ศ.2339) เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ สังเกตพบว่าคนเลี้ยงวัวที่เคยติดเชื้อฝีดาษวัวจะไม่ป่วยเป็นไข้ทรพิษ เขาจึงลองเอาหนองของคนที่กำลังป่วยด้วยโรคฝีดาษวัวไปสะกิดที่ผิวหนังของเด็ก หนุ่ม ผู้ที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคฝีดาษวัวหรือไข้ทรพิษมาก่อน ต่อมาอีก 6 สัปดาห์ เมื่อนำหนองของผู้ป่วยไข้ทรพิษไปสะกิดที่ผิวหนังของเด็กผู้นั้น ปรากฎว่าเด็กนั้นไม่ป่วยเป็นไข้ทรพิษจึงเป็นที่มาของการคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
        วัคซีนประกอบด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่าแอนติเจน (antigen)” และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ สารเสริมฤทธิ์ (adjuvant) สารกันเสีย (preservative) และของเหลวสำหรับแขวนตะกอน (suspending fluid) สารเสริมฤทธิ์เป็นตัวช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น เช่น เกลืออะลูมิเนียม ส่วนของเหลวแขวนตะกอนอาจเป็นน้ำ น้ำเกลือ เป็นต้น

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกี่ยวข้องอย่างไรกับวัคซีน

        ภูมิคุ้มกัน หมายถึง สารบางอย่างที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคเพื่อป้องกันไม่ให้ร่าง กายติดเชื้อหรือป่วย แอนติบอดี หมายถึง กลุ่มของโปรตีน ในน้ำเลือด/น้ำเหลือง ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่จำเพาะต่อมัน(เป็นภูมิคุ้มกัน ชนิดหนึ่ง)

เราสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อโรคได้อย่างไร

การสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะมี 2 แบบ คือ
        1. ร่างกายสร้างได้เองโดยธรรมชาติ เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดนี้ มีดังนี้คือ เม็ดเลือดขาวหลักที่ทำงานร่วมกันในระบบนี้คือ ทีเซลล์ ( T ), บีเซลล์ ( B )และ เอ็มเซลล์ ( แมคโครฟาจ =M )
        เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย M จะเข้ามาล้อมจับเชื้อโรคไว้ และส่งสัญญาณให้ T เซลล์ ซึ่ง T เซลล์เอง ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคและกระตุ้น B เซลล์ให้ทำงาน B เซลล์ จะทำ 2หน้าที่ คือ จับกินเชื้อโรคและสร้างสารภูมิคุ้มกัน ( แอนติบอดิ้ )ขึ้นมาเฉพาะกับเชื้อโรคที่พบ สารภูมิคุ้มกันนี้จะต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้น B เซลล์ตัวที่สร้างภูมิคุ้มกันจะเป็นตัวที่มีหน่วยความจำ เมื่อเชื้อโรคตัวเดิมเข้ามาครั้งต่อไป ก็จะมีความไวในการสร้างสารภูมิคุ้มกันไม่ต้องรอการสั่งการจาก T เซลล์
ภาพ:วัคซีน1.jpg
การสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อโรค
        การสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อโรคแต่ละชนิด จะใช้เวลาในการสร้างแอนติบอดิ้ไม่เท่ากัน ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ มีประสิทธิภาพสูงและอยู่ไปได้ตลอดชีวิต แต่การติดเชื้อนี้อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทรมาน และตายได้
        2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดย
- การได้รับวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดิ้ ขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดนั้นๆ
- การได้รับแอนติบอดี้(ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป)
- การได้รับยา หรือ สารเคมี บางอย่างเพื่อเสริมหรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่จำเพาะ เช่น อินเตอร์เฟอรอน

วัคซีนทำจากอะไรได้บ้าง

สิ่งที่นำมาเพื่อเตรียมเป็นวัคซีน มีดังนี้ คือ
1. เชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่อ่อนฤทธิ์แล้ว และไม่ก่อให้เกิดโรค ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ยาวนานตัวอย่าง วัคซีนนี้ที่ใช้กันในปัจจุบัน ก็เช่น วัณโรค ( บี ซี จี ) หัด หัดเยอรมัน ไข้เหลือง โปลิโอ (ชนิดกิน) ไข้ไทฟอยด์ ชนิดกิน
2. เชื้อโรคที่ตายแล้ว เช่น วัคซีนไข้ไอกรน พิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ อหิวาต์ และ วัคซีนไข้ไทฟอยด์ ( ชนิดฉีด )
3. พิษของเชื้อโรค ที่อ่อนฤทธิ์แล้ว เช่น บาดทะยัก
4. สารสังเคราะห์ชีวภาพ ซึ่งสังเคราะห์จากส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อ ส่วนมากเป็น พวกโปรตีน หรือ สารพันธุกรรม ( ดี เอ็น เอ )

ขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน

ก่อนที่จะนำมาใช้ได้จริง วัคซีนจะต้องผ่านทดสอบดังต่อไปนี้
ภาพ:วัคซีน2.jpg

ประเภทของวัคซีน

         1. วัคซีนป้องกันโรค
        วัคซีนที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันโดยทั่วไป เป็นวัคซีนที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคโรคทั่วไปที่วัคซีนป้องกันได้ ได้แก่ อีสุกอีใส ตับอักเสบชนิด เอ และ บี ไข้หวัดใหญ่ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ
         2. วัคซีนรักษาโรค
        หลังจากมีการติดเชื้อแล้ว เพื่อ ลด หรือ ยับยั้งความรุนแรงของโรค ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทั้งหมด

ช่องทางการใช้วัคซีน

การฉีด โดยการฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง เช่น วัณโรค (บี ซี จี) บาดทะยัก โปลิโอ
การกิน โดยการหยดเข้าทางปาก เช่น โปลิโอ ไทฟอยด์
การสูดดม เช่น ไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่

ผลข้างเคียงของการได้รับวัคซีน

        การให้วัคซีน อาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ เช่น มีไข้ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ฉีดคล้ายกับการฉีดยาอื่นๆ บางรายอาจมีอาการแพ้ เช่น เป็นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ได้ ( พบได้น้อย )

อาการแพ้วัคซีน

        ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการทั่วไป ได้แก่ อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด ไข้ต่ำ ซึ่งอาจเช็ดตัวเพื่อลดอาการได้ ในรายที่ฉีดวัคซีนบีซีจี มักพบตุ่มหนองบริเวณที่ฉีด ประมาณสัปดาห์ที่ 2- 3 อาการนี้เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ตุ่มนี้จะแตกและแห้งกลายเป็นแผลเป็น ในราวสัปดาห์ที่ 3 – 4 เด็กที่ได้รับวัคซีนบีซีจีแล้วไม่พบแผลเป็น จะต้องรับการฉีดกระตุ้นซ้ำ อาการแพ้ที่รุนแรง เช่น มีผื่นขึ้นทั่วตัว มีไข้สูง ชัก ควรรายงานให้โรงพยาบาลที่รับวัคซีนทราบเพื่อบันทึกในประวัติเด็กว่าแพ้ วัคซีนนั้น การแพ้อาจเกิดจากสารประกอบในวัคซีน เช่น ยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน ซึ่งมักมีอยู่ในวัคซีน MMR หรือแพ้สารในไข่ซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัคซีนไวรัสไข้หวัดใหญ่

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังในการให้วัคซีน

        ไม่ควรให้วัคซีนในขณะที่เด็กไม่สบาย เช่น มีไข้สูง เด็กที่มีประวัติการแพ้วัคซีนนั้น ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็น เช่น วัคซีนบีซีจี, โปลิโอ (OPV), MMR แก่เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยภูมิคุ้มกัน บกพร่อง เช่น โรคเอดส์ หรือเด็กที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูงและนาน เด็กที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แล้วมีไข้สูง ชัก ร้องไห้นาน ผู้ปกครองต้องแจ้งแพทย์เพื่อการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป อาจให้เป็นวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หรือวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทอกซอยด์

คำแนะนำทั่วไปในการรับวัคซีน

1. ผู้ปกครองควรทราบว่า บุตรหลานของท่านจะได้รับวัคซีนอะไรบ้าง ในแต่ละช่วงอายุโดยศึกษาจากตารางการให้วัคซีนในสมุดสุขภาพ
2. วัคซีนหลายชนิดสามารถให้พร้อมกันได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก
3. วัคซีนบางชนิดต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง และต้องฉีดกระตุ้นอีกเป็นครั้งคราวจึงจะได้ผลในการป้องกันเต็มที่จึงควรพา เด็กมาตามนัดทุกครั้ง
4. ถ้าเด็กมีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวันนัดผู้ปกครองสามารถพาเด็กมารับวัคซีนตามนัดได้
5. ในกรณี ที่ไม่สามารถตามนัดได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ให้รับวัคซีนต่อไปได้เลยจนครบ ตามที่กำหนด
6. ถ้าเด็กเคยมีอาการผิดปกติหลังการฉีดวัคซีนครั้งก่อน ๆ เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดครั้งต่อไปอีก









เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

ดาว์นโหลดไฟล์ word ปริ้นได้ทันที
https://www.mediafire.com/?7c7c6i6g93uynab



แก้ไขปัญหายาเสพติด

                ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น 
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย

          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น
              การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง
              ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม
              ไปสู่ชีวิตของตนเอง
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม
              จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น
              แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น
               สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง

การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวของตนเอง

          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี
              การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
              ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ
              ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน
              ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

ยางพารา

ดาว์นโหลดไฟล์ word ปริ้นได้ทันที
http://www.mediafire.com/download/f2n917rgxmno3ik/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2.doc



ยางพารา
ต้นยางพาราเป็นต้นไม้ยืนต้น [1] มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่าว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ในอเมริกาใต้มีศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา [2]
การปลูกยางในประเทศไทย
การปลูกยางในประเทศไทยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา" [1] และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรัง และนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี หรือ ปูม ปุณศรี เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพารา ไปทั่วทั้ง 14 จังหวัด ในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา สามารถทำรายได้การส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ ยางพาราจึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการส่งออกยางธรรมชาติมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริง มีประมาณ 12.4 ล้านไร่เท่านั้น
การกรีดยาง
การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียง ของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอ[1]
  • เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำ ยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้น เปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย
  • การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้
  • การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย
    • การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้อง ไม่มีการกรีดอีก
    • การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน
    • การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะ กรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด
โรคและแมลงศัตรูยางพารา
1.โรคใบร่วงและฝักเน่า: โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด
2.โรคราแป้ง : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล






























โรคและศัตรูยางพารา

ยางพาราเป็นพืชยืนต้นที่เกษตรกรจำเป็นต้องดูแลรักษาให้มีอายุอย่างน้อย 25-30 ปี จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เกษตรกรจะต้องประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดใน ระยะใดระยะหนึ่งของการทำสวนยาง โรคยางพาราที่พบในประเทศไทยเกิดขึ้นได้ทุกระยะการเจริญเติบโต และทุกส่วนของต้นยางแม้ว่ายางพาราจะมีโรคระบาดอยู่หลายชนิด และพันธุ์ยางที่นิยมปลูกในปัจจุบันจะอ่อนแอต่อโรคที่สำคัญแต่ความรุนแรงและ ความสำคัญทางเศรษฐกิจของโรคขึ้นอยู่กับความแข็งแรงตามธรรมชาติของต้นยางซึ่ง มีสภาพภูมิอากาศและการปฏิบัติดูแลรักษาของเกษตรกรเป็นปัจจัยส่งเสริมหรือ จำกัดโรคยางพาราที่ระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากเชื้อรา ซึ่งสามารถจำแนกตามส่วนต่างๆของต้นยางที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ได้แก่ โรคใบ โรคกิ่งก้านและลำต้น และโรคราก


โรคราแป้ง (Powdery mildew)

 

สาเหตุ                 เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่
การป้องกันกำจัด    ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค หากระบาดฉีดพ่นด้วยสารเคมี











โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)

  

 

สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporiodes  (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย  ปลายใบจะบิดงอ  เหี่ยวเน่าดำและหลุดล่วง  ในระยะใบเพสลาด  ใบบางส่วนอาจบิดงอและ  พบจุดแผลสีน้ำตาล  ขอบแผลสีเหลือง 
                         ขนาดประมาณ 1-2  มม.  เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  เนื้อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู  ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน 
                         และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาด      ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน  ในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง  เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน  ลมและแมลง
พืชอาศัย             ส้ม  กล้วย  มะละกอ  ชา  กาแฟ  โกโก้  อาโวกาโด
การป้องกัน          ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นบนใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาด

















โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )

  

สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Corynespora  cassiicola (Burk. & Curt.) Wei.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม  ขอบแผลสีน้ำตาลดำ  กลางแผลสีซีดหรือเทา  ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง  ระยะใบ  เพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ 
                        ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ  ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา  เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบร่วงในที่สุด 
                        ถ้าเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ  กิ่งแขนงและลำต้นที่ เป็นสีเขียว  จะเป็นแผลสีดำมีลักษณะยาวรี  เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง  ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายขนาดและ
                        ลุกลาม  ทำให้กิ่งหรือยอดที่เป็นโรคแห้งตาย
การแพร่ระบาด
     เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน  โรคระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
พืชอาศัย
            มีมากกว่า  80  ชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  งา  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  ยาสูบ  มะละกอ  แตงโม  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  สะระแหน่  ฟักเขียว  หญ้ายาง 
                        และพืชคลุมตระกูลถั่ว
การป้องกันกำจัด
  1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมยาง
                        2. ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นพุ่มใบเมื่อเริ่มพบอาการของโรค


โรคใบจุดตานก (Bird's eye spot)
 

สาเหตุ                  เกิดจากเชื้อรา Drechsiera (Helminthosporium) heveae (Petch)  M.B. Ellis
ลักษณะอาการ
       เชื้อเข้าทำลายระยะใบอ่อนมาก  แผลหงิกงอเน่าดำและร่วง  เหลือแต่ยอดที่บวมโต  ใบยางอายุมากจะปรากฏจุดค่อน ข้างกลม 
                          ขอบแผลสีน้ำตาลล้อมรอบซึ่งโปร่งแสง  ถ้าเชื้อเข้าทำลายระยะใบแก่จะเป็นรอยจุดสีน้ำตาลเท่านั้น
การแพร่ระบาด
       ระบาดรุนแรงในแปลงกล้ายางที่ปลูกในดินทรายหรือดินที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ  แพร่ระบาดโดยลม  ฝนหรือการสัมผัสโรค
การป้องกันกำจัด
    1. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นกล้ายางในดินทราย
                          2. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกปรับสภาพดินให้อุ้มน้ำได้
                          3. ใช้สารเคมีพ่นใบยางเมื่อพบอาการของโรค




โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทร่า (Phytopthora leaf fall)


สาเหตุ                เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var. parasitica(Dastur) Waterhouse
ลักษณะอาการ 
   ก้านใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ  แผลบริเวณทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อสะบัดใบเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที 
                        ต่างจากการร่วงตามธรรมชาติ  ซึ่งเมื่อสะบัดใบย่อยจะไม่ร่วง  บางครั้งแผ่นใบอาจ  เป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำ  ช้ำน้ำ  ขนาดแผลไม่แน่นอน 
                        หากเข้าทำลายฝักยางจะทำให้เน่า  อาจพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุม  ฝักไม่แตกและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ  กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อต่อไป
การแพร่ระบาด
     ระบาดรุโดยน้ำฝน  ลม  ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก  เชื้อต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์  จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น  ฝนตกชุก 
                        ความชื้นสูงอย่างน้อย  4  วัน  โดยมีแสงแดดน้อยกว่า  3  ชั่วโมงต่อวัน
พืชอาศัย
            ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  ปาล์ม  โกโก้
การป้องกัน
         1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชแซมยาง
                       2. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเทสะดวก  เพื่อลดความชื้น
                       3. หากระบาดกับต้นยางอายุน้อยกว่า  2  ปี  ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
                       4. ต้นยางใหญ่ที่เป็นโรครุนแรงจนใบร่วงหมดต้น  ให้หยุดกรีดยางและบำรุงต้นให้สมบูรณ์


โรคเส้นดำ (Black stripe)


สาเหตุ              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการ 
 เหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น  เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ 
                      และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด  ถ้าอาการรุนแรง  เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริเน่า  มีน้ำยางไหล  เปลือกเน่าหลุดออกมา  ถ้าเชื้อเข้าทำลายไม่รุนแรง 
                      เปลือกงอกใหม่จะเป็นปุ่มปม
การแพร่ระบาด
   เชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด  พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มี การป้องกันรักษาหน้ากรีด 
                      โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า  90%  หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา  เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ
พืชอาศัย
          เชื้อรา  P.palmivora  สามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด  เช่น  มะละกอ  แตงโม  ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  โกโก้  มะพร้าว  ยาสูบ  ส่วนเชื้อรา  P.botryosa 
                      สามารถเข้าทำลาย  ทุเรียน  ส้ม  และกล้วยไม้ได้
การป้องกัน
        1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชแซมยาง
                      2.หลีกเลี่ยงการเปิดกรีดยางในฤดูฝน  ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
                      3.ระยะที่มีโรคใบร่วงระบาดใช้สารเคมีป้องกันโรคที่หน้ากรีด

โรคราสีชมพู (Pink disease)


สาเหตุ                   เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  Berk. & Br.
ลักษณะอาการ        เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบ  กิ่งก้าน  ลำต้น  บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือก  เมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่เปลือกยาง 
                           ผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป  เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะมองเห็นเป็นสีชมพู  ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเจริญเข้าไปในเปลือกและลุกลามไปยังลำต้น  ทำให้เปลือกแตก
                           และกะเทาะออก  น้ำยางไหลออกมาจับบตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นทางเมื่อน้ำยางแห้งจะมีราดำเข้าจับเป็นทางสีดำ  ใต้บริเวณแผลจะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมากมาย
                          ใบยางเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  เกิดอาการตายจากยอด  เมื่อสภาพแวดดล้อมไม่เหมาะสม  เชื้อราจะพักตัว  สีชมพูที่เคยปรากฏจะ  ซีดลงจนเป็นสีขาว 
                           เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปจะเริ่มลุกลามต่อไป
การแพร่ระบาด
        ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น  มีปริมาณน้ำฝนสูง  เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูฝนปี ถัดไป  เชื้อแพร่กระจายโดยลมและฝน
พืชอาศัย
                กาแฟ  โกโก้  ชา  มะม่วง  ขนุน  ทุเรียน  เงาะ
การป้องกันกำจัด
      1. ตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน  เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
                            2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมหรือพืชแซมยาง
                            3. ต้นยางอายุน้อยถ้าเป็นโรครุนแรงถึงกิ่งแห้งตายและมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล  ควรตัดแต่งแห้งตายทิ้ง  โดยตัดให้ต่ำกว่า
                                รอยแผลประมาณ  2-3  นิ้ว  แล้วทาด้วยสารเคมีเคลือบบาดแผล
                            4. ต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด  เมื่อเป็นโรคแนะนำให้ใช้สารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (bordeaux  mixture)  ที่มีอัตราส่วนผสมจุนสี
                                หนัก  120  กรัม  ปูนขาวนัก  240  กรัม (ถ้าเป็นปูนเผาใหม่ใช้ประมาณ 150 กรัม)  ผสมน้ำ  10  ลิตรโดยผสมใหม่ๆ  ทา
                                บริเวณที่เป็นโรค  ไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว  เนื่องจากสารทองแดงที่เป็นส่วนผสมของบอร์โดมิกซ์เจอร์
                                จะไหลลงไปผสมกับน้ำยางที่กรีดได้  ทำให้คุณภาพน้ำยางเสื่อมลง
                             5. เมื่อตรวจพบต้นที่เป็นโรคให้ขูดเปลือกบริเวณเป็นแผลออกก่อนแล้วทาด้วยสารเคมี  







โรคลำต้นเน่าของยางชำถุง (Twig rot of polybagrubber)

สาเหตุ              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var.  parasitica (Dastur)  Waterhouse,  P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการ
   เชื้อราทำลายกิ่งแขนงที่แตกออกจากตาของยางพันธุ์ดี  เกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือดำช้ำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของ ลำต้น  และขยายลุกลามไปรอบต้น 
                      ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย
การแพร่ระบาด 
  ระบาดรุนแรงในช่วงที่ฝนตกชุกและมีความชื้นในอากาศสูง  แปลงเพาะชำยางชำถุงที่มีการจัดวางถุงซ้อนกันหลายแถว  หรือแปลงที่มีการให้น้ำด้วยสปริงเกล์อ 
                      จะเกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
การป้องกันกำจัด
    1. ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
                          2. ปรับสภาพเรือนเพาะชำยางชำถุงไม่ให้แน่นทึบเกินไป  อากาศถ่ายเทได้สะดวก
                          3. ให้พบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือแยกออกจากปลงเพาะชำมาทำลาย
                          4. กรณีพบโรคระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อช่วยควบคุมโรค

โรครากขาว (disease white root)

สาเหตุ                  เกิดจากเชื้อรา  Rigidoporus  lignosus  (Klotzsch)  lmazeki
ลักษณะอาการ
       เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต  ตั้งแต่อายุ  ปีขึ้นไป  เมื่อระบบรากถูทำลายจะแสดง
                          อาการให้เห็นที่ทรงพุ่ม  ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้  บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสี
                          ขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม  เกาะติดแน่นกับผิวราก  เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด  เนื้อไม้
                          ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม  ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อน
                          นิ่ม  ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม  โดยมีสีเข้มอ่อน
                          เรียงสลับกันเป็นวง  ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล  ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว
การแพร่ระบาด
       ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก  ความชื้นสูง

พืชอาศัย               ทุเรียน  ขนุน  จำปาดะ  มังคุด  มะพร้าว  ไผ่  ส้ม  โกโก้  ชา  กาแฟ  เนียงนก  พริกไทย  พริกขี้หนู  น้อยหน่า 
                           มันสำปะหลัง  สะเดาบ้าน  สะเดาเทียม  ทัง  มะเขือ  เปราะ  กระทกรก  มันเทศ  ลองกอง
โรครากแดง (Red root disease)


สาเหตุ                        เกิดจากเชื้อรา  Ganoderma  pseudoferreum  (Wakef)  Over  &  Steinm
ลักษณะอาการของโรค
   มักพบการระบาดในสวนยางที่มีตอและรากไม้ใหญ่ๆ  ฝังลึกลงในดิน  เชื้อราเจริญเติบโตค่อนข้างช้า  จึงมักพบกับ
                                 ต้นยางที่กรีดแล้วเป็นส่วนใหญ่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะแสดงอาการที่ทรงพุ่มเช่นเดียวกับโรครากขาว  ส่วนรากที่
                                 ถูกเชื้อเข้าทำลายจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดง  ส่วนปลายของเชื้อราที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาวครีม  ลักษณะ
                                 เส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาวเห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างน้ำ  รากมีลักษณะขรุขระ  เนื่องจากมีก้อน
                                 ดิน หิน เกาะติดอยู่  เนื้อไม้ของรากเป็นสีน้ำตาลซีดและเป็นสีเนื้อในเวลาต่อมา  วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจาก
                                 กันได้ง่าย  ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม  ด้านล่างเป็นสีขี้เถ้า  ขอบดอกเป็นสีขาวครีม
การแพร่ระบาด
              ระบาดรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง
พืชอาศัย
                     ทุเรียน  ขนุน  จำปาดะ  สัก  สะเดาบ้าน  ทัง  โกโก้  กาแฟ  ชา  เงาะ  พืชตระกูลถั่ว  ลองกอง  สะตอ

















โรครากน้ำตาล (Brown root disease)

สาเหตุ                          เกิดจากเชื้อรา  Phellinus  noxius  (Corner)  G.H. Cunn
ลักษณะอาการของโรค
     มักพบกับต้นยางที่หักโค่น  อาการสังเกตจากทรงพุ่มมีลักษณะเหมือนโรครากขาวและโรครากแดง  แยกชนิดโรค
                                   ได้จากบริเวณรากที่ถูกทำลาย  จะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลือง  เป็นขุยเหมือนกำมะหยี่  ปกคลุมผิวรากและเกาะ
                                   ยึดดินทรายไว้  ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ  เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลดำ  เนื้อไม้ในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด
                                   ต่อมาเป็นสีน้ำตาลเป็นเส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้  รากที่เป็นโรคมานาน  เมื่อตัดตามขวางจะเห็นสายเส้น
                                   ใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง  เนื้อไม้จะเบาและแห้ง  ดอกเห็ดเป็นแผ่นหนาแข็ง  ลักษณะครึ่งวงกลม
                                    ค่อนข้างเล็ก  ผิวด้านบนเป็นรอยย่นเป็นวงสีน้ำตาลเข้ม  ผิวด้านล่างเป็นสีเทา
การแพร่ระบาด
                ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก  ความชื้นสูง
พืชอาศัย
                       ทุเรียน  มังคุด  ลองกอง  สละ  สะเดาบ้าน  มะฮอกกานี  สัก  ปาล์มน้ำ  โกโก้  ส้ม  กาแฟ  เงาะ

การป้องกันกำจัดโรครากของยางพารา

1. เตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค  โดยการขุดทำลายตอยางเก่า  ซึ่งเป็นแหล่งสะสมโรคออกให้หมด
2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด  หลังการเตรียมดินควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดิน
3. หลังปลูกยาง  ปี  ตรวจหาต้นที่เป็นโรคราก  เมื่อพบขุดทำลายเสียแล้วป้องกันโรคต้นข้างเคียงด้วยสารเคมี
4. ต้นยางที่เป็นโรคหากอายุมากกว่า  ปีขึ้นไป  ขุดคูรอบต้น (กว้าง  30  ซม.  ลึก  60  ซม.)  เพื่อป้องกันรากยางสัมผัสต้นที่เป็นโรค
5. ไม่ควรปลูกพืชร่วมหรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อโรค
6. ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย  และใช้กับต้นข้างเคียงที่เป็นโรค










อาการเปลือกแห้ง (Tapping panel dryness)

สาเหตุ                  ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนแต่มีรายงานว่าเป็นความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยางที่ถูกชักนำโดยหลายปัจจัย  อาทิ
                          การใช้ระบบกรีดหักโหม  การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง  ความผิดปกติของพันธุ์  และสภาพแวดล้อม
ลักษณะอาการ
       น้ำยางจางลง  หลังกรีดแล้วน้ำยางแห้งเป็นจุดๆ  และยกออกจากกันเป็นชั้นๆ  ถ้ายังกรีดต่อเปลือกยางจะแห้งสนิท
                          เปลือกใต้รอยกรีดแตก  ขยายบริเวณจนถึงพื้นดินและหลุดออก
การป้องกันและแก้ไข
    1. หากเริ่มแสดงอาการให้หยุดกรีดทันที  อย่างน้อย  6-12  เดือน  หรือจนกว่าน้ำยางจะไหลเป็นปกติ
                                2. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางปีละ  ครั้ง
                                3. ใช้ระบบกรีดให้เหมาะสมกับพันธุ์ยางและไม่กรีดหักโหมติดต่อกันนานๆ
                                4. ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสำหรับสวนยางที่พบอาการเปลือกแห้ง

อาการตายจากยอด (Die back)

สาเหตุ                  1. อากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน  ทำให้ดินบริเวณรอบๆ รากขาดน้ำ  หรือในดินทรายจัดซึ่งมีลักษณะไม่อุ้มน้ำ
                           2. การมีแผ่นหินดานหรือโครงสร้างคล้ายหินดานอยู่ใต้พื้นดินระดับสูงกว่า  เมตรขึ้นมา
                           3. เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดเข้าทำลาย  เช่น  โรคใบจุดนูน  โรคราแป้ง  โรคใบจุดก้างปลา
                           4. สารเคมีตกค้างในดิน  เช่น  สารเคมีป้องกันกำตัดศัตรูพืช  การใส่ปุ๋ยมากเกินไป
ลักษณะอาการ
        ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวและแห้งจากปลายกิ่งหรือปลายยอด  ลุกลามเข้าหาส่วนโคนทีละน้อย  ถ้าอาการเป็นไปอย่างช้าๆ ส่วน
                            ของกิ่งหรือลำต้นที่ยังไม่ตายจะแตกแขนงใหม่  เพื่อเจริญเติบโตต่อไป  แต่ถ้าอาการแห้งตายเป็นไปอย่างรวดเร็ว  จะแห้ง
                            ตายตลอดต้นในระยะเวลาอันสั้น  เปลือกล่อนออกจากเนื้อไม้  มองเห็นเชื้อราสีดำหรือขาวเกิดขึ้นบริเวณด้านในของเปลือก
การป้องกันรักษา
      1. ตัดกิ่งหรือยอดส่วนที่แห้งออก  โดยตัดให้ต่ำลงมา  1-2  นิ้ว  แล้ทาแผลด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา
                            2. บำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
                            3. พยายามแก้ไขสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  เช่น  ความแห้งแล้งให้รดน้ำตามความจำเป็น  หรือใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้น
                            4. ถ้าเกิดโรคระบาดให้ทำการรักษาตามคำแนะนำ
                            5. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

อาการที่เกิดจากฟ้าผ่า (D lightning strike)



ลักษณะอาการ            พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต  ต้นที่ถูกทำลายจะรวมกันเป็นกลุ่ม  อาจเป็น  5-6  ต้น หรือหลายสิบต้น  อาการจะปรากฏ
                               ทันทีโดยที่มีใบสีเขียวร่วงเหลือแต่ก้านใบติดอยู่  ลำต้นอาจปริ  เปลือกแตก  น้ำยางไหล  เมื่อเฉือนเปลือกออก  พบว่าเนื้อ
                               เยื่อส่วนที่เป็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาลเหมือนสีชอคโกแลต  ต่อมาเป็นสีม่วงอย่างรวดเร็ว  และเป็นสีดำในที่สุด
                               บริเวณลำต้นอาจพบแผลเน่าเป็นแผ่นๆ  ซึ่งทำให้เข้าใจว่าเกิดจากเชื้อรา  แผลเน่าจะเกิดทุกแห่งบนลำต้น  ขนาดแผล  2-3
                               ตารางนิ้ว  มีของเหลวสีม่วงไหลออกมา  ถ้าตัดแผนเน่าออกดูจะเห็นชั้นใต้เปลือกแทนที่จะเป็นสีครีมกลับเป็นสีคล้ายเหล้า
                               องุ่นซึ่งจะมีสีม่วงแดงใน  2-3  วัน  บริเวณโคนต้นส่วนที่ติดกับพื้นดินยังสดอยู่
การแก้ไข                1. ขุดต้นที่ตายออก
                             2. ต้นที่ถูกทำลายบางส่วนให้ตัดส่วนที่แห้งออก  แล้วทาด้วยสารกำจัดเชื้อรา












หนอนทราย (Cockchafers)


หนอนทรายเป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากยาง  ทำให้ต้นยางตายเป็นหย่อมๆ 
ลักษณะและวงชีวิต    ตัวเมียวางไข่ในสวนยางอาจเป็นฟองเดี่ยวๆ  หรือเป็นกลุ่มก้อน  และฟักเป็นตัวหนอนในอีก  2-3  สัปดาห์ต่อมา
                             ตัวหนอนมีสีขาว  รูปร่างงอเหมือนตัว  ลำตัวยาว  3-5  ซม.  อาศัยอยู่ในดิน  กินอินทรีย์วัตถุและรากพืชเป็นอาหาร
                             เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไปและสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้  ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง
                             ขนาดใหญ่  ตัวอ้วนป้อมและสั้น  ลำตัวยาว  3-5  ซม.  กลางวันหลบซ่อนในดิน  ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ
การทำลาย               กินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ  6-12  เดือน  ทำให้ต้นยางมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตาย  มักพบในสวนยางที่ปลูก
                             ทดแทน  ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า  และออกมากัดกินรากยางอ่อนและพืชร่วม  พืชแซมชนิดอื่นๆ  ที่อยู่
                             ในแปลงยาง  เช่น  สับปะรด  หวาย  ลองกอง  ทุเรียน  มังคุด  เนียงนก  มะฮอกกานี  รวมทั้งหญ้าคา  ยังไม่พบความเสีย
                             หายในต้นยางที่อายุมาก  แต่พบว่าตอยางเก่าที่อยู่ในสวนยางจะเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้
                             เป็นอย่างดี
การระบาด                ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม  พบระบาดในพื้นที่ที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
การป้องกันกำจัด       1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม  ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ  จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
                             2. ปลูกตะไคร้เพื่อล่อตัวหนอนให้ออกมาแล้วนำไปทำลาย
                             3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางและตอยางเก่าแล้วกลบดิน

หนอนทรายเป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากยาง  ทำให้ต้นยางตายเป็นหย่อมๆ 
ลักษณะและวงชีวิต    ตัวเมียวางไข่ในสวนยางอาจเป็นฟองเดี่ยวๆ  หรือเป็นกลุ่มก้อน  และฟักเป็นตัวหนอนในอีก  2-3  สัปดาห์ต่อมา
                             ตัวหนอนมีสีขาว  รูปร่างงอเหมือนตัว  ลำตัวยาว  3-5  ซม.  อาศัยอยู่ในดิน  กินอินทรีย์วัตถุและรากพืชเป็นอาหาร
                             เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไปและสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้  ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง
                             ขนาดใหญ่  ตัวอ้วนป้อมและสั้น  ลำตัวยาว  3-5  ซม.  กลางวันหลบซ่อนในดิน  ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ
การทำลาย               กินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ  6-12  เดือน  ทำให้ต้นยางมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตาย  มักพบในสวนยางที่ปลูก
                             ทดแทน  ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า  และออกมากัดกินรากยางอ่อนและพืชร่วม  พืชแซมชนิดอื่นๆ  ที่อยู่
                             ในแปลงยาง  เช่น  สับปะรด  หวาย  ลองกอง  ทุเรียน  มังคุด  เนียงนก  มะฮอกกานี  รวมทั้งหญ้าคา  ยังไม่พบความเสีย
                             หายในต้นยางที่อายุมาก  แต่พบว่าตอยางเก่าที่อยู่ในสวนยางจะเป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้
                             เป็นอย่างดี
การระบาด                ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม  พบระบาดในพื้นที่ที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
การป้องกันกำจัด       1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม  ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ  จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี
                             2. ปลูกตะไคร้เพื่อล่อตัวหนอนให้ออกมาแล้วนำไปทำลาย
                             3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางและตอยางเก่าแล้วกลบดิน



ปลวก (Termites)



ในสวนยางมีปลวกอาศัยอยู่หลายชนิด  ส่วนใหญ่กัดกินรากพืชที่ตายแล้วเป็นอาหารและให้ประโยชน์ในการให้อินทรีย์วัตถุแก่ดิน  มีเพียงชนิดเดียวที่ทำลายต้นยางสด  คือ  Coptotermes  curvignathus
ลักษณะและวงชีวิต      ปลวกเป็นแมลงสร้างรังอยู่ในดิน  มีชีวิตรวมกันอยู่เป็นสังคม  มีรูปร่างต่างกันไปตามวรรณะ  ปลวกที่ทำลายต้นยาง
                               เป็นวรรณะนักรบ  สังเกตได้จากกรามที่มีขนาดใหญ่  เมื่อใช้กรามงับสิ่งของจะขับของเหลวคล้ายน้ำนมออกมาจาก
                               ส่วนหัวตอนหน้าทันที  ปลวกแต่ละรังมีจำนวนนับพันนับหมื่นตัว  โดยฟักออกจากไข่และเจริญเป็นตัวเต็มวัยโดย
                               การเปลี่ยนรูปร่างที่ละน้อย  โดยไม่ผ่านดักแด้

การทำลาย                 ต้นยางที่ถูกทำลายส่วนมากจะมีอาการใบเหลืองเหมือนโรคราก  ทำลายลำต้นยางได้ทุกระยะ  โดยการกัดกินรากและ
                               โคนต้น  ต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว  ต้นยางใหญ่ที่ถูกทำลายจะไม่สามารถมองเห็นลักษณะการ
                               ทำลายจากภายนอกได้เลย  จนกระทั่งต้นยางโค่นล้มเพราะถูกลมพัดแรงหรือต้องขุดรากขึ้นดูจึงจะเห็นโพรงปลวกที่
                               โคนราก
การระบาด                 พบมากในพื้นที่ดินเป็นลูกรัง
การป้องกันกำจัด         ทำได้ยากเนื่องปลวกมีชีวิตร่วมกันแบบสังคมและอาศัยอยู่ใต้ดิน  วิธีจะป้องกันกำจัดได้ก็โดยใช้สารเคมีที่เป็นของเหลว
                               ราดรอบโคนต้น  เพื่อให้ซึมลงไปตามรากโดยการขุดดินเป็นร่องแคบๆ  ที่โคนต้น  เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมขยาย
                               ออกไปมากเกินไป

เพลี้ยหอย (Scale insects)

เพลี้ยหอยที่พบบนต้นยางมี  จำพวก  คือ  พวกที่ไม่มีเกราะหุ้มตัว  และพวกที่มีเกราะหุ้มตัว  เพลี้ยทำลายต้นยางโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตรงส่วนที่เป็นสีเขียว  ทำให้ต้นยางชงักการเจริญเติบโต  มักพบในเรือนเพาะชำหรือบนต้นยางอ่อน
ลักษณะและวงชีวิต        ตัวอ่อนเมื่อเริ่มออกจากไข่จะมีขาสามารถเคลื่อนที่ได้  แต่หลังจากลอกคราบแล้วขาจะหายไป  เมื่อเริ่มเจาะดูดน้ำ
                                 เลี้ยงจะไม่เคลื่อนที่  พร้อมสร้างเกราะหุ้มตัวเอง  ที่พบบนต้นยางเป็นตัวเมียที่สร้างเกราะหนาไว้ป้องกันตัวและอยู่
                                 กับที่ตลอดไป  เกราะจะมีขนาด  3-5  มม.  สีน้ำตาลแก่  ตัวผู้ไม่มีปากดูด  ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย  มีปีกและบินได้
การทำลาย                  ส่วนของกิ่งก้านที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินจะเหี่ยวดำ  และมีซากเพลี้ยหอยเกาะกิ่งก้านที่มันเกาะ  ต่อมากิ่งก้านนั้นจะแห้ง
                                ตาย  ถ้ามีจำนวนมากจะลุกลามไปส่วนอื่น
การระบาด                   ช่วงอากาศแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด           1. โดยธรรมชาติเพลี้ยหอยจะถูกศัตรูธรรมชาติ  เช่น  แมลงและรา  เข้าทำลายไข่และตัวอ่อนของมัน
                                 2. ใช้สารเคมี